064-645-5091    จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

อายาวัสกา สารเปิดจิต ที่เสพติดได้

IMG-BLOG
12 August 2024

อายาวัสกา สารเปิดจิต ที่เสพติดได้

อายาวัสกาเป็นสารที่มีฤทธิ์ทางจิต

อายาวัสกา (ayahuasca) เป็นยาต้มที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทจากอเมริกาใต้ โดยมาจากวัฒนธรรมพื้นบ้านกับหมอชาวบ้านในลุ่มแม่น้ำแอมะซอนและแอฟริกาใต้ เพื่อประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับจิตวิญญาณ หรือที่หลายคนอาจรู้จักในชื่อ “พิธีกรรมดื่มน้ำรากไม้” ความรู้สึกเหมือน “ทดลองตาย” ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่จะต้องดื่มน้ำสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ถูกสกัดจากรากไม้ที่มาจากแอฟริกาใต้ แต่ในช่วงหลังสารชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น และเริ่มมีการเสพไปทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยด้วย โดยผู้เสพอาจเห็นข้อดีที่สารอายาวัสกา (ayahuasca) ทำให้รู้สึกเข้าถึงอารมณ์ของตัวเองได้ลึกซึ้งขึ้น เข้าถึงตัวตนได้มากขึ้น หรือที่เรียกว่า Empathogenic effects บางคนอธิบายความรู้สึกช่วงที่เสพว่าทำให้ระลึกได้ถึงเหตุการณ์ในอดีต หรือเหมือนสติหลุดไปอีกมิติหนึ่ง

 

ผลของอายาวัสกา (ayahuasca) มีสารเคมีต่างๆหลายชนิด ภายในมีการทำงานร่วมกัน สารสำคัญสองชนิด ได้แก่

  • • N,N-Dimethyltryptamine (DMT): สารนี้เป็นส่วนประกอบออกฤทธิ์ทางจิตประสาท ส่งผลต่อการเห็นภาพหลอนและสภาวะทางจิตสำนึกที่เปลี่ยนแปลงไปหลังดื่มอายาวัสกา (ayahuasca) DMT สามารถผ่านเข้าสู่สมองได้ง่าย แต่โดยปกติจะถูกเอนไซม์ที่เรียกว่า monoamine oxidase A (MAO-A) ในลำไส้และตับทำลายอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาร DMT ก็เป็นสารหลอนประสาทชนิดหนึ่ง (hallucinogen) ที่มีฤทธิ์เสพติดคล้ายกับ เคตามีน (Ketamine) เห็ดเมา เห็ดขี้ควาย (magic mushrooms, Psilocybin ) และ LSD
     
  • • เบต้าแคโรไลน์ อัลคาลอยด์ (ส่วนใหญ่เป็นฮาร์มิน) สารอัลคาลอยด์เหล่านี้ทำหน้าที่ยับยั้งเอนไซม์ MAO-A ป้องกันการย่อยสลายของ DMT ในลำไส้ ช่วยให้ DMT เข้าสู่กระแสเลือดและไปถึงสมอง นอกจากนี้ งานวิจัยบางชิ้นยังชี้ว่า สารเหล่านนี้อาจส่งเสริมฤทธิ์ของ DMT โดยออกฤทธิ์ต่อระบบสื่อประสาทอื่นๆ อีกด้วย

 

อายาวัสกา เป็นยาชงที่มีฤทธิ์ทางจิตประสาท ส่งผลข้างเคียงได้หลากหลาย ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่

  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • ท้องเสีย
  • ปวดท้อง
  • เคลิบเคลิ้ม มึนเมา
  • ภาพหลอนหรือหูแว่ว
  • วิตกกังวล
  • ความดันโลหิต หัวใจ และอุณหภูมิร่างกายเพิ่มสูงขึ้น

 

ผลข้างเคียงด้านลบที่พบน้อยกว่า ได้แก่

  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • หายใจลำบาก
  • อาการเจ็บหน้าอก
  • ข้อแข็งหรือบวม
  • ไอและมีเสียง wheezing (เสียงวี๊ด)
  • เป็นลม
  • ชัก

ผลข้างเคียงเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ปริมาณของอายาวัสกา (ayahuasca) ที่ดื่ม

 

อายาวัสกา (ayahuasca) ยังทำใหเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในสมอง ส่งผลต่อการรับรู้ ความคิด อารมณ์ และความรู้สึกตัว ดังนี้

  • อาการภาพหลอน หูแว่ว
  • ประสาทการรับรู้รุนแรงกว่าปกติ เห็นภาพ แสงสี เสียง ที่ชัดเจนขึ้น
  • อารมณ์รุนแรง แปรปรวน
  • การรับรู้เวลาและสถานที่ สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง (dissociation)
  • การมองย้อนกลับเข้าไปภายในจิตใจ (introspection) และการไตร่ตรอง (self-reflection)

 

อาการเมา (bad trip) รู้สึกอย่างไร?

  • • ความกลัวหรือความวิตกกังวลรุนแรง: รู้สึกเหมือนตัวเองควบคุมไม่ได้ ควบคุมไม่อยู่ หรือรู้สึกว่ากำลังจะมีบางสิ่งที่แย่มากเกิดขึ้น
  • • อารมณ์ด้านลบ: ความเศร้า โกรธ ความรู้สึกผิด หรือความอับอาย อาจปรากฏขึ้นและรุนแรงมาก
  • • ฝันร้ายหรือภาพหลอนที่น่ารำคาญ: ภาพหลอนอาจน่ากลัวหรือรบกวน แทนที่จะเป็นภาพลึกลับหรือสร้างสรรค์
  • • ไม่สบายตัว: อาการคลื่นไส้ อาเจียน หรืออาการทางกายอื่นๆ อาจรุนแรงขึ้นและส่งผลต่อความวิตกกังวล อาการอาจอยู่นาน 4-6 ชั่วโมง

 

วิธีรับมือกับอาการเมา (bad trip)

  • • โฟกัสที่ลมหายใจ: การฝึกหายใจลึกๆ สามารถช่วยให้ระบบประสาทสงบลงและควบคุมตัวเองได้อีกครั้ง
  • • เปลี่ยนสภาพแวดล้อม: ถ้าเป็นไปได้ การย้ายไปยังสภาพแวดล้อมที่ต่างออกไป มีภาพหรือเสียงที่ทำให้สงบ อาจช่วยเปลี่ยนประสบการณ์ได้

 

หากพบหรือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสาร DMT นั้นพบอาการที่ผิดปกติที่กล่าวข้างต้น สามารถเข้ามาตรวจประเมิน ปรึกษา หรือรับการบำบัดรักษาจากจิตแพทย์ที่คลินิก โรงพยาบาล หรือศูนย์บำบัดยาเสพติด Day One มีทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาและการรักษาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการบำบัดแบบต่างๆ เช่น การให้คำปรึกษา การบำบัดทางจิตเวช การบำบัดเกี่ยวกับสารเสพติด การใช้ยารักษาโรค เป็นต้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและความต้องการของผู้เข้ารับการรักษา

 

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
064-645-5091 [email protected]
จันทร์ – อาทิตย์ : 9.00 -17.00

บทความล่าสุด

10 สาเหตุหลักที่ทำให้เลิกสารเสพติดไม่สำเร็จ
แนะนำวิธีเลิกยาเสพติดอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อชีวิตใหม่ที่ปลอดภัยและมีความสุข
12 August 2024
อายาวัสกา สารเปิดจิต ที่เสพติดได้
อายาวัสกา เป็นสารที่มีฤทธิ์ทางจิตประสาท ส่งผลข้างเคียงทั้งทางร่างกายและจิตใจ หากพบหรือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสารนี้ ควรได้รับการตรวจประเมิน ปรึกษา หรือรับการบำบัดจากศูนย์บำบัดยาเสพติด
12 August 2024
Ketamine จากยาสลบม้า มาเป็นการ "ดมเค"
เคตามีนยาเสพติดที่ส่งผลร้ายแรงต่อร่างกายและจิตใจ ผู้เสพควรปรึกษาจิตแพทย์หรือรับการรักษาที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด เพื่อรับยาที่ช่วยลดความอยากยาเสพติด ยาปรับอารมณ์ ทำให้การเลิกเคตามีนง่ายขึ้น
12 August 2024
พลังแห่งดนตรี ดนตรีบำบัดสำหรับผู้ติดยาเสพติด
ดนตรีบำบัด เครื่องมือในการฟื้นฟูผู้ป่วยติดสารเสพติด โดย ศูนย์บำบัดยาเสพติด
12 August 2024
แก๊สหัวเราะกับความสนุกชั่วคราว
แก๊สหัวเราะคืออะไรและอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อร่างกายและสุขภาพจิต
12 August 2024
วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day)
ความรู้เกี่ยวกับวิธีสังเกตอาการผิดปกติเพื่อช่วยลดความสูญเสียของผู้คนจากการฆ่าตัวตาย
12 August 2024
มารู้จัก กับ “Panic Disorder”
สังเกตอาการและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแพนิค” (Panic Disorder)
12 August 2024
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ มักเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีปัญหาในการรับมือกับความเครียด หรือเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันและส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถปรับตัวหรือทำใจยอมรับได้
12 August 2024
นโยบายเกี่ยวกับกัญชาเสรี
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและยาเสพติดของแต่ละพรรคนั้นมีทิศทางอย่างไรต่อไปถ้าได้เป็นรัฐบาล
12 August 2024
แค่นิสัย หรือ บุคลิกภาพผิดปกติ?
บุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorder) คือ รูปแบบความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม เกิดความไม่ยืดหยุ่นและการปรับตัวไม่ได้ดี ซึ่งอาจฝังในในจิตใจและก่อให้เกิดปัญหา เช่น ด้านการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่น การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปไมได้
12 August 2024
ฝึกทักษะชีวิต เพื่อบำบัดยาเสพติด หรือป้องกันการติดยาเสพติด
ปรับสมดุลใหม่ในชีวิต เพื่อห่างไกลจากสารเสพติดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด Day One
12 August 2024
โรคกลัวสังคม กับการบำบัดยาเสพติด
โรคกลัวสังคมมีส่วนทำให้ติดสารเสพติดตามมาได้ โดยเฉพาะสารเสพติดในกลุ่มสารกดประสาท เช่น แอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับบางชนิด หรือ สารเสพติดกลุ่มฝิ่น เช่น เฮโรอีน เนื่องจากเมื่อผู้ที่เป็นโรคกลัวสังคมใช้สารเหล่านี้แล้ว สารจะไปกดประสาททำให้ความกลัว ความกังวลลดลง
12 August 2024
โรคเสพติดการพนัน
โรคเสพติดการพนัน เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถบังคับตนเอง จะสนใจหมกมุ่นอยู่กับการพนันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อผิดหวังกับผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้มีอาการข้างเคียง เช่น อาการซึมเศร้า ดื่มสุรา และอาจรุนแรงถึงขั้นใช้สารเสพติด หรือจะเป็นปัญหาชีวิตในด้านต่าง ๆ
12 August 2024
กัญชาทางการแพทย์กับกัญชาเพื่อเสพ ต่างกันอย่างไร
ถึงแม้กัญชาทางการแพทย์จะมีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคบางโรค แต่ก็ไม่ได้แนะนำใช้เป็นการรักษาลำดับแรก เพราะว่ามีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่ายาหลัก การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาควรใช้เพื่อเป็นส่วนเสริม หรือควบรวมกับการรักษาตามมาตรฐาน ไม่สามารถเอามาเป็นการรักษาหลักได้
12 August 2024
วิธีเลิกเหล้าและแนวทางการบำบัด
เลิกเหล้าได้สำเร็จ ด้วยวิธีเลิกเหล้าด้วยตนเองและวิธีเลิกเหล้าโดยพบแพทย์
12 August 2024
ทัศนคติผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น
แนวทางการบำบัดยาเสพติดในวัยรุ่น
12 August 2024
จะเกิดอะไรขึ้นหลัง 9 มิ.ย. 2565 กฎหมาย "ปลดล็อก" กัญชง กัญชา ออกจากยาเสพติด
ถึงแม้ทางกฎหมายกัญชาจะถูกปลดออกจากยาเสพติด แต่ความจริงคือกัญชายังคงมีฤทธิ์เป็นสารเสพติดให้โทษ มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลายชนิด โดยเฉพาะ THC ซึ่งส่งผลเสียทำให้ ระดับเชาวน์ปัญญาลดลง (IQ ต่ำลง) สมองฝ่อ เกิดอาการเสพติด เสี่ยงต่อการเกิดโรคจิต โรคไบโพลาร์ โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
12 August 2024
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างบำบัดยาเสพติด
วิธีจัดการกับอาการอยากยา เพื่อได้รับการบำบัดยาเสพติดอย่างถูกต้อง
12 August 2024
ความแตกต่างของการบำบัดรูปแบบชุมชนบำบัด (Therapeutic community) และการบำบัดเฉพาะบุคคล (Individual program)
ชุมชนบำบัด หรือ Therapeutic Community  (T.C.) เป็นการบำบัดรักษาที่จำลองรูปแบบการดำรงชีวิตในสังคม เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดได้ใช้ชีวิตโดยปราศจากสารเสพติด รับผิดชอบหน้าที่ในชีวิตประจำวัน ปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม โดยเริ่มตั้งแต่การปรับพฤติกรรม ความสามารถ แนวความคิด และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจในตัวเอง และเสริมสร้างความมั่นใจ ฝึกฝนสร้างเป็นอุปนิสัยจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้แบบปกติ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด
12 August 2024
ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดการกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำหลังเข้าบำบัดยาเสพติด
ทำความเข้าใจว่าเพราะเหตุใดทำให้หวนกลับไปใช้ยาเสพติด เพื่อลดการเสพติดซ้ำ
12 August 2024
6 แนวคิดดี ๆ เปลี่ยนมุมมองชีวิตใหม่ หลังเข้าบำบัดยาเสพติด
การปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติดแล้ว ให้สามารถลุกขึ้นมาเดินหน้าใหม่
12 August 2024
เทคนิคการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นคนใหม่หลังจากออกจากสถานบำบัดยาเสพติด
การปรับทัศนคติที่มีต่อผู้บำบัดยาเสพติด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมไทย
12 August 2024
การเทรดคริปโทเคอร์เรนซี กับความเสี่ยงในการเสพติดการพนัน
งานวิจัยไม่ได้หมายความว่าการเทรดคริปโต เป็นการพนัน แต่พฤติกรรมของเทรดเดอร์เองต่างหากเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีพฤติกรรมที่เข้าข่ายติดพนันหรือไม่
12 August 2024
ดูแลผู้ต้องการบำบัดยาเสพติดอย่างไรเมื่อมีอาการอยากยา
การเข้าสถานบำบัดยาเสพติดเพื่อรักษาอาการอยากยาได้อย่างถูกต้อง
12 August 2024
ครอบครัวและความล้มเหลวในการบำบัดยาเสพติด
หลายครั้งที่ครอบครัวกลายเป็นผู้ส่งเสริมพฤติกรรมทางอ้อมให้คงใช้สารเสพติด
12 August 2024
ความรุนแรงของสารเสพติดประเภทยาไอซ์ โคเคน
แนะนำวิธีการบำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูผู้ติดยาไอซ์และโคเคน
12 August 2024
พฤติกรรมของผู้ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด
วิธีสังเกตอาการผู้กำลังจะติดยาเสพติด รู้เท่าทันก่อนต้องพึ่งศูนย์บำบัดยาเสพติด
12 August 2024
Day One ได้รับรองมาตรฐานสถานพยาบาลประเภทสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ (สถานบำบัดยาเสพติด)
สถานบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด สถานบำบัดยาเสพติด ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
12 August 2024
ผลกระทบจากวิธีเลิกยาเสพติดด้วยตนเอง
เลิกยาเสพติดด้วยตนเอง อันตรายกว่าที่คุณคิด
12 August 2024
อาการของผู้ติดยาเสพติด ที่ต้องรับการบำบัดยาเสพติด
โปรแกรมการบำบัดยาเสพติดสำหรับบุคคล สำหรับอาการของผู้ติดเสพติดที่หลากหลาย
12 August 2024
เลิกยาเสพติดที่สถานบำบัดยาเสพติด
เข้าบำบัดยาเสพติด 28 วัน โดยทีมแพทย์ เพิ่มโอกาสสำเร็จในการเลิกยาเสพติด
12 August 2024
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้าสถานบำบัดยาเสพติด กับ DAY ONE REHABILITATION CENTER
การสังเกตเมื่อไหร่ที่ครอบครัวควรพาผู้ที่ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดยาเสพติด หากคนในครอบครัวหรือคนที่คุณรักกำลังใช้ยาเสพติดอยู่ คุณควรสังเกตอาการเหล่านั้น และปรึกษา หาทางแก้ไขเพื่อเข้าบำบัดยาเสพติดได้อย่างถูกวิธี
12 August 2024
กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภทต่างๆ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เพื่อควบคุมการใช้ยาเสพติดผิดกฎหมาย
12 August 2024
ปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 ซึ่งจะมีผลวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นการปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้ อย่างไรก็ตามหากมีการนำไปผสมยาเสพติดอื่นๆ เช่น 4x100 เป็นความผิดตามกฎหมาย
12 August 2024
ควรทำอย่างไรเมื่อมีคนในครอบครัวติดยาเสพติด
การปฏิบัติตัวของญาติหรือผู้ใกล้ชิดผู้ติดยาเสพติด เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดเข้าสู่การบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี
12 August 2024
หลัก 12 ขั้นตอน (Twelve steps) วิธีเลิกเหล้า เลิกสุรา วิธีเลิกยาเสพติด
หลักการ 12 ขั้นตอน ริเริ่มมาจาก บุคคล 2 คนที่ติดสุรามาก่อน พวกเขาร่วมมือกันเลิกสุราและก่อตั้ง กลุ่ม AA (alcoholic anonymous) ขึ้น พร้อมกับคิดค้นหลักการ 12 ขั้นตอนไปสู่การเลิกสุรา ต่อมาหลักการนี่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ติดสุราและยาเสพติด และค้นพบว่าสามารถทำให้ไปสู่การเลิกเสพได้อย่างต่อเนื่อง
12 August 2024
ยาเสพติดรอบตัวที่พบบ่อย
ยาเสพติดชนิดธรรมชาติ เป็นสารที่กลั่น หรือ สกัดได้จากพืชบางชนิดโดยตรง เช่น ฝิ่น โคเคน กัญชา รวมทั้งการนำสารจากพืชเหล่านั้นมาปรุงเป็นอย่างอื่น โดยกรรมวิธีทางเคมี เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ซึ่งทำมาจากฝิ่น เป็นต้น
12 August 2024
โรคสมองติดยา สมองติดยาได้อย่างไร
การติดยาเสพติดเป็นกระบวนการต่อเนื่องเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจากการเสพยาเป็นครั้งคราว สู่การเสพที่ถี่ขึ้นจนเสพทุกวันและวันละหลายครั้ง การเสพยาเสพติดเกี่ยวข้องกับสมอง 2 ส่วนคือ สมองส่วนคิด (Cerebral Cortex) และสมองส่วนอยาก (Limbic System)
12 August 2024