064-645-5091    จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

ทัศนคติผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น

IMG-BLOG
21 June 2022

ทัศนคติผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น

แนวทางการบำบัดยาเสพติดในวัยรุ่น

         ก่อนอื่นจากข้อมูลที่พบ ไทยพบปัญหายาเสพติดมาตลอด โดยสภาพปัญหาได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของโลกในยุคปัจจุบันพบเด็กและเยาวชนเริ่มใช้ยาเสพติดตั้งแต่อายุยังน้อย (จากระบบรายงาน บสต. ของศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามกรมสุขภาพจิต พบว่า ผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดกระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 จำนวน 248,585 คน 263,514 คน 221,744 คน 176,889 คน และ 58,286 คน) ซึ่งพบว่าผู้ติดยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดรักษามากที่สุดมีอายุ 18-24 ปี โดยเริ่มใช้ในช่วงอายุต่ำกว่า 18 ปี การที่พ่อแม่ปรับตัว ให้เหมือนเป็นเพื่อนกับบุตรหลาน ทำความเข้าใจ ใช้เวลาพูดคุย ถามให้คิด และยอมรับฟังอย่างตั้งใจ ด้วยความรัก ความเมตตา พิจารณาพฤติกรรมอย่างมีเหตุผล โดยไม่ว่ากล่าวตำหนิติเตียน เท่ากับเป็นการป้องกันและช่วยแก้ไขปัญหา ก่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว ทำให้บุตรหลานกล้าปรึกษาปัญหา หรือแสดงความคิดเห็น อย่างไม่ปิดบังได้ [อ้างอิงข้อมูล : https://antidrugnew.moph.go.th] ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาช้างต้นจะช่วยให้พ่อแม่ได้รับรู้ปัญหา สามารถหาทางแก้ไขได้อย่างทันท่วงที และยังเป็นการป้องกันการหลงผิดไปใช้ยาเสพติดได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ดังนั้นผู้ปกครองยุคใหม่ต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้สั่งสอน การออกคำสั่ง ห้ามให้ทำ มาเป็นเพื่อนที่รู้และเข้าใจ ยอมรับฟัง เปิดโอกาส ชี้ชวนให้คิด กระตุ้นให้พูดแสดงความคิดเห็น เลือกเรียนรู้อย่างมีเหตุผล และตัดสินใจในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง

 

ทัศนคติผิดๆ ที่ทำให้วัยรุ่นหันไปใช้สารเสพติด

1. วัยรุ่นเป็นวัยที่อยากรู้ อยากลอง หากสิ่งแวดล้อมไม่ดี ก็ส่งผลให้ลองในสิ่งที่ไม่ควรความอยากรู้ อยากลอง มีผลในกระบวนการการตัดสินใจที่จะใช้สารเสพติด ทำให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนซึ่งเป็นวัยอยากเป็นที่ยอมรับของเพื่อน หากเพื่อนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดก็มีโอกาสจะติดด้วยและสังคมรอบข้างที่เป็นการ “กดดัน” ที่ทำให้เกิดใช้สารเสพติด ทั้งขาดความรู้ในผลลัพธ์ของสารเสพติด และการประสบความล้มเหลวในชีวิตก็เป็นสิ่งที่ทำให้ใช้สารเสพติดได้เช่นกัน ความไม่รู้ถึงผลเสียของสารเสพติดแต่ละชนิด

2. คิดว่าการใช้เวลานาน กว่าที่จะติดสารเสพติดมีความเชื่อว่าสารเสพติดแพร่หลายอยู่ในสังคมไทยมีความรุนแรงไม่มากพอที่จะทำให้เกิดการติดสารเสพติดในครั้งแรกของการใช้ ซึ่งเมื่อประกอบกับความประมาท และ หรือความขาดสติของคนใช้ จะทำให้เกิดการใช้ในครั้งที่สอง เมื่อร่างกายเกิดการปรับตัวกับสารกระตุ้นที่เกิดจากการใช้สารเสพติดแล้วนั้น ร่างกายคนเราจะ “ต้องการ” สารกระตุ้นที่สารเสพติดแต่ละชนิดผลิตขึ้นอีกเรื่อยๆ เกิดเป็นกิจวัตรของร่างกายที่ต้องการใช้สารเสพติดเป็นประจำ และเพิ่มปริมาณมากขึ้นจนเกดความชิน

3. ครอบครัวมีส่วนสำคัญมาก หากปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัวไม่ดี จะส่งผลให้เด็กมีปัญหาได้ง่ายและได้พึ่งครอบครัวคือสถาบันทางสังคมที่สำคัญที่สุดในสังคม สาเหตุที่ “ครอบครัว” กลายเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการใช้สารเสพติดได้นั้นยึดโยงกับการที่ครอบครัวคือส่วนสำคัญในการใช้ชีวิต บุคคล ๆ หนึ่งจะสังเกตพฤติกรรมของสมาชิกครอบครัว ไปโดยอัตโนมัติ ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในครอบครัวที่มีผู้ใช้สารเสพติด มักจะมีสาเหตุดังนี้

• บุคคลในครอบครัวติดสารเสพติดอยู่แล้ว จึงเลียนแบบ เข้าถึงได้ง่าย

• ครอบครัวไม่มีความอบอุ่น

• มีการทะเลาะเป็นประจำ

• การหย่าร้างหรือแต่งงานใหม่

• การไม่เข้าใจกันของสมาชิกครอบครัว

• การรักลูกไม่เท่ากัน

• การเปรียบเทียบซึ่งทำให้เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ

• เพื่อรับมือกับแรงกดดันจากที่บ้าน
 

4. วัยรุ่นเป็นวัยที่สมองยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะเรื่องการคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ จึงหลงผิดได้ง่าย
 

5. สื่อปัจจุบันมีความล่อแหลม เช่น การสูบบุหรี่แล้วดูเท่ การดื่มสุรา แล้วดูเข้าสังคมเก่ง เป็นต้น สื่อเหล่านี้ช่วยส่งเสริมด้านบวกให้ยาเสพติด
 

6. คิดว่าการเสพติดมีเพียงยาเสพติด
และแอลกอฮอล์เท่านั้น คนส่วนมากพบเห็นการเสพติดในรูปแบบของ ยาเสพติด และ แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของรูปแบบการเสพติดเท่านั้น แต่รู้หรือไม่ว่ามีการเสพติดอีกหนึ่งรูปแบบ ที่เรียกว่า การเสพติดทางพฤติกรรม ซึ่งผู้เสพติดจะต้องพึ่งพาความรู้สึกของการทำกิจกรรมหรือพฤติกรรมนั้นๆ ไม่สามารถที่จะควบคุมตัวเองให้หยุดได้ เช่น การเสพติดการพนัน การติดเกมส์ นอกจากนี้การพนัน ยังเป็นการเสพติดด้านพฤติกรรมที่พบเห็นได้เยอะ ในปัจจุบัน เช่น ซึ่งคนส่วนมากเล่นเพื่อความบันเทิงหรือเชียร์ทีมโปรดเท่านั้น แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เล่นการพนันจนกลายเป็นผู้เสพติดอยู่ในคนกลุ่มนี้เช่นกัน

7. สารเสพติดทำให้ทำงานหรือเล่นกีฬาได้ดีขึ้น
ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญที่ต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเนื่องจากมีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ควรได้รับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อยาเสพติด และปัจจัยยั่วยุต่างๆ รวมทั้งการเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการกลับไปใช้ซ้ำ ด้านพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดที่น่าเป็นกังวล คือ การใช้ยาเสพติดมากกว่า 1 ชนิดร่วมกันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้การบำบัดรักษามีความยุ่งยาก ซับซ้อนมากขึ้น นอกจากนี้ปัจจุบันยังพบว่าเด็กและเยาวชนมีการนำสารต่างๆ ที่หาได้ง่ายมาผสมกันเพื่อให้ออกฤทธิ์เหมือนสารเสพติด ซึ่งเด็กและเยาวชนมีการทดลองดื่มสารเหล่านี้เนื่องจากมองว่าเกิดจากส่วนผสมของสารที่ไม่เป็นอันตราย โดยที่ไม่ได้คำนึงว่ามีฤทธิ์เสพติด ปัญหาสารเสพติดเป็นปัญหาที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ส่งผลต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสมองโดยเฉพาะในเด็กและเยาวชน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

 

แนวทางการบำบัดยาเสพติดในวัยรุ่น

1. เตรียมความพร้อมผู้ป่วยและญาติ/ผู้ดูแล ซึ่งผู้ป่วยและญาติต้องเข้าใจขั้นตอนการบำบัดรักษาผู้ป่วยเสพติดว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

2. การถอนพิษยา เป็นการรักษาอาการของการที่ร่างกายขึ้นกับยา เพื่อจะได้ หยุดยาได้ สำหรับผู้ที่ติดยานอนหลับ การถอนยาอาจมีอาการมากถึงกับเป็น อันตรายต่อชีวิตได้ เช่นอาการไข้สูง ชัก และช็อก การรักษาจึงต้องอาศัยแพทย์ ซึ่งการบำบัดรักษาผู้ป่วยเสพติดมี 2 รูปแบบ คือ

            1) การรักษาแบบผู้ป่วยนอก เป็นการรักษาที่ไม่ต้องนอนค้างในโรงพยาบาล แพทย์เป็นผู้ให้การรักษาทางยา และทีมสหวิชาชีพจะเป็นผู้ให้การบำบัดทางจิตสังคม แพทย์จะนัดพบตามระยะที่กำหนด ใช้ระยะเวลาการบำบัดใช้เวลานาน 4 เดือน เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีระบบการติดตามหลังการบำบัดรักษานาน 1 ปี เพื่อติดตามพฤติกรรมและป้องกันการเสพติดซ้ำ จากรายงานทางวิชาการพบว่า หากผู้ป่วยเสพติดใช้ยาเสพติดมาไม่นาน ยังไม่มีโรคแทรกซ้อนทางกายและจิต ญาติให้ความร่วมมือในการบำบัดรักษาดี การบำบัดรักษาในรูปแบบนี้จะให้ผลดีเช่นกัน

            2) การบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยใน เป็นการบำบัดรักษาในกรณีที่ผู้ป่วยใช้ยาเสพติดในปริมาณมาก และใช้ยามานาน จนมีอาการแทรกซ้อนไม่ว่าจะเป็นอาการทางกาย หรือทางจิต การบำบัดใช้ระยะเวลา 4 เดือนเช่นกัน เพราะมีหลักฐานทางวิชาการที่เชื่อว่า สมองของผู้เสพติดจะสามารถฟื้นคืนหายได้ เมื่อได้รับการบำบัดฟื้นฟู และไม่ใช้ยาเสพติดนานกว่า 4 เดือนขึ้นไป

3. การปรับปรุงแก้ไขจิตใจ และบุคลิกภาพ เป้าหมายหลักในการรักษาเป็นการปรับปรุงแก้ไขด้านจิตใจ เพื่อให้สามารถหยุดยา ได้ตลอดไป หรือลดปัญหาลง

4. การสร้างเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ผู้ที่ติดยาเสพติดมีบุคลิกภาพที่ไม่ดี การที่จิตใจขึ้นกับยาเสพติด เปลี่ยนเป็น การสร้างสิ่งยึดเหนี่ยว อาจช่วยให้ผลการบำบัดรักษาดีขึ้น

5. การแก้ไขสภาพแวดล้อม การให้การฝึกอาชีพ การจัดหางาน การสังคมสงเคราะห์ อาจช่วยผู้ติดยาบางคนที่ไม่มีงานทำได้ มีความรู้ความสามารถ ในการทำมาหากิน มีรายได้ เมื่อกลับเข้าไปสู่สังคมอีกครั้งหนึ่ง การให้คำปรึกษาหารือแก่พ่อแม่ ผู้ปกครองของ ผู้ที่ติดยาเสพติดให้เข้าใจปัญหา และได้ช่วยกันแก้ไข เพื่อให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น โอกาสที่จะ กลับไปใช้อีกจะได้น้อยลง

6. การรักษาเพื่อลดปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจของการติดยาเสพติด เทคนิค การรักษาแบบต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วมีเป้าหมายที่จะให้ผู้ติดยาเสพติดได้เลิกเสพ และกลับเข้าไปสู่สังคม
[อ้างอิงจาก : การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ไชยยา รัตนพันธ์]

         ซึ่งอย่าง Day One เป็นศูนย์บำบัดยาเสพติด โดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดฟื้นฟูผู้ที่มีปัญหาจาก สารเสพติด แอลกอฮอล์ Day One ที่ได้รับรองมาตรฐานสถานพยาบาลประเภทสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ (สถานบำบัดยาเสพติด) เป็นสถานบำบัดยาเสพติดกินนอนหรือแบบอยู่ประจำ บรรยากาศสไตล์รีสอร์ท จังหวัดนครนายก โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาจะจัดกิจกรรมการบำบัดและโปรแกรมการบำบัดยาเสพติดแบบต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความจำเป็นของผู้บำบัดยาเสพติดแต่ละคน เพื่อสร้างสมดุลใหม่ในชีวิตและฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางร่ายกายและจิตใจ เพื่อพร้อมเริ่มต้นใหม่กับการออกไปใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจและมีความสุข

 

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
064-645-5091
[email protected]
จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

บทความล่าสุด

แก๊สหัวเราะกับความสนุกชั่วคราว
แก๊สหัวเราะคืออะไรและอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อร่างกายและสุขภาพจิต
05 January 2024
วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day)
ความรู้เกี่ยวกับวิธีสังเกตอาการผิดปกติเพื่อช่วยลดความสูญเสียของผู้คนจากการฆ่าตัวตาย
11 September 2023
มารู้จัก กับ “Panic Disorder”
สังเกตอาการและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแพนิค” (Panic Disorder)
15 August 2023
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ มักเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีปัญหาในการรับมือกับความเครียด หรือเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันและส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถปรับตัวหรือทำใจยอมรับได้
21 June 2023
นโยบายเกี่ยวกับกัญชาเสรี
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและยาเสพติดของแต่ละพรรคนั้นมีทิศทางอย่างไรต่อไปถ้าได้เป็นรัฐบาล
21 June 2023
แค่นิสัย หรือ บุคลิกภาพผิดปกติ?
บุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorder) คือ รูปแบบความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม เกิดความไม่ยืดหยุ่นและการปรับตัวไม่ได้ดี ซึ่งอาจฝังในในจิตใจและก่อให้เกิดปัญหา เช่น ด้านการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่น การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปไมได้
21 June 2023
ฝึกทักษะชีวิต เพื่อบำบัดยาเสพติด หรือป้องกันการติดยาเสพติด
ปรับสมดุลใหม่ในชีวิต เพื่อห่างไกลจากสารเสพติดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด Day One
21 June 2023
โรคกลัวสังคม กับการบำบัดยาเสพติด
โรคกลัวสังคมมีส่วนทำให้ติดสารเสพติดตามมาได้ โดยเฉพาะสารเสพติดในกลุ่มสารกดประสาท เช่น แอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับบางชนิด หรือ สารเสพติดกลุ่มฝิ่น เช่น เฮโรอีน เนื่องจากเมื่อผู้ที่เป็นโรคกลัวสังคมใช้สารเหล่านี้แล้ว สารจะไปกดประสาททำให้ความกลัว ความกังวลลดลง
23 January 2023
โรคเสพติดการพนัน
โรคเสพติดการพนัน เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถบังคับตนเอง จะสนใจหมกมุ่นอยู่กับการพนันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อผิดหวังกับผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้มีอาการข้างเคียง เช่น อาการซึมเศร้า ดื่มสุรา และอาจรุนแรงถึงขั้นใช้สารเสพติด หรือจะเป็นปัญหาชีวิตในด้านต่าง ๆ
13 December 2022
กัญชาทางการแพทย์กับกัญชาเพื่อเสพ ต่างกันอย่างไร
ถึงแม้กัญชาทางการแพทย์จะมีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคบางโรค แต่ก็ไม่ได้แนะนำใช้เป็นการรักษาลำดับแรก เพราะว่ามีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่ายาหลัก การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาควรใช้เพื่อเป็นส่วนเสริม หรือควบรวมกับการรักษาตามมาตรฐาน ไม่สามารถเอามาเป็นการรักษาหลักได้
21 November 2022
วิธีเลิกเหล้าและแนวทางการบำบัด
เลิกเหล้าได้สำเร็จ ด้วยวิธีเลิกเหล้าด้วยตนเองและวิธีเลิกเหล้าโดยพบแพทย์
21 June 2022
ทัศนคติผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น
แนวทางการบำบัดยาเสพติดในวัยรุ่น
21 June 2022
จะเกิดอะไรขึ้นหลัง 9 มิ.ย. 2565 กฎหมาย "ปลดล็อก" กัญชง กัญชา ออกจากยาเสพติด
ถึงแม้ทางกฎหมายกัญชาจะถูกปลดออกจากยาเสพติด แต่ความจริงคือกัญชายังคงมีฤทธิ์เป็นสารเสพติดให้โทษ มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลายชนิด โดยเฉพาะ THC ซึ่งส่งผลเสียทำให้ ระดับเชาวน์ปัญญาลดลง (IQ ต่ำลง) สมองฝ่อ เกิดอาการเสพติด เสี่ยงต่อการเกิดโรคจิต โรคไบโพลาร์ โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
10 June 2022
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างบำบัดยาเสพติด
วิธีจัดการกับอาการอยากยา เพื่อได้รับการบำบัดยาเสพติดอย่างถูกต้อง
28 April 2022
ความแตกต่างของการบำบัดรูปแบบชุมชนบำบัด (Therapeutic community) และการบำบัดเฉพาะบุคคล (Individual program)
ชุมชนบำบัด หรือ Therapeutic Community  (T.C.) เป็นการบำบัดรักษาที่จำลองรูปแบบการดำรงชีวิตในสังคม เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดได้ใช้ชีวิตโดยปราศจากสารเสพติด รับผิดชอบหน้าที่ในชีวิตประจำวัน ปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม โดยเริ่มตั้งแต่การปรับพฤติกรรม ความสามารถ แนวความคิด และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจในตัวเอง และเสริมสร้างความมั่นใจ ฝึกฝนสร้างเป็นอุปนิสัยจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้แบบปกติ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด
11 August 2022
ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดการกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำหลังเข้าบำบัดยาเสพติด
ทำความเข้าใจว่าเพราะเหตุใดทำให้หวนกลับไปใช้ยาเสพติด เพื่อลดการเสพติดซ้ำ
29 March 2022
6 แนวคิดดี ๆ เปลี่ยนมุมมองชีวิตใหม่ หลังเข้าบำบัดยาเสพติด
การปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติดแล้ว ให้สามารถลุกขึ้นมาเดินหน้าใหม่
06 March 2022
เทคนิคการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นคนใหม่หลังจากออกจากสถานบำบัดยาเสพติด
การปรับทัศนคติที่มีต่อผู้บำบัดยาเสพติด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมไทย
06 March 2022
การเทรดคริปโทเคอร์เรนซี กับความเสี่ยงในการเสพติดการพนัน
งานวิจัยไม่ได้หมายความว่าการเทรดคริปโต เป็นการพนัน แต่พฤติกรรมของเทรดเดอร์เองต่างหากเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีพฤติกรรมที่เข้าข่ายติดพนันหรือไม่
28 February 2022
ดูแลผู้ต้องการบำบัดยาเสพติดอย่างไรเมื่อมีอาการอยากยา
การเข้าสถานบำบัดยาเสพติดเพื่อรักษาอาการอยากยาได้อย่างถูกต้อง
28 February 2022
ครอบครัวและความล้มเหลวในการบำบัดยาเสพติด
หลายครั้งที่ครอบครัวกลายเป็นผู้ส่งเสริมพฤติกรรมทางอ้อมให้คงใช้สารเสพติด
07 February 2022
ความรุนแรงของสารเสพติดประเภทยาไอซ์ โคเคน
แนะนำวิธีการบำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูผู้ติดยาไอซ์และโคเคน
07 February 2022
พฤติกรรมของผู้ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด
วิธีสังเกตอาการผู้กำลังจะติดยาเสพติด รู้เท่าทันก่อนต้องพึ่งศูนย์บำบัดยาเสพติด
06 January 2022
Day One ได้รับรองมาตรฐานสถานพยาบาลประเภทสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ (สถานบำบัดยาเสพติด)
สถานบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด สถานบำบัดยาเสพติด ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
28 February 2022
ผลกระทบจากวิธีเลิกยาเสพติดด้วยตนเอง
เลิกยาเสพติดด้วยตนเอง อันตรายกว่าที่คุณคิด
23 May 2022
อาการของผู้ติดยาเสพติด ที่ต้องรับการบำบัดยาเสพติด
โปรแกรมการบำบัดยาเสพติดสำหรับบุคคล สำหรับอาการของผู้ติดเสพติดที่หลากหลาย
23 February 2022
เลิกยาเสพติดที่สถานบำบัดยาเสพติด
เข้าบำบัดยาเสพติด 28 วัน โดยทีมแพทย์ เพิ่มโอกาสสำเร็จในการเลิกยาเสพติด
23 February 2022
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้าสถานบำบัดยาเสพติด กับ DAY ONE REHABILITATION CENTER
การสังเกตเมื่อไหร่ที่ครอบครัวควรพาผู้ที่ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดยาเสพติด หากคนในครอบครัวหรือคนที่คุณรักกำลังใช้ยาเสพติดอยู่ คุณควรสังเกตอาการเหล่านั้น และปรึกษา หาทางแก้ไขเพื่อเข้าบำบัดยาเสพติดได้อย่างถูกวิธี
23 February 2022
กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภทต่างๆ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เพื่อควบคุมการใช้ยาเสพติดผิดกฎหมาย
23 February 2022
ปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 ซึ่งจะมีผลวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นการปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้ อย่างไรก็ตามหากมีการนำไปผสมยาเสพติดอื่นๆ เช่น 4x100 เป็นความผิดตามกฎหมาย
23 February 2022
ควรทำอย่างไรเมื่อมีคนในครอบครัวติดยาเสพติด
การปฏิบัติตัวของญาติหรือผู้ใกล้ชิดผู้ติดยาเสพติด เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดเข้าสู่การบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี
23 February 2022
หลัก 12 ขั้นตอน (Twelve steps) วิธีเลิกเหล้า เลิกสุรา วิธีเลิกยาเสพติด
หลักการ 12 ขั้นตอน ริเริ่มมาจาก บุคคล 2 คนที่ติดสุรามาก่อน พวกเขาร่วมมือกันเลิกสุราและก่อตั้ง กลุ่ม AA (alcoholic anonymous) ขึ้น พร้อมกับคิดค้นหลักการ 12 ขั้นตอนไปสู่การเลิกสุรา ต่อมาหลักการนี่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ติดสุราและยาเสพติด และค้นพบว่าสามารถทำให้ไปสู่การเลิกเสพได้อย่างต่อเนื่อง
23 May 2022
ยาเสพติดรอบตัวที่พบบ่อย
ยาเสพติดชนิดธรรมชาติ เป็นสารที่กลั่น หรือ สกัดได้จากพืชบางชนิดโดยตรง เช่น ฝิ่น โคเคน กัญชา รวมทั้งการนำสารจากพืชเหล่านั้นมาปรุงเป็นอย่างอื่น โดยกรรมวิธีทางเคมี เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ซึ่งทำมาจากฝิ่น เป็นต้น
23 February 2022
โรคสมองติดยา สมองติดยาได้อย่างไร
การติดยาเสพติดเป็นกระบวนการต่อเนื่องเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจากการเสพยาเป็นครั้งคราว สู่การเสพที่ถี่ขึ้นจนเสพทุกวันและวันละหลายครั้ง การเสพยาเสพติดเกี่ยวข้องกับสมอง 2 ส่วนคือ สมองส่วนคิด (Cerebral Cortex) และสมองส่วนอยาก (Limbic System)
23 February 2022