064-645-5091    จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

ภาวะการปรับตัวผิดปกติ

IMG-BLOG
12 August 2024

ภาวะการปรับตัวผิดปกติ

ความผิดปกติของการปรับตัวเป็นภาวะที่เกิดจากสุขภาพทางจิต

คุณหรือคนรอบข้างของคุณเคยเจอกับเหตุการณ์ที่กดดัน เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบกะทันหัน ปรับตัวได้ยากกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหรือไม่ จนบางครั้งเริ่มจัดการอารมณ์ต่าง ๆ ไม่ได้ แสดงพฤติกรรมที่แปลกไป เช่น วิตกกังวลมากขึ้น เศร้า หงุดหงิด หรือก้าวร้าวไม่เหมาะสม ส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้ชีวิตประจำวันลดลง


เราลองมาทำความรู้จักกับ “ภาวะการปรับตัวผิดปกติ” กันเถอะ

Adjustment Disorder หรือที่เรียกว่า “ความเครียดที่ผิดปกติ หรือภาวะการปรับตัวผิดปกติ” เกิดจากความผิดปกติของการปรับตัวเป็นภาวะที่เกิดจากสุขภาพทางจิตที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนที่มีปัญหา ในการรับมือกับความเครียดหรือเหตุการณ์ที่มากระทบจิตใจหรือมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมักจะทำใจ ยอมรับ หรือปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ดังกล่าวไม่ได้ ร่างกายและจิตใจตอบสนองต่อสถานการณ์นั้น ๆ ในแง่ลบ จนอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพทางจิตได้

หากปัญหาหรือประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้ผิดหวัง เศร้า เสียใจ แต่ก็ยังสามารถกลับสู่สภาวะปกติได้ จัดการกับอารมณ์ความรู้สึกได้ โดยใช้เวลาไม่นาน หากได้รับกำลังใจจากคนรอบข้าง หรือให้กำลังใจตนเอง แต่ถ้าอารมณ์เศร้ายังอยู่นานเกือบตลอดเวลาไม่หายไป และส่งผลต่อสุขภาพร่างกายให้มีอาการต่างๆ ที่หาสาเหตุไม่ได้ ซึ่งต้องรู้วิธีการจัดการความเครียดและบริหารสุขภาพจิตให้เข้มแข็งและรับมือกับสถานการณ์ที่เลวร้ายต่างๆ ได้ตลอดเวลา แล้วความเครียดผิดปกติคืออะไร?


สาเหตุของความเครียดผิดปกติ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แบ่งเป็นดังนี้

•  ปัจจัยภายในที่เกิดจากการเจ็บป่วย พัฒนาการ ทัศนคติ บุคลิกภาพ สารเคมีในสมองไม่สมดุลทำให้เครียด วิตกกังวล และเศร้า รวมถึงสุขภาพจิตของแต่ละคน และการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก
•  ปัจจัยภายนอกมักเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อมและสังคมรอบตัว เช่น 

การงาน/การเรียน: มีปัญหากับเจ้านาย ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน ถูกกลั่นแกล้ง ภาระงาน ความเครียดในที่ทำงาน ความกดดันในงานที่ได้ รีบแข่งกับเวลา เป็นต้น

ความสัมพันธ์: ปัญหากับทางบ้านครอบครัว แฟน หรือเพื่อน เกิดความเครียดสะสมทำให้ความอดทนต่อแรงกดดันลดลง ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ เกิดความขัดแย้งหรือใช้กำลังแก้ไขปัญหา นำไปสู่ปัญหาความแตกแยกในครอบครัว มีความเสี่ยงต่อโรควิตกกังวล ซึมเศร้า ติดสุรา สารเสพติด มีปัญหาทางอารมณ์และบุคลิกภาพ

สุขภาพ: การเจ็บป่วยบางอย่างในร่างกาย เช่น ท้องเสีย ไม่สบาย ปวดหัว โรคประจำตัว หรือโรคร้ายแรง การนอนเปลี่ยนแปลง นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท อารมณ์หงุดหงิดหรือซึมเศร้าเป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงในชีวิต: การสูญเสียในชีวิต มีคนในบ้านเจ็บป่วย ต้องออกจากงาน เปลี่ยนงาน 

สิ่งที่คาดการไม่ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหรือไม่สามารถควบคุมจัดการได้ สิ่งเหล่านี้ที่กล่าวมา ทำให้เกิดความเครียดได้เป็นลักษณะของอาการจากทางอารมณ์และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายใน 3 เดือนของเหตุการณ์และยังอยู่ไม่เกิน 6 เดือนหลังจากสามารถจัดการความเครียดออกไปได้ อยู่ในกลุ่มโรคทางจิตเวชที่สามารถหายเป็นปกติได้


ผลกระทบจากความเครียด

• ร่างกาย อาการเจ็บป่วยทางกายที่เกิดจากความเครียดที่เรารู้จักกันดี เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน โรคกระเพาะ ใจสั่น มือสั่น หายใจไม่เต็มอิ่ม เหงื่อออก มือเย็นเท้าเย็น ประจำเดือนมาไม่ปกติ ผื่นคัน ปวดกล้ามเนื้อ โรคหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองแตกเป็นอัมพาต การทำงานระบบภูมิต้านทานของร่างกายลด นอกจากนี้ยังส่งผลให้ภาวะความเครียดสะสมเป็นระยะเวลายาวนานมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา

• จิตใจและอารมณ์ เมื่อเกิดความเครียด อารมณ์จะแปรปรวนและไม่คงที่ อาจมีอารมณ์ร้ายมากขึ้น หรือมีอาการซึมเศร้าที่เห็นได้ชัด โดยสังเกตผลกระทบทางอารมณ์ หรืออาการที่เกิดขึ้นได้ เช่น หมกมุ่น ครุ่นคิด วิตกกังวล หดหู่ ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย กระสับกระส่าย รู้สึกไม่ปลอดภัย คิดวนเวียน หวาดระแวง สิ้นหวัง ขาดความภูมิใจในตนเอง ไม่สนใจสิ่งรอบตัว ใจลอย ขาดสมาธิ ตื่นเต้น

• พฤติกรรม มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ร้องไห้ง่าย ไม่อยากทำอะไร ขาดความอดทน เบื่อง่าย ประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลง มีเรื่องขัดแย้งกับผู้อื่นเสมอ เริ่มปลีกตัวจากสังคม ไม่ดูแลตัวเอง ก้าวร้าว เกเร อารมณ์รุนแรง มีคนจำนวนมากใช้วิธีแก้ปัญหาความเครียดด้วยการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ใช้ยานอนหลับ หรือใช้สารเสพติด ซึ่งอาจช่วยคลายเครียดได้ไม่นาน และส่งผลกระทบกับสุขภาพ บางคนอาจเกิดอาการหลงผิดและตัดสินใจแบบชั่ววูบนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด

 

แนวทางการป้องกันภาวการณ์ปรับตัวผิดปกติ

สามารถที่จะเรียนรู้การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ช่วยให้เผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ส่งผลให้เกิดความเครียดได้ด้วยตนเอง เช่น มองโลกในแง่ดี มีความยืดหยุ่นทางจิตใจเพื่อรับมือกับความเครียด เคารพและเห็นคุณค่าในตนเอง หรือสามารถปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อช่วยในการรักษาสภาพจิตใจ เป็นต้น

ทั้งนี้ การเกิดภาวะการปรับตัวผิดปกติ อาจเป็นภาวะหนึ่งที่คุณเองก็อาจคาดไม่ถึง หากคุณพบว่าคนใกล้ตัวของคุณกำลังมีพฤติกรรมตามที่กล่าวมา รวมถึงมีพฤติกรรมที่ผิดต่อกฎหมาย อาทิ การใช้ยานอนหลับเกินขนาดโดยไม่ได้ถูกสั่งจ่ายจากแพทย์ หรือใช้สารเสพติดก็อาจส่งผลทำให้สถานการณ์ทุกอย่างแย่ลง แต่ทุกสถานการณ์สามารถแก้ไขได้ หากคุณมีผู้แนะนำที่เชี่ยวชาญที่สามารถช่วยเหลือและให้ความรู้กับคุณได้ 

Day One ศูนย์ช่วยเหลือบำบัดฟื้นฟูผู้ที่มีปัญหาติดยาเสพติด ติดแอลกอฮอล์ หรือผู้มีภาวะการปรับตัวผิดปกติที่ส่งผลทำให้ติดยาเสพติด โดยทางศูนย์บำบัดยาเสพติดของเรามีผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดฟื้นฟูโดยเฉพาะ ภายในศูนย์มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้นเพื่อทำให้ผู้ติดสารเสพติดมีสภาวะทางอารมณ์และสภาพจิตใจที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีการช่วยผู้เข้ารับการบำบัดสารเสพติดในการพัฒนาทักษะการเข้าสังคม และทักษะการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น เพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติและมีประสิทธิภาพ

 

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
064-645-5091 [email protected]
จันทร์ – อาทิตย์ : 9.00 -17.00

บทความล่าสุด

10 สาเหตุหลักที่ทำให้เลิกสารเสพติดไม่สำเร็จ
แนะนำวิธีเลิกยาเสพติดอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อชีวิตใหม่ที่ปลอดภัยและมีความสุข
12 August 2024
อายาวัสกา สารเปิดจิต ที่เสพติดได้
อายาวัสกา เป็นสารที่มีฤทธิ์ทางจิตประสาท ส่งผลข้างเคียงทั้งทางร่างกายและจิตใจ หากพบหรือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสารนี้ ควรได้รับการตรวจประเมิน ปรึกษา หรือรับการบำบัดจากศูนย์บำบัดยาเสพติด
12 August 2024
Ketamine จากยาสลบม้า มาเป็นการ "ดมเค"
เคตามีนยาเสพติดที่ส่งผลร้ายแรงต่อร่างกายและจิตใจ ผู้เสพควรปรึกษาจิตแพทย์หรือรับการรักษาที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด เพื่อรับยาที่ช่วยลดความอยากยาเสพติด ยาปรับอารมณ์ ทำให้การเลิกเคตามีนง่ายขึ้น
12 August 2024
พลังแห่งดนตรี ดนตรีบำบัดสำหรับผู้ติดยาเสพติด
ดนตรีบำบัด เครื่องมือในการฟื้นฟูผู้ป่วยติดสารเสพติด โดย ศูนย์บำบัดยาเสพติด
12 August 2024
แก๊สหัวเราะกับความสนุกชั่วคราว
แก๊สหัวเราะคืออะไรและอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อร่างกายและสุขภาพจิต
12 August 2024
วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day)
ความรู้เกี่ยวกับวิธีสังเกตอาการผิดปกติเพื่อช่วยลดความสูญเสียของผู้คนจากการฆ่าตัวตาย
12 August 2024
มารู้จัก กับ “Panic Disorder”
สังเกตอาการและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแพนิค” (Panic Disorder)
12 August 2024
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ มักเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีปัญหาในการรับมือกับความเครียด หรือเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันและส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถปรับตัวหรือทำใจยอมรับได้
12 August 2024
นโยบายเกี่ยวกับกัญชาเสรี
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและยาเสพติดของแต่ละพรรคนั้นมีทิศทางอย่างไรต่อไปถ้าได้เป็นรัฐบาล
12 August 2024
แค่นิสัย หรือ บุคลิกภาพผิดปกติ?
บุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorder) คือ รูปแบบความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม เกิดความไม่ยืดหยุ่นและการปรับตัวไม่ได้ดี ซึ่งอาจฝังในในจิตใจและก่อให้เกิดปัญหา เช่น ด้านการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่น การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปไมได้
12 August 2024
ฝึกทักษะชีวิต เพื่อบำบัดยาเสพติด หรือป้องกันการติดยาเสพติด
ปรับสมดุลใหม่ในชีวิต เพื่อห่างไกลจากสารเสพติดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด Day One
12 August 2024
โรคกลัวสังคม กับการบำบัดยาเสพติด
โรคกลัวสังคมมีส่วนทำให้ติดสารเสพติดตามมาได้ โดยเฉพาะสารเสพติดในกลุ่มสารกดประสาท เช่น แอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับบางชนิด หรือ สารเสพติดกลุ่มฝิ่น เช่น เฮโรอีน เนื่องจากเมื่อผู้ที่เป็นโรคกลัวสังคมใช้สารเหล่านี้แล้ว สารจะไปกดประสาททำให้ความกลัว ความกังวลลดลง
12 August 2024
โรคเสพติดการพนัน
โรคเสพติดการพนัน เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถบังคับตนเอง จะสนใจหมกมุ่นอยู่กับการพนันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อผิดหวังกับผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้มีอาการข้างเคียง เช่น อาการซึมเศร้า ดื่มสุรา และอาจรุนแรงถึงขั้นใช้สารเสพติด หรือจะเป็นปัญหาชีวิตในด้านต่าง ๆ
12 August 2024
กัญชาทางการแพทย์กับกัญชาเพื่อเสพ ต่างกันอย่างไร
ถึงแม้กัญชาทางการแพทย์จะมีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคบางโรค แต่ก็ไม่ได้แนะนำใช้เป็นการรักษาลำดับแรก เพราะว่ามีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่ายาหลัก การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาควรใช้เพื่อเป็นส่วนเสริม หรือควบรวมกับการรักษาตามมาตรฐาน ไม่สามารถเอามาเป็นการรักษาหลักได้
12 August 2024
วิธีเลิกเหล้าและแนวทางการบำบัด
เลิกเหล้าได้สำเร็จ ด้วยวิธีเลิกเหล้าด้วยตนเองและวิธีเลิกเหล้าโดยพบแพทย์
12 August 2024
ทัศนคติผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น
แนวทางการบำบัดยาเสพติดในวัยรุ่น
12 August 2024
จะเกิดอะไรขึ้นหลัง 9 มิ.ย. 2565 กฎหมาย "ปลดล็อก" กัญชง กัญชา ออกจากยาเสพติด
ถึงแม้ทางกฎหมายกัญชาจะถูกปลดออกจากยาเสพติด แต่ความจริงคือกัญชายังคงมีฤทธิ์เป็นสารเสพติดให้โทษ มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลายชนิด โดยเฉพาะ THC ซึ่งส่งผลเสียทำให้ ระดับเชาวน์ปัญญาลดลง (IQ ต่ำลง) สมองฝ่อ เกิดอาการเสพติด เสี่ยงต่อการเกิดโรคจิต โรคไบโพลาร์ โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
12 August 2024
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างบำบัดยาเสพติด
วิธีจัดการกับอาการอยากยา เพื่อได้รับการบำบัดยาเสพติดอย่างถูกต้อง
12 August 2024
ความแตกต่างของการบำบัดรูปแบบชุมชนบำบัด (Therapeutic community) และการบำบัดเฉพาะบุคคล (Individual program)
ชุมชนบำบัด หรือ Therapeutic Community  (T.C.) เป็นการบำบัดรักษาที่จำลองรูปแบบการดำรงชีวิตในสังคม เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดได้ใช้ชีวิตโดยปราศจากสารเสพติด รับผิดชอบหน้าที่ในชีวิตประจำวัน ปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม โดยเริ่มตั้งแต่การปรับพฤติกรรม ความสามารถ แนวความคิด และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจในตัวเอง และเสริมสร้างความมั่นใจ ฝึกฝนสร้างเป็นอุปนิสัยจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้แบบปกติ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด
12 August 2024
ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดการกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำหลังเข้าบำบัดยาเสพติด
ทำความเข้าใจว่าเพราะเหตุใดทำให้หวนกลับไปใช้ยาเสพติด เพื่อลดการเสพติดซ้ำ
12 August 2024
6 แนวคิดดี ๆ เปลี่ยนมุมมองชีวิตใหม่ หลังเข้าบำบัดยาเสพติด
การปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติดแล้ว ให้สามารถลุกขึ้นมาเดินหน้าใหม่
12 August 2024
เทคนิคการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นคนใหม่หลังจากออกจากสถานบำบัดยาเสพติด
การปรับทัศนคติที่มีต่อผู้บำบัดยาเสพติด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมไทย
12 August 2024
การเทรดคริปโทเคอร์เรนซี กับความเสี่ยงในการเสพติดการพนัน
งานวิจัยไม่ได้หมายความว่าการเทรดคริปโต เป็นการพนัน แต่พฤติกรรมของเทรดเดอร์เองต่างหากเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีพฤติกรรมที่เข้าข่ายติดพนันหรือไม่
12 August 2024
ดูแลผู้ต้องการบำบัดยาเสพติดอย่างไรเมื่อมีอาการอยากยา
การเข้าสถานบำบัดยาเสพติดเพื่อรักษาอาการอยากยาได้อย่างถูกต้อง
12 August 2024
ครอบครัวและความล้มเหลวในการบำบัดยาเสพติด
หลายครั้งที่ครอบครัวกลายเป็นผู้ส่งเสริมพฤติกรรมทางอ้อมให้คงใช้สารเสพติด
12 August 2024
ความรุนแรงของสารเสพติดประเภทยาไอซ์ โคเคน
แนะนำวิธีการบำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูผู้ติดยาไอซ์และโคเคน
12 August 2024
พฤติกรรมของผู้ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด
วิธีสังเกตอาการผู้กำลังจะติดยาเสพติด รู้เท่าทันก่อนต้องพึ่งศูนย์บำบัดยาเสพติด
12 August 2024
Day One ได้รับรองมาตรฐานสถานพยาบาลประเภทสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ (สถานบำบัดยาเสพติด)
สถานบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด สถานบำบัดยาเสพติด ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
12 August 2024
ผลกระทบจากวิธีเลิกยาเสพติดด้วยตนเอง
เลิกยาเสพติดด้วยตนเอง อันตรายกว่าที่คุณคิด
12 August 2024
อาการของผู้ติดยาเสพติด ที่ต้องรับการบำบัดยาเสพติด
โปรแกรมการบำบัดยาเสพติดสำหรับบุคคล สำหรับอาการของผู้ติดเสพติดที่หลากหลาย
12 August 2024
เลิกยาเสพติดที่สถานบำบัดยาเสพติด
เข้าบำบัดยาเสพติด 28 วัน โดยทีมแพทย์ เพิ่มโอกาสสำเร็จในการเลิกยาเสพติด
12 August 2024
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้าสถานบำบัดยาเสพติด กับ DAY ONE REHABILITATION CENTER
การสังเกตเมื่อไหร่ที่ครอบครัวควรพาผู้ที่ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดยาเสพติด หากคนในครอบครัวหรือคนที่คุณรักกำลังใช้ยาเสพติดอยู่ คุณควรสังเกตอาการเหล่านั้น และปรึกษา หาทางแก้ไขเพื่อเข้าบำบัดยาเสพติดได้อย่างถูกวิธี
12 August 2024
กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภทต่างๆ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เพื่อควบคุมการใช้ยาเสพติดผิดกฎหมาย
12 August 2024
ปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 ซึ่งจะมีผลวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นการปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้ อย่างไรก็ตามหากมีการนำไปผสมยาเสพติดอื่นๆ เช่น 4x100 เป็นความผิดตามกฎหมาย
12 August 2024
ควรทำอย่างไรเมื่อมีคนในครอบครัวติดยาเสพติด
การปฏิบัติตัวของญาติหรือผู้ใกล้ชิดผู้ติดยาเสพติด เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดเข้าสู่การบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี
12 August 2024
หลัก 12 ขั้นตอน (Twelve steps) วิธีเลิกเหล้า เลิกสุรา วิธีเลิกยาเสพติด
หลักการ 12 ขั้นตอน ริเริ่มมาจาก บุคคล 2 คนที่ติดสุรามาก่อน พวกเขาร่วมมือกันเลิกสุราและก่อตั้ง กลุ่ม AA (alcoholic anonymous) ขึ้น พร้อมกับคิดค้นหลักการ 12 ขั้นตอนไปสู่การเลิกสุรา ต่อมาหลักการนี่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ติดสุราและยาเสพติด และค้นพบว่าสามารถทำให้ไปสู่การเลิกเสพได้อย่างต่อเนื่อง
12 August 2024
ยาเสพติดรอบตัวที่พบบ่อย
ยาเสพติดชนิดธรรมชาติ เป็นสารที่กลั่น หรือ สกัดได้จากพืชบางชนิดโดยตรง เช่น ฝิ่น โคเคน กัญชา รวมทั้งการนำสารจากพืชเหล่านั้นมาปรุงเป็นอย่างอื่น โดยกรรมวิธีทางเคมี เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ซึ่งทำมาจากฝิ่น เป็นต้น
12 August 2024
โรคสมองติดยา สมองติดยาได้อย่างไร
การติดยาเสพติดเป็นกระบวนการต่อเนื่องเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจากการเสพยาเป็นครั้งคราว สู่การเสพที่ถี่ขึ้นจนเสพทุกวันและวันละหลายครั้ง การเสพยาเสพติดเกี่ยวข้องกับสมอง 2 ส่วนคือ สมองส่วนคิด (Cerebral Cortex) และสมองส่วนอยาก (Limbic System)
12 August 2024