หลายคนเกิดความสงสัย เกี่ยวกับพฤติกรรม เช่น ลักขโมย อารมณ์ร้อน ทำร้ายคนอื่น โดยที่คนเหล่านั้นไม่แสดงความรู้สึกสำนึกผิดหรือบางครั้งอาจโกหก และไม่สนใจความรู้ของคนอื่นหรือรอบข้างตนเอง เหมือนที่เราเห็นกันตามข่าวต่างๆ ซึ่งทำให้คนส่วนใหญ่มองคนเหล่านี้เป็นคนนิสัยไม่ดีได้ แต่บางส่วนของคนกลุ่มนี้ มีลักษณะหรือแนวโน้มของโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม หรือที่ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Antisocial Personality Disorder นั้นเอง
ก่อนอื่น มารู้จัก คำว่า “ บุคลิกภาพ (Personality)” เป็นสิ่งที่ทุกคนมี โดยบุคลิกภาพคือ ความรู้สึกนึกคิด การรับรู้ และพฤติกรรม ซึ่งถูหล่อหลอมด้วยปัจจัยหลาอย่าง รวมถึงพันธุกรรม การเลี้ยงดู วัฒนธรรม และประสบการณ์ในชีวิต ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตอบสนอง โต้ตอบกับผู้อื่นหรือต่อสถานการณ์ต่างๆ
ส่วนคำว่า “บุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorder)” คือ ในรูปแบบความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม เกิดความไม่ยืดหยุ่นและการปรับตัวไม่ได้ดี ซึ่งอาจฝังในในจิตใจและก่อให้เกิดปัญหา เช่น ด้านการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่น การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปไมได้ หรือ ความเบี่ยงเบนทางพฤติกรรมอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยที่ผู้ป่วยไม่ได้รู้สึกกังวลต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของตนเอง มักปฏิเสธความช่วยเหลือทางจิตใจ และไม่ยอมรับว่าตนเองมีปัญหา ซึ่งต่างจากผู้ป่วยในกลุ่มโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ดังนั้น ผู้ป่วยในกลุ่มโรคบุคลิกภาพผิดปกติจึงมักไม่เข้ารับการรักษา โรคบุคลิกภาพต่อต้านสังคมเริ่มวินิจฉัยได้เมื่อผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยแพทย์จะประเมินจากข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและสอบถามพฤติกรรม ประวัติผู้ป่วย ประวัติครอบครัวหรือคนใกล้ชิด แพทย์อาจวินิจฉัยว่าเป็นโรคบุคลิกภาพต่อต้านสังคมหากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่ามีพฤติกรรมเกเรคล้ายอันธพาลก่อนอายุ 15 ปี นั้น เป็นพฤติกรรมหรืออาการ ที่อาจเกิดจาก พันธุกรรม การเลี้ยงดู และการทำงานของสมอง รวมถึงปัจจัยภายนอก มีประวัติหรือมีพฤติกรรมผิดปกติที่สังเกตเห็นได้ของโรคบุคลิกภาพต่อต้านสังคมตามเกณฑ์ DSM-5 มักจะแสดงขึ้นในช่วงวัยเด็ก อย่างน้อย 3 อาการก่อนอายุ 15 ปี
• ความผิดปกติทางสมองและสารสื่อประสาท
• มีสมาชิกในครอบครัวมีบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม
• การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมในวัยเด็ก เช่น การถูกละเมิด ทำร้ายร่างกายทอดทิ้ง ความรุนแรงในครอบครัว
• สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น โรงเรียน เพื่อน
คนที่มีบุคลิกภาพต่อต้านสังคมอาจมีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ซึ่งคู่มือการวินิจฉัยโรคทางจิตเวชของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ฉบับที่ 5 (DSM-5) ได้จำแนกเกณฑ์การวินิจฉัยโรคบุคลิกภาพต่อต้านสังคมไว้ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม (ASPD) เป็นภาวะทางสุขภาพจิตที่มีลักษณะเป็นรูปแบบการละเลยและละเมิดสิทธิของผู้อื่นอย่างแพร่หลาย อาการทั่วไปบางอย่างของ ASPD อาจรวมถึง
• การไม่เคารพกฎหมาย >> อาจมีประวัติการทำผิดกฎหมายซ้ำๆ เช่น การขโมย การก่อกวน และการก่ออาชญากรรมอื่นๆ
• ความหุนหันพลันแล่น >> ความหุนหันพลันแล่นเป็นอาการทั่วไปของ ASPD ซึ่งสามารถแสดงออกได้หลายวิธี รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยง การใช้สารเสพติด และความก้าวร้าวหุนหันพลันแล่น ขาดความยั้งคิดยั้งทำได้
• ความหลอกลวง >> อาจโกหก บิดเบือน และหลอกลวงผู้อื่น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือได้รับผลประโยชน์ส่วนตัว เสแสร้งและโกหกหลอกลวง เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนเองต้องการ
• ขาดการเอาใจใส่ >> อาจมีช่วงเวลาที่ยากลำบากในการจดจำหรือใส่ใจความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น ขาดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ และขาดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
• ความหงุดหงิดและความก้าวร้าว >> พฤติกรรมก้าวร้าวและรุนแรง อารมณ์แปรปรวน ฉุนเฉียวง่าย และมีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อคนรอบข้างได้
• ความประมาท >> บุคคลที่เป็นโรค ASPD อาจมีส่วนร่วมในพฤติกรรมที่เป็นอันตรายหรือประมาทเลินเล่อโดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา เช่น การขับรถภายใต้อิทธิพลหรือการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน
• ความไม่รับผิดชอบ >> อาจมีประวัติไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพัน เช่น ข้อผูกพันในการทำงานหรือทางการเงิน
นอกจากนี้ ผู้ที่มีบุคลิกต่อต้านสังคมมักมีปัญหาเกี่ยวกับการดื่มสุราและใช้สารเสพติด หรือมีความผิดปกติทางจิตอื่นร่วมด้วย เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล พฤติกรรมทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น และพฤติกรรมอื่นที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เนื่องจากการใช้ความรุนแรงมากขึ้น
แต่ในกรณีผู้ป่วยที่มีปัญหาการใช้สารเสพติดหรือดื่มสุราอยู่ อาจมีพฤติกรรม ที่แสดงเหมือน ผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ต่อต้านสังคม แต่หากเขาสามารถเลิกหรือหยุดสารเสพติดได้ถาวร บุคลิกภาพ นิสัย อารมณ์ ความคิดก็จะกลับมาดีขึ้น ผู้ป่วยอาจไม่ได้มีปัญหาด้านบุคลิกภาพแบบในช่วงที่มีการใช้สารเสพติด
จิตบำบัดเป็นวิธีรักษาเพื่อแก้ไขปัญหาหรือความผิดปกติทางจิตใจ ประกอบด้วยวิธีบำบัดที่หลากหลาย อาทิ การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (CBT) ซึ่งใช้การพูดคุยให้เข้าใจถึงปัญหาจนนำไปสู่การปรับความคิดและพฤติกรรม การบำบัดโดยให้ผู้ป่วยรับรู้และเข้าใจถึงระดับจิตใจและความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น (Mentalization Based Therapy) การจัดการกับอารมณ์และความโกรธ รวมถึงการบำบัดอาการติดสุราหรือสารเสพติด
ในปัจจุบันยังไม่มียาตัวใดที่ได้รับการรับรองว่าสามารถรักษาโรคบุคลิกภาพต่อต้านสังคมได้ แต่แพทย์อาจจ่ายยาเพื่อช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้ป่วย เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressants) ยารักษาโรควิตกกังวล หรือยาต้านอาการทางจิตกลุ่ม Antipsychotics แบบใหม่ เพื่อรักษาอาการหุนหันพลันแล่นและก้าวร้าว เป็นต้น ในบางกรณี แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยพักในโรงพยาบาลจิตเวชเพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
หากสงสัยว่าคนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดมีอาการของโรคบุคลิกภาพต่อต้านสังคม ควรค่อย ๆ โน้มน้าวผู้ป่วยให้ไปพบจิตแพทย์ เพื่อบำบัดและรักษาด้วยยาที่ถูกต้อง โดยใช้คำพูดที่แสดงความเข้าใจและความห่วงใย เพื่อให้ผู้ป่วยยินยอมเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง อีกทั้งอาจช่วยป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้อื่นจากพฤติกรรมของผู้ป่วย และอาจช่วยให้คุณและครอบครัวได้เรียนรู้วิธีการรับมือและป้องกันตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยมีอาการก้าวร้าวรุนแรงอีกด้วย ที่ DAY ONE ศูนย์บำบัดยาเสพติดเอกชน มีรูปแบบการบำบัดการรักษาที่ยึดแนวการบำบัดแบบองค์รวม เพื่อฟื้นฟูทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม มีการบำบัดด้วยวิธีต่าง ๆ
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
064-645-5091 [email protected]
จันทร์ – อาทิตย์ : 9.00 -17.00