064-645-5091    จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

คำถามที่พบบ่อย

รายเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับศูนย์บำบัดยาเสพติด สถานบำบัดยาเสพติด DAY ONE และบริการของเรา

แนวคิดของ DAY ONE เรามีหลักการในการบำบัดยาเสพติดอย่างไร ผู้ป่วยจึงสามารถเลิกยาเสพติดได้ +

เพราะเราเชื่อว่า ทุกคนมีคุณค่าและความสามารถในตนเอง อยากใช้ชีวิตอย่างมีความหมายและมีความสุข แต่ในบางครั้งเมื่อประสบกับปัญหาบางอย่างในชีวิต ทำให้เริ่มใช้ยาเสพติดเพื่อแก้ปัญหา จนนำไปสู่การเสพติด แต่หากผู้ที่ประสบปัญหามีความหวังและกำลังใจ ตั้งใจอย่างแน่วแน่ และมีแนวทางสู่การเลิกเสพอย่างถูกต้องยอมสามารถทำได้สำเร็จ งานวิจัยที่ประสบความสำเร็จในการบำบัดยาเสพติดรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยที่ติดสุราและยาเสพติดส่วนใหญ่มีการบำบัดยาเสพติดหลายรูปแบบ โปรแกรมของเราจึงผสมผสานการบำบัดยาเสพติดที่หลาย เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

ระยะเวลาการบำบัดยาเสพติดนานเท่าไหร่ +

A: โปรแกรมของเราเริ่มต้นที่ 4 สัปดาห์ แต่หากผู้รับการบำบัดยาเสพติดยังมีความเสี่ยงที่จะกลับไปเสพซ้ำ หรืออาการยังไม่คงที่ ก็สามารถที่จะอยู่ในโปรแกรมต่อได้อีก 3 - 6 เดือน เพื่อให้ร่างกายและสมองปลอดสารเสพติดและกลับสู่สภาวะปกติ ผู้รับการบำบัดยาเสพติดต้องไม่มีอาการถอนหรือ อาการทางจิตที่รุนแรง เช่น หูแว่ว ภาพหลอน หลงผิด หวาดระแวง หรือ เจ็บป่วยทางกายอย่างรุนแรง หากมีอาการเหล่านี้ต้องไปรักษาจากโรงพยาบาลมาก่อน จึงจะมาที่สถานฟื้นฟูต่อได้

หาญาติอยากพาผู้เสพสารเสพติดมาบำบัดยาเสพติด แต่ผู้เสพไม่ร่วมมือทำอย่างไร +

A: เราแนะนำว่าต้องดูก่อนว่าผู้เสพมีอาการทางจิตหรือไม่ เช่น ก้าวร้าวรุนแรง หูแว่ว หวาดระแวง ถ้ามีอาการเล่านี้ให้พามาประเมินกับจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลก่อน เพราะอาจต้องได้รับยารักษาอาการทางจิตร่วมด้วย แต่หากไม่มีอาการเหล่านั้นญาติอาจตเองต้องหนักแน่น แล้วเกลี่ยกล่อม ใช้เหตุผลชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการมาบำบัดยาเสพติดรักษาเพื่อตัวผู้เสพเอง แต่หากท่านไม่สามารถโน้มน้าวผู้เสพได้สำเร็จท่านสามารถโทรศัพท์ติดต่อเราได้ ทางเราจะประสานงานติดต่อเจ้าหน้าที่รถพยาบาลที่มีความชำนาญในการนำตัวผู้เสพส่งโรงพยาบาลให้ ผู้เสพอาจจำเป็นต้องรักษาที่โรงพยาบาลเพื่อถอนพิษก่อนหากยังมีอารมณ์แปรปรวนมาก หลังจากดีขึ้นทางเราจะประสานงานกับโรงพยาบาลเพื่อนำตัวผู้เสพมาบำบัดยาเสพติดที่สถานฟื้นฟูต่อ

การเดินทางมาศูนย์บำบัดยาเสพติด DAY ONE อย่างไร +

A: หากญาติเจ้าของไข้ไม่สะดวกเดินทางมาเอง ทางเรามีบริการ รถรับ-ส่ง พร้อมเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์บำบัดยาเสพติดค่าบริการขึ้นกับระยะทางและอาการของคนไข้ ท่านสามารถโทรศัพท์ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเราก่อนได้

การรักษาความลับผู้รับการบำบัดยาเสพติดเป็นอย่างไร +

A: ข้อมูลของผู้รับการบำบัดยาเสพติดจะถูกเก็บเป็นความลับ ไม่สามารถนำไปเปิดเผยได้ เราจะไม่ให้ข้อมูลกับผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของไข้โดยเด็ดขาด ยกเว้นได้รับอนุญาตจากเจ้าของไข้เท่านั้น ในกรณีที่ต้องการปกปิด ชื่อ-นามสกุล จริง ผู้รับการบำบัดยาเสพติดสามารถใช้นามสมมุติขณะเข้ารับการบำบัดยาเสพติดได้

ระหว่างบำบัดยาเสพติด อนุญาตให้ใช้โทรศัพท์หรืออินเตอร์เน็ตหรือไม่ +

A: ระหว่างบำบัดยาเสพติด จำเป็นต้องงดใช้โทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต เนื่องจากเราอยากให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดมีสมาธิจดจ่ออยู่กับตนเอง ลดสิ่งกระตุ้นจากภายนอก เพื่อการบำบัดยาเสพติดที่ดีที่สุด หากญาติต้องการติดต่อสอบถามอาการ สามารถโทรสอบถามได้กับหัวหน้าศูนย์

การเยี่ยมผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด +

ญาติสามารถเยี่ยมได้หลังผ่านการบำบัดยาเสพติดไปแล้ว 2 สัปดาห์ แต่ต้องผ่านการพิจารณาจากทีมบำบัดยาเสพติดก่อน เนื่องจากผู้รับการบำบัดยาเสพติดบางท่านอาการอาจจะยังไม่คงที่ โดยผู้ที่จะเยี่ยมได้ต้องเป็นญาติสายตรงที่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าของไข้แล้วเท่านั้น หากญาติต้องการติดต่อสอบถามอาการ สามารถโทรสอบถามได้กับหัวหน้าศูนย์

หากมียาที่ต้องทานประจำ ต้องทำอย่างไร +

A: หากมียาที่ต้องรับประทาน ให้นำติดตัวมาด้วย ทางศูนย์จะจัดยาประจำตัวที่ผู้รับการบำบัดยาเสพติดรับประทานอยู่ให้

หากเจ็บป่วยระหว่างที่อยู่ภายในศูนย์บำบัดยาเสพติดจะทำอย่างไร +

A: หากเป็นการเจ็บป่วยเล็กน้อย ทางศูนย์มีห้องปฐมพยาบาล มีแพทย์คอยให้คำปรึกษาและจัดหายาให้ หากเจ็บป่วยรุนแรง ทางศูนย์จะแจ้งญาติเพื่อนำส่งไปตรวจรักษาเพิ่มเติมที่โรงพยาบาล

หากผู้รับการบำบัดยาเสพติดก้าวร้าว ไม่ร่วมมือขณะอยู่ที่ศูนย์จะทำอย่างไร +

A: กระบวนการของเราจะไม่ใช้วิธีที่รุนแรง เราจะใช้การเกลี่ยกล่อมด้วยคำพูด พยายามทำความเข้าใจกับผู้รับการบำบัดยาเสพติด เปิดโอกาสให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดได้ระบายสิ่งที่อยู่ในใจก่อน หากไม่สำเร็จเราจะใช้วิธีจำกัดสิทธิบางประการ เช่น งดดูโทรทัศน์ งดกิจกรรมบางอย่างเพื่อให้ผู้ป่วยได้สงบจิตใจ สำรวจอารมณ์ตัวเอง

หากผู้รับการบำบัดยาเสพติดมีอาการทางจิตต้องทำอย่างไร +

A: หากผู้รับการบำบัดยาเสพติดมีอาการ ก้าวร้าวรุนแรง หูแว่ว หวาดระแวง ให้พามาประเมินกับจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลก่อน เพราะอาจต้องได้รับยารักษาอาการทางจิตร่วมด้วย

หากผู้รับการบำบัดยาเสพติดมีภาวะซึมเศร้า เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายต้องทำอย่างไร +

A: ทางเรามีมาตรการป้องกันความเสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเอง เช่น มีการเฝ้าดูอาการของผู้ป่วย ประเมินคัดกรองโรคซึมเศร้าเป็นระยะ หลีกเลี่ยงอุปกรณ์ที่จะทำร้ายตัวเองได้ เช่น เชือก ของมีคม แต่หากผู้รับการบำบัดยาเสพติดมีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายสูง เช่น มีการทำร้ายตัวเองหลายครั้ง พูดถึงการทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายบ่อยๆ ให้พามาประเมินกับจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลก่อน เพราะอาจต้องได้รับยารักษาโรคซึมเศร้าร่วมด้วย

จะมีการลักลอบเสพสารเสพติดภายในสถานฟื้นฟูหรือไม่ +

A: ทางศูนย์มีการควบคุมคน เข้า-ออก ตรวจค้นตัวเจ้าหน้าที่ ผู้มาเยี่ยม และตัวผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด ตรวจค้นของที่จะนำเข้ามาภายในศูนย์ทุกครั้ง และมีการตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดเป็นระยะ เพื่อดูว่ามีการเสพสารใหม่ หรือยังมีสารคงเหลืออยู่ในร่างกายหรือไม่