064-645-5091    จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

ความรุนแรงของสารเสพติดประเภทยาไอซ์ โคเคน

IMG-BLOG
07 February 2022

ความรุนแรงของสารเสพติดประเภทยาไอซ์ โคเคน

แนะนำวิธีการบำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูผู้ติดยาไอซ์และโคเคน


ปัญหาด้านการใช้ยาเสพติดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและเยาวชนของประเทศไทย ยังเป็นหนึ่งในปัญหาที่มีความรุนแรงและเป็นปัญหาที่สร้างความวิตกกังวลให้กับผู้คนในทุกภาคส่วนเป็นอย่างมากจากจำนวนของผู้เสพสารเสพติดที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี ในขณะที่กลุ่มเยาวชนที่ใช้สารเสพติดนั้นกลับมีแนวโน้มที่จะมีอายุลดน้อยลงเรื่อย ๆ โดยผลสำรวจจากปีพ.ศ. 2562 พบว่า กลุ่มเด็กและเยาวชนอายุ 12 - 19 ปี มีการใช้สารเสพติดมากถึงร้อยละ 3.72 (ข้อมูลจาก: https://tna.mcot.net/tna-446471)

ซึ่งอย่างที่เราทุกคนทราบกันดีว่า การใช้สารเสพติดให้โทษไม่เพียงแต่จะส่งผลให้ผู้เสพยาเกิดปัญหาโดยต่อสุขภาพกาย ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว หรือเป็นการทำลายให้สมองเสื่อมลงกว่าที่ควรจะเป็น แต่ยังส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพจิตที่ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน คลุ้มคลั่ง และขาดสติในการควบคุมตัวเอง วันนี้เราจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรงของสารเสพติดประเภทยาไอซ์ และโคเคน พร้อมวิธีในการบำบัดยาเสพติด มาเพื่อให้ทุกคนได้ช่วยกันสอดส่อง ดูแล และระมัดระวัง หรือในกรณีที่พบว่ามีคนในครอบครัวใช้สารเสพติดก็จะได้สามารถนำผู้ที่ใช้สารเสพติดไปเข้ารับการบำบัดยาเสพติดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติดโดยเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้เสพเองและบุคคลใกล้ชิดรอบข้าง

 

ความรุนแรงของยาเสพติดประเภทยาไอซ์
 

ยาไอซ์ (Ice) เป็นสารเสพติดกระตุ้นประสาทรูปแบบหนึ่งของเมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) ซึ่งเป็นชื่อเรียกทางเคมีของยาบ้า (Amphetamine) ที่มีลักษณะเป็นผลึกใสคล้ายก้อนน้ำแข็ง โดยยาไอซ์ถือเป็นสารเสพติดที่มีความบริสุทธิ์มากกว่ายาบ้าราว ๆ 4-5 เท่า จึงทำให้ในกลุ่มผู้เสพสารเสพติดมักนิยมเรียกยาชนิดนี้ว่า หัวยาบ้า บางครั้งอาจเรียกคำแสลงในภาษาไทยว่า “น้ำแข็ง” เนื่องจากการกลไกการออกฤทธิ์ของยาไอซ์มีความรุนแรงที่มากกว่า สามารถทำให้ติดได้ง่ายกว่า และมีผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจที่รุนแรงกว่าการใช้ยาบ้า
 

โดยส่วนใหญ่แล้วกลไกการออกฤทธิ์ของยาไอซ์ มักจะมีการออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางและสมอง ที่ทำหน้าที่ควบคุมความคิดและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ส่งผลให้ผู้เสพยาไอซ์จึงเกิดความรู้สึกตื่นตัว ร่าเริง ไม่เหนื่อย ไม่ง่วง อยู่นิ่งไม่ได้ ทั้งยังช่วยผ่อนคลายความรู้สึกเหนื่อยล้า หรือในบางรายอาจทำให้มีความต้องการทางเพศสูงขึ้น จึงพบว่าผู้เสพบางรายอาจใชเพื่อนจุดประสงค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เพื่อให้มีเพศสัมพันธ์ได้ยาวนานขึ้น ถึงจุดสุดยอดได้หลายครั้ง แต่ถ้าหากใช้ยาไอซ์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนหรืออาการซึมเศร้ารุนแรง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว รวมถึงเกิดการหวาดระแวง ย้ำคิดย้ำทำ ซึ่งถ้าหากมีการเสพยาไอซ์ด้วยวิธีการฉีดยาไอซ์เข้าทางเส้นเลือด ก็จะส่งผลให้ผู้เสพยาไอซ์มีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อไวรัสทางกระแสเลือด อย่างเช่น ไวรัสตับอักเสบชนิด B และ C จากการใช้อุปกรณ์ฉีดยาร่วมกับผู้อื่นได้
 

นอกจากนี้ในรายที่มีการใช้ยาไอซ์ในปริมาณที่มากเกินขนาดอาจส่งผลให้เกิดการนอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ประสาทหลอน ความจำเสื่อม กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก หรืออาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเกิดการชักหรือหมดสติ ซึ่งนำไปสู่การทำให้ระบบหายใจล้มเหลว ช็อก และเสียชีวิตได้

 

วิธีบำบัดรักษาผู้เสพติดยาไอซ์
 

ในปัจจุบันนี้ ผู้เสพติดยาไอซ์จำเป็นจะต้องเข้ารับการบำบัดยาเสพติดอย่างถูกต้องที่สถานบำบัดยาเสพติดกินนอน เพื่อที่จะได้รับการประเมินอาการและพฤติกรรมอย่างละเอียดรอบคอบก่อนจะนำไปสู่การเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาอย่างถูกต้อง ตลอดจนการปรับแผนการบำบัดยาเสพติดตามความจำเป็นเพื่อให้ได้รับการบำบัดยาเสพติดอย่างดีที่สุด ซึ่งโดยทั่วไปแล้ววิธีบำบัดรักษาผู้เสพติดยาไอซ์ของศูนย์บำบัดยาเสพติด สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ ดังนี้
 

1. ช่วงการบำบัดเพื่อถอนพิษยาไอซ์ (Detoxification) เป็นวิธีการบำบัดยาเสพติดหลังจากที่ผู้เสพยามีการใช้ยาเสพติดต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานานจนทำให้ร่างกายเกิดการติดยา ผู้เสพยาจึงจำเป็นที่จะต้องทำการดีท็อกซ์เพื่อล้างสารเสพติดที่มีอยู่ในร่างกายออกไปให้หมด ซึ่งในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่มีความจำเป็นจะต้องเกิดขึ้นภายใต้ความดูแลของบุคลากรทางการแพทย์ในศูนย์บำบัดยาเสพติดที่มีความเชี่ยวชาญและมีใบอนุญาตอย่างถูกต้อง ที่สามารถดูแลและจ่ายยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการถอนยาที่อาจเกิดขึ้นกับผู้เสพสารเสพติดในระหว่างการบำบัดรักษาได้
 

2. ช่วงการบำบัดรักษาฟื้นฟูอาการของผู้ที่ติดยาไอซ์ (Rehabilitation) เป็นการรักษาด้วยวิธีแบบจิตบำบัดหลังจากที่อาการถอนยาของผู้บำบัดยาเสพติดนั้นดีขึ้นแล้ว ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีแต่วิธีที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดและนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก คือ วิธีการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy – CBT), การบำบัดความคิดและพฤติกรรมตามแนวสติปัฏฐาน (Mindfulness-based Cognitive Behavioural Therapy – MCBT), การบำบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจ (Motivational Interviewing), และครอบครัวบำบัดตามหลักซาเทียร์ (Satir Family Therapy) ซึ่งสามารถทำการบำบัดได้ทั้งในรูปแบบเดี่ยวและรูปแบบกลุ่มเพื่อการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดและช่วยให้ผู้บำบัดยาเสพติดสามารถเข้าใจถึงความคิดและพฤติกรรมหลังการบำบัดยาเสพติดของตัวเองได้ดีมากยิ่งขึ้น

 

ความรุนแรงของยาเสพติดประเภทโคเคน (Detoxification)
 

โคเคน (โคคาอีน) หรือนิยมเรียกกันในกลุ่มผู้เสพว่า Coke, Snow, Speed Ball, Crack ฯลฯ เป็นสารเสพติดจากธรรมชาติที่มาจากการนำเอาใบของต้นโคคา (Erythroxylum coca) ซึ่งเป็นพืชที่นิยมปลูกกันมากในประเทศแถบอเมริกาใต้ และอเมริกากลาง มาสกัดให้เป็นผงก่อนจะนำมาเสพโดยการสูดผงยาเข้าไปในโพรงจมูก (Snort), การนำไปเผาไฟแล้วสูบควันเข้าปอด (Smoke), หรือนำไปละลายแล้วนำมาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
 

โดยโคเคนจัดเป็นสารเสพติดให้โทษประเภท ๒ ซึ่งออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลางเช่นเดียวกันกับยาไอซ์ (Ice) และยาบ้า (Amphetamine) แต่โคเคนทำให้เกิดอาการติดยาได้ง่ายกว่า โดยอาการของผู้ที่เสพโคเคนนั้นจะมีมากหรือน้อยนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณและความเร็วของโคเคนที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วในระยะแรกโคเคนจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทซึ่งทำให้ผู้เสพไม่รู้สึกเหนื่อย มีกำลัง มีความกระปรี้กระเปร่าเพิ่มมากขึ้น และเกิดการเคลิบเคลิ้มเป็นสุข (euphoria) ในระยะเวลาสั้น ๆ แต่เมื่อฤทธิ์ของโคเคนหมดลงก็ทำให้ร่างกายกลับสู่สภาวะอ่อนเพลีย เมื่อยล้า และเกิดอาการเซื่องซึมขึ้นมาทันที
 

สำหรับผู้เสพยาที่มีการเสพติดโคเคนอย่างรุนแรง มักจะมีอาการกระสับกระส่าย อารมณ์แปรปรวน ก้าวร้าว จิตใจหดหู่ และกังวลใจอย่างรุนแรงเมื่อเลิกเสพ ส่งให้ผู้เสพติดโคเคนส่วนใหญ่จึงมักจะเสพยาต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ตนเองเกิดอาการตามที่ได้กล่าวไปในข้างต้น จนเป็นผลทำให้ร่างกายได้รับโคเคนเกินขนาดจนนำไปสู่การเกิดพิษแบบเฉียบพลัน ซึ่งฤทธิ์ของโคเคนจะไปกดการทำงานของหัวใจ ทำให้อัตราการเต้นหัวใจเร็วขึ้น ความดันเลือดสูง ซึ่งส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการชัก หมดสติ ระบบการหายใจล้มเหลว หัวใจวาย เส้นเลือดในสมองแตก และนำไปสู่การเสียชีวิตได้

 

วิธีบำบัดรักษาผู้เสพติดโคเคน
 

วิธีการบำบัดยาเสพติดที่ดีที่สุดสำหรับผู้เสพติดโคเคนขั้นรุนแรง คือ การเข้ารับการบำบัดยาเสพติดแบบประจำที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด เพื่อที่จะได้รับการบำบัด ดูแล และเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง อีกทั้งยังเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้ผู้บำบัดยาเสพติดได้กลับไปคลุกคลีกับผู้เสพคนอื่น ๆ โดยวิธีบำบัดรักษาผู้เสพติดโคเคนของศูนย์บำบัดยาเสพติด สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
 

1. การบำบัดเพื่อถอนพิษโคเคน สำหรับผู้บำบัดยาเสพติดที่มีการเสพโคเคนต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานานหรือเสพโคเคนในปริมาณมากภายในครั้งเดียวมักจะเกิดอาการกระสับกระส่าย อารมณ์แปรปรวน ร่างกายเหนื่อยล้า อยากเสพยาอย่างรุนแรง หรืออาจนำไปสู่การเกิดอาการที่เรียกว่า Post-Acute Withdrawals Syndrome (PAWS) ซึ่งเป็นอาการที่เกิดการถอนยาแบบเฉียบพลัน ซึ่งนำไปสู่อาการที่คล้ายกับความเจ็บป่วยทางจิตเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานหลายเดือนถึงหลายปี จึงทำให้การบำบัดเพื่อถอนพิษโคเคนจึงจำเป็นที่จะต้องทำอย่างถูกต้องภายใต้การดูแลของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญภายในสถานบำบัดยาเสพติดกินนอน
 

2. การให้คำปรึกษาและบำบัดรักษาผู้เสพติดโคเคน เป็นขั้นตอนสำหรับการรักษาและบำบัดการติดยาเสพติดด้วยวิธีจิตบำบัดด้วยวิธีการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy – CBT), การบำบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจ (Motivational Interviewing), และครอบครัวบำบัดตามหลักซาเทียร์ (Satir Family Therapy) เพื่อช่วยให้ผู้บำบัดยาเสพติดได้รับกำลังใจจากผู้บำบัดยาเสพติดคนอื่น ๆ ที่มาเข้ารับการบำบัดในศูนย์บำบัดยาเสพติดด้วยกัน และช่วยให้ผู้บำบัดยาเสพติดรู้เท่าทันความคิดและพฤติกรรมของตัวเองมากยิ่งขึ้นจนไม่คิดหวนกลับไปใช้ยาเสพติดอีกครั้ง
 

3. การบำบัดยาเสพติดเพื่อฟื้นฟูกายใจ นอกจากการบำบัดรักษาด้วยวิธีจิตบำบัดแล้ว การบำบัดยาเสพติดเพื่อฟื้นฟูทั้งร่างกายและจิตใจด้วยการทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกสมาธิ การนวดแผนไทย ดนตรีบำบัด การออกกำลังกาย หรือการทำอาหาร เป็นต้น ก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการดี ๆ ที่จะช่วยให้ผู้บำบัดยาเสพติดมีอารมณ์ที่สดชื่นแจ่มใส จิตใจสงบ ผ่อนคลายความเครียด และรู้สึกมีพลังงานด้านบวก รวมถึงมีพลังในการใช้ชีวิตที่เพิ่มมากขึ้น

 

ปัญหาด้านการใช้สารเสพติดถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม โดยศูนย์บำบัดยาเสพติด DAY ONE REHABILITATION CENTER เราเป็นสถานบำบัดยาเสพติดกินนอนที่มีโปรแกรมให้ครอบครัว หรือผู้ที่ต้องการมาเข้ารับการบำบัดยาเสพติดได้เลือกมากมาย ทั้งโปรแกรมการบำบัดแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมต่อความต้องการของผู้บำบัดยาเสพติดแต่ละคนมากที่สุด เพื่อช่วยให้ผู้บำบัดยาเสพติดไม่คิดหันกลับไปใช้สารเสพติดอีกครั้ง

 

ติดต่อเรา
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
064-645-5091
[email protected]
จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

บทความล่าสุด

แก๊สหัวเราะกับความสนุกชั่วคราว
แก๊สหัวเราะคืออะไรและอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อร่างกายและสุขภาพจิต
05 January 2024
วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day)
ความรู้เกี่ยวกับวิธีสังเกตอาการผิดปกติเพื่อช่วยลดความสูญเสียของผู้คนจากการฆ่าตัวตาย
11 September 2023
มารู้จัก กับ “Panic Disorder”
สังเกตอาการและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแพนิค” (Panic Disorder)
15 August 2023
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ มักเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีปัญหาในการรับมือกับความเครียด หรือเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันและส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถปรับตัวหรือทำใจยอมรับได้
21 June 2023
นโยบายเกี่ยวกับกัญชาเสรี
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและยาเสพติดของแต่ละพรรคนั้นมีทิศทางอย่างไรต่อไปถ้าได้เป็นรัฐบาล
21 June 2023
แค่นิสัย หรือ บุคลิกภาพผิดปกติ?
บุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorder) คือ รูปแบบความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม เกิดความไม่ยืดหยุ่นและการปรับตัวไม่ได้ดี ซึ่งอาจฝังในในจิตใจและก่อให้เกิดปัญหา เช่น ด้านการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่น การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปไมได้
21 June 2023
ฝึกทักษะชีวิต เพื่อบำบัดยาเสพติด หรือป้องกันการติดยาเสพติด
ปรับสมดุลใหม่ในชีวิต เพื่อห่างไกลจากสารเสพติดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด Day One
21 June 2023
โรคกลัวสังคม กับการบำบัดยาเสพติด
โรคกลัวสังคมมีส่วนทำให้ติดสารเสพติดตามมาได้ โดยเฉพาะสารเสพติดในกลุ่มสารกดประสาท เช่น แอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับบางชนิด หรือ สารเสพติดกลุ่มฝิ่น เช่น เฮโรอีน เนื่องจากเมื่อผู้ที่เป็นโรคกลัวสังคมใช้สารเหล่านี้แล้ว สารจะไปกดประสาททำให้ความกลัว ความกังวลลดลง
23 January 2023
โรคเสพติดการพนัน
โรคเสพติดการพนัน เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถบังคับตนเอง จะสนใจหมกมุ่นอยู่กับการพนันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อผิดหวังกับผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้มีอาการข้างเคียง เช่น อาการซึมเศร้า ดื่มสุรา และอาจรุนแรงถึงขั้นใช้สารเสพติด หรือจะเป็นปัญหาชีวิตในด้านต่าง ๆ
13 December 2022
กัญชาทางการแพทย์กับกัญชาเพื่อเสพ ต่างกันอย่างไร
ถึงแม้กัญชาทางการแพทย์จะมีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคบางโรค แต่ก็ไม่ได้แนะนำใช้เป็นการรักษาลำดับแรก เพราะว่ามีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่ายาหลัก การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาควรใช้เพื่อเป็นส่วนเสริม หรือควบรวมกับการรักษาตามมาตรฐาน ไม่สามารถเอามาเป็นการรักษาหลักได้
21 November 2022
วิธีเลิกเหล้าและแนวทางการบำบัด
เลิกเหล้าได้สำเร็จ ด้วยวิธีเลิกเหล้าด้วยตนเองและวิธีเลิกเหล้าโดยพบแพทย์
21 June 2022
ทัศนคติผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น
แนวทางการบำบัดยาเสพติดในวัยรุ่น
21 June 2022
จะเกิดอะไรขึ้นหลัง 9 มิ.ย. 2565 กฎหมาย "ปลดล็อก" กัญชง กัญชา ออกจากยาเสพติด
ถึงแม้ทางกฎหมายกัญชาจะถูกปลดออกจากยาเสพติด แต่ความจริงคือกัญชายังคงมีฤทธิ์เป็นสารเสพติดให้โทษ มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลายชนิด โดยเฉพาะ THC ซึ่งส่งผลเสียทำให้ ระดับเชาวน์ปัญญาลดลง (IQ ต่ำลง) สมองฝ่อ เกิดอาการเสพติด เสี่ยงต่อการเกิดโรคจิต โรคไบโพลาร์ โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
10 June 2022
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างบำบัดยาเสพติด
วิธีจัดการกับอาการอยากยา เพื่อได้รับการบำบัดยาเสพติดอย่างถูกต้อง
28 April 2022
ความแตกต่างของการบำบัดรูปแบบชุมชนบำบัด (Therapeutic community) และการบำบัดเฉพาะบุคคล (Individual program)
ชุมชนบำบัด หรือ Therapeutic Community  (T.C.) เป็นการบำบัดรักษาที่จำลองรูปแบบการดำรงชีวิตในสังคม เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดได้ใช้ชีวิตโดยปราศจากสารเสพติด รับผิดชอบหน้าที่ในชีวิตประจำวัน ปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม โดยเริ่มตั้งแต่การปรับพฤติกรรม ความสามารถ แนวความคิด และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจในตัวเอง และเสริมสร้างความมั่นใจ ฝึกฝนสร้างเป็นอุปนิสัยจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้แบบปกติ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด
11 August 2022
ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดการกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำหลังเข้าบำบัดยาเสพติด
ทำความเข้าใจว่าเพราะเหตุใดทำให้หวนกลับไปใช้ยาเสพติด เพื่อลดการเสพติดซ้ำ
29 March 2022
6 แนวคิดดี ๆ เปลี่ยนมุมมองชีวิตใหม่ หลังเข้าบำบัดยาเสพติด
การปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติดแล้ว ให้สามารถลุกขึ้นมาเดินหน้าใหม่
06 March 2022
เทคนิคการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นคนใหม่หลังจากออกจากสถานบำบัดยาเสพติด
การปรับทัศนคติที่มีต่อผู้บำบัดยาเสพติด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมไทย
06 March 2022
การเทรดคริปโทเคอร์เรนซี กับความเสี่ยงในการเสพติดการพนัน
งานวิจัยไม่ได้หมายความว่าการเทรดคริปโต เป็นการพนัน แต่พฤติกรรมของเทรดเดอร์เองต่างหากเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีพฤติกรรมที่เข้าข่ายติดพนันหรือไม่
28 February 2022
ดูแลผู้ต้องการบำบัดยาเสพติดอย่างไรเมื่อมีอาการอยากยา
การเข้าสถานบำบัดยาเสพติดเพื่อรักษาอาการอยากยาได้อย่างถูกต้อง
28 February 2022
ครอบครัวและความล้มเหลวในการบำบัดยาเสพติด
หลายครั้งที่ครอบครัวกลายเป็นผู้ส่งเสริมพฤติกรรมทางอ้อมให้คงใช้สารเสพติด
07 February 2022
ความรุนแรงของสารเสพติดประเภทยาไอซ์ โคเคน
แนะนำวิธีการบำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูผู้ติดยาไอซ์และโคเคน
07 February 2022
พฤติกรรมของผู้ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด
วิธีสังเกตอาการผู้กำลังจะติดยาเสพติด รู้เท่าทันก่อนต้องพึ่งศูนย์บำบัดยาเสพติด
06 January 2022
Day One ได้รับรองมาตรฐานสถานพยาบาลประเภทสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ (สถานบำบัดยาเสพติด)
สถานบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด สถานบำบัดยาเสพติด ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
28 February 2022
ผลกระทบจากวิธีเลิกยาเสพติดด้วยตนเอง
เลิกยาเสพติดด้วยตนเอง อันตรายกว่าที่คุณคิด
23 May 2022
อาการของผู้ติดยาเสพติด ที่ต้องรับการบำบัดยาเสพติด
โปรแกรมการบำบัดยาเสพติดสำหรับบุคคล สำหรับอาการของผู้ติดเสพติดที่หลากหลาย
23 February 2022
เลิกยาเสพติดที่สถานบำบัดยาเสพติด
เข้าบำบัดยาเสพติด 28 วัน โดยทีมแพทย์ เพิ่มโอกาสสำเร็จในการเลิกยาเสพติด
23 February 2022
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้าสถานบำบัดยาเสพติด กับ DAY ONE REHABILITATION CENTER
การสังเกตเมื่อไหร่ที่ครอบครัวควรพาผู้ที่ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดยาเสพติด หากคนในครอบครัวหรือคนที่คุณรักกำลังใช้ยาเสพติดอยู่ คุณควรสังเกตอาการเหล่านั้น และปรึกษา หาทางแก้ไขเพื่อเข้าบำบัดยาเสพติดได้อย่างถูกวิธี
23 February 2022
กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภทต่างๆ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เพื่อควบคุมการใช้ยาเสพติดผิดกฎหมาย
23 February 2022
ปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 ซึ่งจะมีผลวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นการปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้ อย่างไรก็ตามหากมีการนำไปผสมยาเสพติดอื่นๆ เช่น 4x100 เป็นความผิดตามกฎหมาย
23 February 2022
ควรทำอย่างไรเมื่อมีคนในครอบครัวติดยาเสพติด
การปฏิบัติตัวของญาติหรือผู้ใกล้ชิดผู้ติดยาเสพติด เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดเข้าสู่การบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี
23 February 2022
หลัก 12 ขั้นตอน (Twelve steps) วิธีเลิกเหล้า เลิกสุรา วิธีเลิกยาเสพติด
หลักการ 12 ขั้นตอน ริเริ่มมาจาก บุคคล 2 คนที่ติดสุรามาก่อน พวกเขาร่วมมือกันเลิกสุราและก่อตั้ง กลุ่ม AA (alcoholic anonymous) ขึ้น พร้อมกับคิดค้นหลักการ 12 ขั้นตอนไปสู่การเลิกสุรา ต่อมาหลักการนี่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ติดสุราและยาเสพติด และค้นพบว่าสามารถทำให้ไปสู่การเลิกเสพได้อย่างต่อเนื่อง
23 May 2022
ยาเสพติดรอบตัวที่พบบ่อย
ยาเสพติดชนิดธรรมชาติ เป็นสารที่กลั่น หรือ สกัดได้จากพืชบางชนิดโดยตรง เช่น ฝิ่น โคเคน กัญชา รวมทั้งการนำสารจากพืชเหล่านั้นมาปรุงเป็นอย่างอื่น โดยกรรมวิธีทางเคมี เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ซึ่งทำมาจากฝิ่น เป็นต้น
23 February 2022
โรคสมองติดยา สมองติดยาได้อย่างไร
การติดยาเสพติดเป็นกระบวนการต่อเนื่องเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจากการเสพยาเป็นครั้งคราว สู่การเสพที่ถี่ขึ้นจนเสพทุกวันและวันละหลายครั้ง การเสพยาเสพติดเกี่ยวข้องกับสมอง 2 ส่วนคือ สมองส่วนคิด (Cerebral Cortex) และสมองส่วนอยาก (Limbic System)
23 February 2022