เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลงตนเองหลังออกจากสถานบำบัดยาเสพติด ขึ้นอยู่กับสองปัจจัยหลักคือ “ตัวผู้เสพ”และ “สภาพแวดล้อมหรือสังคม” สังคมเองควรที่จะมองผู้ป่วยติดยาเสพติดในมุมมองใหม่ โดยการปรับเปลี่ยนทัศนคติจากเดิมที่เคยมองว่าผู้ป่วยติดยาเสพติดเป็นผู้ร้ายเปลี่ยนเป็นมองว่าพวกเขาเข้าสถานบำบัดยาเสพติดฟื้นฟูสมรรถภาพเรียบร้อยแล้ว พวกเขาสามารถกลับคืนสู่สังคมเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้อย่างมีคุณภาพ สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมได้
การปรับทัศนคติที่มีต่อผู้ป่วยเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมไทย แต่ในปัจจุบันคนในสังคมจำนวนมากที่ยังมองว่าผู้ป่วยติดยาเสพติดเป็นผู้ร้ายในสังคม เป็นบุคคลอันตราย อีกทั้งยังมีสื่อต่าง ๆ เสนอข่าวผู้ป่วยติดยาเสพติดที่มีอาการคลุ้มคลั่ง จับผู้อื่นเป็นตัวประกัน ขี้เกลียด ทำร้ายผู้อื่น ฯลฯ การที่สังคมมองว่าผู้ป่วยติดยาเสพติดเป็นผู้ร้ายนั้นยังส่งผลกระทบกับผู้ป่วยทั้งในด้านกำลังใจ ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูผู้ส่วนใหญ่หมดกำลังใจ และเกิดรอยแผลมากขึ้น หรือถึงขั้นไม่กล้าที่จะกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้ปกติ ดังนั้นการที่จะให้สังคมเกิดการยอมรับมากขึ้น ตัวผู้ป่วยหรือผู้เข้ารับการบำบัดเองต้องมีความตั้งใจและมั่นใจพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ได้
ไม่ใช่เรื่องง่ายจริง ๆ ที่จะเลิกเสพหรือเลิกใช้แฮลกอฮอล์ เพราะการติดยาเสพติดหรือการติดแฮลกอฮอล์ มีความเกี่ยวข้องกับร่างกาย ถึงแม้ว่าผู้เสพอยากเลิกแค่ไหนก็ตาม แต่หากร่างกายยังไม่สามารถหยุดเสพยาดังกล่าวได้ มีโอกาสน้อยที่จะเลิกเสพยาสำเร็จ ผู้ติดยาหลายคนเชื่อว่า พวกเขาสามารถเลิกยาได้ด้วยตนเองแต่น้อยคนนักที่จะทำได้จริง ๆ ดังนั้นคุณควรมองหาใครสักคนที่คุณไว้ใจ อาจเป็นเพื่อนสนิท คนรัก คนในครอบครัว จิตแพทย์ หรือศูนย์บำบัด สถานบำบัดต่าง ๆ เช่น ศูนย์บำบัดยาเสพติด DAY ONE REHAD CANTER เพื่อเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู และเตรียมความพร้อมก่อนออกไปอยู่ในสังคมของตัวเองต่อไป
1. ควรระลึกไว้อยู่เสมอว่า “การติดยาไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นคนไม่ดี”
หากคุณกำลังนั่งคิดถึงวันที่ตกเป็นทาสของยาเสพติดจนทำให้คุณรู้สึกแย่ แนะนำให้รีบพูดคุย หรือปรึกษาใครสักคน เพื่อระบายความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นไม่มีอะไรน่าอาย
การบอกให้คนอื่นรู้ถึงความรู้สึกจะช่วยให้คุณยืนหยัดกับความพยายาม และท้ายสุดคุณก็จะสามารถเลิกยาเสพติดได้อย่างถาวร นอกจากนี้ คนรอบตัวอาจเข้าใจในตัวคุณมากขึ้นด้วยว่า คุณรู้สึกอย่างไร แล้วมีปัญหาอะไรที่ทำให้คุณต้องหันไปพึ่งการเสพยา
2. ค้นหาและตั้งเป้าหมายของชีวิต
ค้นหาและตั้งเป้าหมายของชีวิตในทางที่ดี
เช่น อยากมีอาชีพอะไร อยากประสบความสำเร็จด้านใด แล้วเริ่มเดินตามเส้นทางนั้นอย่างมุ่งมั่น
3. บอกเพื่อน ว่าคุณกำลังพยายามเลิกเสพยา
ซึ่งเพื่อนที่หวังดีกับคุณจริง ๆ จะเข้าใจ และเห็นด้วยกับสิ่งที่คุณทำ รวมทั้งจะสนับสนุนให้คุณเลิกยาเสพติดให้ได้ แต่นั่นก็หมายความว่า คุณจะต้องเลิกคบ/ปฏิเสธกลุ่มเพื่อนที่เสพยา หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมเดิม ๆ
หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ให้เริ่มจากลองใช้คำว่า “คิดดูก่อน” แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นพูด “ไม่” ให้เร็วที่สุด เป็นการป้องกันการถูกชักชวนอีก เนื่องจากการคะยั้นคะยอของผู้ชวนอาจทำให้คุณเริ่มหาข้ออ้างให้กับตัวเองเพื่อทำตามการชักชวน และเข้ากลุ่มเพื่อนใหม่ที่สนับสนุนช่วยเหลือ และเห็นอกเห็นใจคุณอย่างแท้จริง
การปฏิเสธและหาทางออกโดยเลือกวิธีต่อไปนี้
• ปฏิเสธซ้ำโดยไม่พูดข้ออ้าง พร้อมบอกลา และหาทางเลี่ยงออกจากเหตุการณ์
• ใช้การต่อรอง อาจทำโดยการชวนให้ทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ดีแทน
• ขอผัดผ่อนก่อน เป็นการยืดระยะเวลาออกไป เพื่อให้ผู้ชวนเปลี่ยนความตั้งใจ
4. หลีกเลี่ยงการไปอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการเสพยา
ไม่นำพาตัวเองไปในพื้นที่เสี่ยง การนัดดื่มสังสรรค์ หรือการจัดงานปาร์ตี้ช่วงกลางคืนมักเป็นสถานการณ์ที่มีการเสพยาเกิดขึ้นบ่อย โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น หากคุณอยู่ระหว่างการเลิกยาเสพติด ให้หลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปอยู่ในสถานการณ์เหล่านี้
เนื่องจากมันเสี่ยงที่คุณจะถูกชักชวน หรืออาจถูกบังคับให้เสพยาอีกครั้ง หากจำเป็นต้องไปร่วมงานจริง ๆ ให้แจ้งพ่อแม่ หรือคนใกล้ชิดให้รับทราบไว้ หากเมื่อคุณต้องการความช่วยเหลือจะได้มีคนพาคุณออกไปจากสถานการณ์ดังกล่าวทันที
5. รู้จักยับยั้งชั่งใจ
รู้จักการคิด วิเคราะห์ ยับยั้งชั่งใจ ระมัดระวัง ไม่หลงเชื่อคำโฆษณา หรือคำแนะนำใด ๆ ที่ชักชวนให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรืออบายมุขต่าง ๆ ฝึกแก้ปัญหา มีสติ ไม่ตื่นตระหนก ฝึกจัดการกับอารมณ์
6. มีทัศนคติที่ดี
มีทัศนคติที่ดี มองโลกในด้านบวก กำจัดความคิดด้านลบ ที่มาบั่นทอนความพยายาม และความมุ่งมั่นในใจของเรา
7. การใช้เวลาว่างให้ประโยชน์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด
หากิจกรรมที่เราสนใจ มีความชอบ หรือมีความถนัด แล้วลงมือทำ ไม่ปล่อยเวลาว่างให้เปล่าประโยชน์ ที่สำคัญต้องเป็นกิจกรรมที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดหรืออบายมุขต่าง ๆ
หากคุณมีความคิดที่จะกลับไปใช้สารเสพติดอีกครั้ง แนะนำให้ทบทวนตรึกตรองให้ดีว่า "ทำไมคุณถึงต้องกลับไปใช้ยาอีกครั้ง" ให้ตระหนักถึงช่วงเวลาที่คุณเลิกยาว่า "มันยากเย็นและทรมานเพียงใด" และยังสามารถนำเทคนิค หรือสิ่งที่คุณได้เรียนรู้ ฝึกฝนจากสถานบำบัด มาปรับประยุกต์ร่วมกันได้ และอย่าอายที่จะขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง
ทาง Day one rehab center ศูนย์บำบัดยาเสพติด สถานบำบัดยาเสพติด เป็นสถานบำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับผู้ที่มีปัญหาจาก แอลกอฮอล์ สารเสพติด และการพนัน มองว่าทุกคนมีคุณค่าและความสามารถในตนเอง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น มีการแทรกกิจกรรมบำบัดต่าง ๆ รวมถึงการปรับความคิดและพฤติกรรม หรือการใช้ชีวิตปรับตัวเข้าสังคมหลังจากการฟื้นฟู
ที่มา : https://hd.co.th/dealing-with-addiction-drugs
: คู่มือ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบควบคุมตัว (กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด)
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
064-645-5091
[email protected]
จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00