064-645-5091    จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้าสถานบำบัดยาเสพติด กับ DAY ONE REHABILITATION CENTER

IMG-BLOG
23 February 2022

ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้าสถานบำบัดยาเสพติด กับ DAY ONE REHABILITATION CENTER

การสังเกตเมื่อไหร่ที่ครอบครัวควรพาผู้ที่ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดยาเสพติด

 

          การติดยาเสพติด เป็นอาการที่เจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมไปถึงการทำลายระบบประสาท บางรายขึ้นขั้นเสียชีวิต และทำลายคนรอบข้างโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นหากคนในครอบครัวหรือคนที่คุณรักกำลังใช้ยาเสพติดอยู่ หรือเกิดความไม่แน่ใจว่าอาการแบบไหนที่ติดยาเสพติด คุณควรสังเกตอาการเหล่านั้น และปรึกษา หาทางแก้ไขเพื่อเข้าบำบัดยาเสพติดได้อย่างถูกวิธี

 

วิธีการสังเกตว่าผู้เสพเริ่มมีปัญหาติดยาเสพติดแล้วหรือไม่ มีดังนี้

 

1. เคยมีการใช้ยาเสพติดในปริมาณหรือระยะเวลามากกว่าที่ตั้งใจเอาไว้

2. เคยมีการที่พยายามจะหยุดใช้ยาเสพติดแต่ไม่สามารถหยุดได้ตามที่ตั้งใจไว้

3. เสียเวลาไปกับการเสพยาเสพติด หรือเสียเวลาจากฤทธิ์ของยาเสพติดที่ยังตกค้างอยู่หลังจากใช้ยาเสพติด

4. เคยมีอาการอยากใช้ยาเสพติดอย่างมาก มีความคิดหมกมุ่นกับยาเสพติด จนทำให้ไม่ได้คิดถึงเรื่องอื่นๆ

5. การใช้ยาเสพติดเริ่มส่งผลต่อความรับผิดชอบในด้านต่างๆ เช่น บทบาทหน้าที่ในครอบครัว ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด การเรียน หน้าที่การงาน

6. ยังคงใช้ยาเสพติดอยู่ ถึงแม้จะรู้ว่าส่งผลเสียต่อครอบครัว เพื่อน คนรอบข้าง

7. หลีกเลี่ยงหรือไม่สนใจกิจกรรมต่างๆที่ตัวเองเคยสนใจ หรือสนใจในสิ่งที่ตัวเองเคยชื่นชอบลดลง และมาหาความสุขจากการใช้ยาเสพติดแทน

8. เคยมีเหตุการณ์ที่ฤทธิ์ของยาเสพติดเริ่มส่งผลให้เกิดอันตรายต่อตัวเอง เช่น ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน ขาดสติทำให้เกิดการบาดเจ็บจากการใช้เครื่องมือต่างๆ เดินโดยไม่ได้ระวังจนเกิดอุบัติเหตุ มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน

9. ยังคงเสพยาเสพติดอยู่ถึงแม้ว่าเมื่อใช้แล้วทำให้รู้สึกซึมเศร้า วิตกกังวล หรือ รู้ว่าทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพแต่ก็ยังคงเสพ

10. ต้องใช้สารในปริมาณที่มากขึ้นหรือเปลี่ยนชนิดของสารที่แรงขึ้นเพื่อให้ได้ฤทธิ์เท่าเดิม หรือ พบว่าเมื่อใช้สารในปริมาณเท่าเดิมแต่รู้สึกได้ฤทธิ์จากการใช้ที่ลดลง

11. เมื่อไม่ได้ใช้ยาเสพติด หรือเมื่อยาเสพติดเริ่มหมดฤทธิ์แล้วจะเริ่มมีผลข้างเคียงซึ่ง้รียกว่า เกิดอาการถอน (withdrawal symptom) อาการขึ้นอยู่กับสารเสพหากเป็นสารกระตุ้นประสาท ยาบ้า ยาไอซ์ อาการถอนจะเป็นอาการง่วงซึม อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ส่วนสารกดประสาท เช่น แอลกอฮอล์ เหล้า อาการถอนจะมีอาการ กระสับกระส่าย อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ อาการถอนของสารอนุพันธ์ฝิ่น เช่น เฮโรอีน กระท่อม จะมีอาการปวดเมื่อตัว กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ

• หากมี 2-3 ข้อ แปลว่า ผู้เสพเริ่มมีปัญหาติดยาเสพติด

• หากมี 4-5 ข้อ แปลว่า ผู้เสพมีปัญหาติดยาเสพติดค่อนข้างมาก

• หากมีตั้งแต่ 6 ข้อขึ้นไป ผู้เสพมีปัญหาติดยาเสพติดรุนแรง

หากญาติหรือคนใกล้ชิดเริ่มสังเกตพฤติกรรมเหล่านี้ได้ ควรรีบพาผู้เสพมาบำบัดรักษาทันที โดยช่วงที่เหมาะสมที่จะพามารักษาคือตั้งแต่ระยะเริ่มมีปัญหาติดยาเสพติด

 

กลุ่มอาการที่บ่งบอกว่าผู้เสพเริ่มมีอาการทางจิตจากการใช้สารเสพติด
 

          ผู้เสพเริ่มมีอาการทางจิตจากการใช้สารเสพติด ต้องรีบพามาบำบัดยาเสพติดเร่งด่วนเนื่องจากผู้ป่วยอาจทำร้ายตัวเอง หรือทำร้ายผู้อื่นไปโดยไม่รู้ตัว หากปล่อยไว้นานอาการจะยิ่งเป็นมากขึ้น กลุ่มอาการที่บ่งบอกว่าผู้เสพเริ่มมีอาการทางจิต มีดังนี้

1. ผู้เสพเริ่มมีอาการหูแว่ว สังเกตได้จากผู้ป่วยอาจพูดคนเดียว หัวเราะคนเดียว หรือได้ยินคนมาคุยด้วยทั้งที่คนอื่นๆไม่เห็นและไม่ได้ยิน เสียงจากอาการหูแว่วที่มาพูดกับผู้เสพยาเสพติดอาจมีหลายรูปแบบ เช่น เสียงมาพูดคุยทั่วไป เสียงมาขู่ทำร้าย เสียงมาสั่งให้ทำสิ่งต่างๆ เสียงมาตำหนิต่อว่า เมื่อผู้ป่วยได้ยินเสียงเหล่านี้จึงทำให้เกิดอาการหวาดระแวง หงุดหงิดก้าวร้าว อารมณ์แปรแรวน ซึมเศร้าตามมา

2. ผู้เสพเริ่มมีอาการหลงผิด หมายถึง ผู้ป่วยจะเชื่อในสิ่งที่ไม่ได้มีอยู่จริง ไม่ได้เกิดขึ้นจริง หรือบางครั้งอาจเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติ โดยถึงแม้คนรอบข้างขะพยายามบอกว่าผู้เสพคิดไปเอง ผู้เสพก็จะยังคงเชื่อในเรื่องที่ตัวเองคิดอยู่อย่างนั้น

3. ผู้เสพเริ่มมีลักษณะการคิดที่ไม่เป็นเหตุเป็นผล หรือเป็นเหตุผลที่ตัวเองคิดขึ้นมาเอง แต่จะดูไม่สมเหตุสมผลในมุมมองของคนรอบข้าง สังเกตได้จากผู้เสพจะพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง ตัดสินใจสิ่งต่างๆไม่เหมาะสม

4. ผู้เสพมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป ทำอะไรแปลกๆ เช่น บางรายอาจเดินไป เดินมารอบบ้าน บางรายอาจเก็บตัวอยู่แต่ในห้องไม่กล้าออกไปไหน พฤติกรรมที่แปลกไปเหล่านี้เกิดจากผู้ป่วยมีความคิดบางอย่างที่หลงผิดอยู่จึงทำสิ่งต่างๆที่คนอื่นไม่เข้าใจ ยกตัวอย่างเช่น ผู้เสพ ไม่กล้ากินน้ำกินอาหารเนื่องจากกลัวโดนวางยาพิษ

 

ต้องการส่งผู้เสพยาเข้าสถานบำบัดยาเสพติด Day One ต้องทำอย่างไรบ้าง
 

วิธีการส่งผู้เสพเข้ารับการบำบัดรักษามีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

1. ให้ญาติของผู้รับการบำบัดติดต่อ ศูนย์บำบัดยาเสพติด day one rehabilitation center โดยโทร 064-645-5091 ผู้เชี่ยวชาญของเราจะสอบถามอาการของผู้รับการบำบัดเบื้องต้น เพื่อประเมินว่าผู้รับการบำบัดต้องรักษาอย่างไร โดยหากผู้รับการบำบัดมีอาการถอน หรือผลข้างเคียงทางร่างกาย หรืออาการทางจิตที่รุนแรง ผู้เชี่ยวชาญของเราจะนัดหมายกับจิตแพทย์ให้ เพื่อให้ผู้ป่วยไปรักษาอาการทางจิตและถอนพิษสารเสพติด ซึ่งต้องใช้ยารักษาที่โรงพยาบาลก่อน

2.หากผู้เชี่ยวชาญของ ศูนย์บำบัดยาเสพติด day one rehabilitation center ประเมินแล้วว่าผู้รับการบำบัดอาการถอนและความผิดปกติทางกายไม่รุนแรง และไม่ได้มีอาการทางจิตที่รุนแรง ญาติสามารถพาผู้รับการบำบัดมาบำบัดที่ ศูนย์บำบัดยาเสพติด day one rehabilitation center ได้เลยหลังจากนัดหมาย

3. โทรนัดหมายกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนัดวันเวลาที่จะนำตัวผู้รับการบำบัดมาที่ ศูนย์บำบัดยาเสพติด day one rehabilitation center

4. พยายามแสดงความเป็นห่วงในอาการของผู้รับการบำบัด ให้เหตุผลที่เป็นความจริง หนักแน่นในการพาผู้รับการบำบัด มาบำบัดยาเสพติด (เพิ่มทีหลัง >> ญาติสามารถศึกษารายละเอียดได้ในบทความ วิธีโน้วนาวผู้ติดยาเสพติด ให้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด )

5. หากญาติไม่สะดวกที่จะพาผู้รับการบำบัดมาเอง หรือผู้รับการบำบัดแสดงท่าทีต่อต้าน ญาติสามารถแจ้งกับเรา ทางเราจะมีบริการรถรับส่งและเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยพาผู้รับการบำบัดมาที่ศูนย์

6. สิ่งของที่ต้องเตรียมมามีดังนี้

     6.1 ของใช้ส่วนตัวใน เช่น สบู่ แชมพู แปรงสีฟัน ยาสีฟัน

     6.2 ชุดสำหรับออกกำลังกาย รองเท้าวิ่ง

     6.3 บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับการบำบัดและของญาติเจ้าของไข้

7. วันที่เข้ารับการบำบัดให้ญาติติดต่อผู้จัดการประจำ ศูนย์บำบัดยาเสพติด day one rehabilitation center ญาติและผู้รับการบำบัดจะต้องเซ็นเอกสารยินยอมเข้ารับการบำบัด ผู้จัดการศูนย์จะชี้แจ้งระเบียบในการเข้ารับการบำบัดให้ทราบ ญาติสามารถดูรายละเอียดของการบำบัดล่วงหน้าได้ที่ คำถามที่พบบ่อย

8. ระยะเวลาในการบำบัดเริ่มต้นที่ 28 วัน บางรายอาจเหมาะกับการระยะยาว เช่น 3 - 12 เดือน ขึ้นอยู่กับอาการของผู้รับการบำบัดแต่ละราย ตลอดการบำบัดที่ ศูนย์บำบัดยาเสพติด day one rehabilitation center จะมีผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา เช่น จิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด มาให้การบำบัดตามโปรแกรมให้เหมาะกับอาการของผู้รับการบำบัดแต่ละราย โดยจะมีการนัดญาติผู้รับการบำบัดมาเพื่อให้คำปรึกษาหรือทำครอบครัวบำบัดเป็นระยะเพื่อให้มีส่วนร่วมในการรักษาผู้รับการบำบัด และปรับความเข้าใจต่อกันให้ความสัมพันธ์ดีขึ้นเมื่อกลับไปบ้าน

9. หากผู้รับการบำบัดอาการดีขึ้น พร้อมที่จะกลับไปใช้ชีวิตด้วยตัวเองผู้เชี่ยวชาญของทางศูนย์จะแจ้งวันเวลานัดหมายเพื่อให้ญาติมารับกลับ

10. ทางศูนย์จะทำการนัดหมายกับผู้รับการบำบัดและญาติเป็นระยะ ในช่วงแรกหลังออกจากศูนย์ทุก 2 สัปดาห์ เพื่อติดตามอาการว่ายังคงเลิกเสพได้ต่อเนื่องหรือไม่ หากหยุดเสพได้ต่อเนื่องทางศูนย์จะนัดระยะห่างขึ้นเป็นทุก 1-3 เดือน หากผู้รับการบำบัดเลิกได้ต่อเนื่องเป้าหมายคือ 1 ปี หมายความว่าผู้ป่วยสามารถเลิกยาเสพติดได้สำเร็จ

11. หากผู้รับการบำบัดต้องรักษาด้วยการกินยาเพื่อรักษาอาการทางจิตหรือภาวะทางอารมณ์ร่วมด้วย ทางศูนย์จะประสานกับจิตแพทย์เพื่อให้ผู้ป่วยไปรับยารักษา และประเมินอาการกับจิตแพทย์ต่อเนื่อง
 

          การจะเลิกยาเสพติดไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นการรู้จักวิธีบำบัดยาเสพติดที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับผู้ที่มีปัญหาจากสารเสพติด ที่กำลังหาวิธีเลิกยาเสพติด วิธีเลิกเหล้า ไปจนถึง วิธีเลิกพนัน DAY ONE REHABILITATION CENTER ศูนย์บำบัดยาเสพติด พร้อมให้คำแนะนำและปรึกษา โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จิตแพทย์ พยาบาลจิตวิทยา นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านปัญหาสารเสพติด
 

ติดต่อเรา

99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000

064-645-5091

[email protected]

จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

บทความล่าสุด

แก๊สหัวเราะกับความสนุกชั่วคราว
แก๊สหัวเราะคืออะไรและอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อร่างกายและสุขภาพจิต
05 January 2024
วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day)
ความรู้เกี่ยวกับวิธีสังเกตอาการผิดปกติเพื่อช่วยลดความสูญเสียของผู้คนจากการฆ่าตัวตาย
11 September 2023
มารู้จัก กับ “Panic Disorder”
สังเกตอาการและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแพนิค” (Panic Disorder)
15 August 2023
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ มักเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีปัญหาในการรับมือกับความเครียด หรือเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันและส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถปรับตัวหรือทำใจยอมรับได้
21 June 2023
นโยบายเกี่ยวกับกัญชาเสรี
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและยาเสพติดของแต่ละพรรคนั้นมีทิศทางอย่างไรต่อไปถ้าได้เป็นรัฐบาล
21 June 2023
แค่นิสัย หรือ บุคลิกภาพผิดปกติ?
บุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorder) คือ รูปแบบความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม เกิดความไม่ยืดหยุ่นและการปรับตัวไม่ได้ดี ซึ่งอาจฝังในในจิตใจและก่อให้เกิดปัญหา เช่น ด้านการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่น การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปไมได้
21 June 2023
ฝึกทักษะชีวิต เพื่อบำบัดยาเสพติด หรือป้องกันการติดยาเสพติด
ปรับสมดุลใหม่ในชีวิต เพื่อห่างไกลจากสารเสพติดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด Day One
21 June 2023
โรคกลัวสังคม กับการบำบัดยาเสพติด
โรคกลัวสังคมมีส่วนทำให้ติดสารเสพติดตามมาได้ โดยเฉพาะสารเสพติดในกลุ่มสารกดประสาท เช่น แอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับบางชนิด หรือ สารเสพติดกลุ่มฝิ่น เช่น เฮโรอีน เนื่องจากเมื่อผู้ที่เป็นโรคกลัวสังคมใช้สารเหล่านี้แล้ว สารจะไปกดประสาททำให้ความกลัว ความกังวลลดลง
23 January 2023
โรคเสพติดการพนัน
โรคเสพติดการพนัน เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถบังคับตนเอง จะสนใจหมกมุ่นอยู่กับการพนันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อผิดหวังกับผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้มีอาการข้างเคียง เช่น อาการซึมเศร้า ดื่มสุรา และอาจรุนแรงถึงขั้นใช้สารเสพติด หรือจะเป็นปัญหาชีวิตในด้านต่าง ๆ
13 December 2022
กัญชาทางการแพทย์กับกัญชาเพื่อเสพ ต่างกันอย่างไร
ถึงแม้กัญชาทางการแพทย์จะมีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคบางโรค แต่ก็ไม่ได้แนะนำใช้เป็นการรักษาลำดับแรก เพราะว่ามีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่ายาหลัก การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาควรใช้เพื่อเป็นส่วนเสริม หรือควบรวมกับการรักษาตามมาตรฐาน ไม่สามารถเอามาเป็นการรักษาหลักได้
21 November 2022
วิธีเลิกเหล้าและแนวทางการบำบัด
เลิกเหล้าได้สำเร็จ ด้วยวิธีเลิกเหล้าด้วยตนเองและวิธีเลิกเหล้าโดยพบแพทย์
21 June 2022
ทัศนคติผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น
แนวทางการบำบัดยาเสพติดในวัยรุ่น
21 June 2022
จะเกิดอะไรขึ้นหลัง 9 มิ.ย. 2565 กฎหมาย "ปลดล็อก" กัญชง กัญชา ออกจากยาเสพติด
ถึงแม้ทางกฎหมายกัญชาจะถูกปลดออกจากยาเสพติด แต่ความจริงคือกัญชายังคงมีฤทธิ์เป็นสารเสพติดให้โทษ มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลายชนิด โดยเฉพาะ THC ซึ่งส่งผลเสียทำให้ ระดับเชาวน์ปัญญาลดลง (IQ ต่ำลง) สมองฝ่อ เกิดอาการเสพติด เสี่ยงต่อการเกิดโรคจิต โรคไบโพลาร์ โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
10 June 2022
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างบำบัดยาเสพติด
วิธีจัดการกับอาการอยากยา เพื่อได้รับการบำบัดยาเสพติดอย่างถูกต้อง
28 April 2022
ความแตกต่างของการบำบัดรูปแบบชุมชนบำบัด (Therapeutic community) และการบำบัดเฉพาะบุคคล (Individual program)
ชุมชนบำบัด หรือ Therapeutic Community  (T.C.) เป็นการบำบัดรักษาที่จำลองรูปแบบการดำรงชีวิตในสังคม เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดได้ใช้ชีวิตโดยปราศจากสารเสพติด รับผิดชอบหน้าที่ในชีวิตประจำวัน ปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม โดยเริ่มตั้งแต่การปรับพฤติกรรม ความสามารถ แนวความคิด และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจในตัวเอง และเสริมสร้างความมั่นใจ ฝึกฝนสร้างเป็นอุปนิสัยจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้แบบปกติ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด
11 August 2022
ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดการกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำหลังเข้าบำบัดยาเสพติด
ทำความเข้าใจว่าเพราะเหตุใดทำให้หวนกลับไปใช้ยาเสพติด เพื่อลดการเสพติดซ้ำ
29 March 2022
6 แนวคิดดี ๆ เปลี่ยนมุมมองชีวิตใหม่ หลังเข้าบำบัดยาเสพติด
การปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติดแล้ว ให้สามารถลุกขึ้นมาเดินหน้าใหม่
06 March 2022
เทคนิคการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นคนใหม่หลังจากออกจากสถานบำบัดยาเสพติด
การปรับทัศนคติที่มีต่อผู้บำบัดยาเสพติด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมไทย
06 March 2022
การเทรดคริปโทเคอร์เรนซี กับความเสี่ยงในการเสพติดการพนัน
งานวิจัยไม่ได้หมายความว่าการเทรดคริปโต เป็นการพนัน แต่พฤติกรรมของเทรดเดอร์เองต่างหากเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีพฤติกรรมที่เข้าข่ายติดพนันหรือไม่
28 February 2022
ดูแลผู้ต้องการบำบัดยาเสพติดอย่างไรเมื่อมีอาการอยากยา
การเข้าสถานบำบัดยาเสพติดเพื่อรักษาอาการอยากยาได้อย่างถูกต้อง
28 February 2022
ครอบครัวและความล้มเหลวในการบำบัดยาเสพติด
หลายครั้งที่ครอบครัวกลายเป็นผู้ส่งเสริมพฤติกรรมทางอ้อมให้คงใช้สารเสพติด
07 February 2022
ความรุนแรงของสารเสพติดประเภทยาไอซ์ โคเคน
แนะนำวิธีการบำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูผู้ติดยาไอซ์และโคเคน
07 February 2022
พฤติกรรมของผู้ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด
วิธีสังเกตอาการผู้กำลังจะติดยาเสพติด รู้เท่าทันก่อนต้องพึ่งศูนย์บำบัดยาเสพติด
06 January 2022
Day One ได้รับรองมาตรฐานสถานพยาบาลประเภทสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ (สถานบำบัดยาเสพติด)
สถานบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด สถานบำบัดยาเสพติด ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
28 February 2022
ผลกระทบจากวิธีเลิกยาเสพติดด้วยตนเอง
เลิกยาเสพติดด้วยตนเอง อันตรายกว่าที่คุณคิด
23 May 2022
อาการของผู้ติดยาเสพติด ที่ต้องรับการบำบัดยาเสพติด
โปรแกรมการบำบัดยาเสพติดสำหรับบุคคล สำหรับอาการของผู้ติดเสพติดที่หลากหลาย
23 February 2022
เลิกยาเสพติดที่สถานบำบัดยาเสพติด
เข้าบำบัดยาเสพติด 28 วัน โดยทีมแพทย์ เพิ่มโอกาสสำเร็จในการเลิกยาเสพติด
23 February 2022
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้าสถานบำบัดยาเสพติด กับ DAY ONE REHABILITATION CENTER
การสังเกตเมื่อไหร่ที่ครอบครัวควรพาผู้ที่ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดยาเสพติด หากคนในครอบครัวหรือคนที่คุณรักกำลังใช้ยาเสพติดอยู่ คุณควรสังเกตอาการเหล่านั้น และปรึกษา หาทางแก้ไขเพื่อเข้าบำบัดยาเสพติดได้อย่างถูกวิธี
23 February 2022
กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภทต่างๆ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เพื่อควบคุมการใช้ยาเสพติดผิดกฎหมาย
23 February 2022
ปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 ซึ่งจะมีผลวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นการปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้ อย่างไรก็ตามหากมีการนำไปผสมยาเสพติดอื่นๆ เช่น 4x100 เป็นความผิดตามกฎหมาย
23 February 2022
ควรทำอย่างไรเมื่อมีคนในครอบครัวติดยาเสพติด
การปฏิบัติตัวของญาติหรือผู้ใกล้ชิดผู้ติดยาเสพติด เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดเข้าสู่การบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี
23 February 2022
หลัก 12 ขั้นตอน (Twelve steps) วิธีเลิกเหล้า เลิกสุรา วิธีเลิกยาเสพติด
หลักการ 12 ขั้นตอน ริเริ่มมาจาก บุคคล 2 คนที่ติดสุรามาก่อน พวกเขาร่วมมือกันเลิกสุราและก่อตั้ง กลุ่ม AA (alcoholic anonymous) ขึ้น พร้อมกับคิดค้นหลักการ 12 ขั้นตอนไปสู่การเลิกสุรา ต่อมาหลักการนี่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ติดสุราและยาเสพติด และค้นพบว่าสามารถทำให้ไปสู่การเลิกเสพได้อย่างต่อเนื่อง
23 May 2022
ยาเสพติดรอบตัวที่พบบ่อย
ยาเสพติดชนิดธรรมชาติ เป็นสารที่กลั่น หรือ สกัดได้จากพืชบางชนิดโดยตรง เช่น ฝิ่น โคเคน กัญชา รวมทั้งการนำสารจากพืชเหล่านั้นมาปรุงเป็นอย่างอื่น โดยกรรมวิธีทางเคมี เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ซึ่งทำมาจากฝิ่น เป็นต้น
23 February 2022
โรคสมองติดยา สมองติดยาได้อย่างไร
การติดยาเสพติดเป็นกระบวนการต่อเนื่องเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจากการเสพยาเป็นครั้งคราว สู่การเสพที่ถี่ขึ้นจนเสพทุกวันและวันละหลายครั้ง การเสพยาเสพติดเกี่ยวข้องกับสมอง 2 ส่วนคือ สมองส่วนคิด (Cerebral Cortex) และสมองส่วนอยาก (Limbic System)
23 February 2022