สมองมี 2 ส่วนหลัก คือ สมองส่วนคิดทำหน้าที่คิดและตัดสินใจด้วยสติปัญญาแบบมีเหตุผล และสมองส่วนอยากเป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม ยาเสพติดจะกระตุ้นปลายประสาทในสมองให้หลั่งสารเคมีสมองออกมาจำนวนมาก สารเคมีสมองดังกล่าวจะไปกระตุ้นศูนย์ความสุขทำให้เกิดความรู้สึกเป็นสุขขึ้น เมื่อใช้ยาเสพติดบ่อย ๆ ครั้ง การทำงานของสมองจะเปลี่ยนแปลงไป การใช้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลจะสูญเสียไปและถูกควบคุมด้วยสมองส่วนอยากแทน ผู้ที่ใช้ยาเสพติดจึงมักแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมมีอารมณ์ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ จึงทำให้มีการเสพยาเสพติดบ่อยขึ้น เมื่อเสพยาเสพติดบ่อยขึ้น ยาเสพติดจะทำลายเซลล์สมองบางส่วน และทำให้สารเคมีสมองมีปริมาณลดน้อยลง ทำให้ความสามารถในการคิดและการจำลดน้อยลง และมีผลทำให้มีอาการทางจิตและเกิดโรคจิตในที่สุด
สมองมีโอกาสฟื้นตัวได้เมื่อหยุดเสพยาเสพติดหากสมองยังไม่ถูกทำลายอย่างถาวร การหยุดเสพยาเสพติดจะทำให้เกิดอาการขาดยาและอาการอยากยา เป็นเหตุให้ผู้ติดยาต้องหวนกลับไปเสพยาอีก จำเป็นที่ผู้ใกล้ชิดต้องให้ความช่วยเหลือและนำผู้ติดยาเข้าสู่กระบวนการบำบัดยาเสพติด เพื่อให้ผู้ติดยาสามารถเลิกยาได้อย่างถาวร
กระบวนการบำบัดยาเสพติดรักษารูปแบบจิต-สังคมบำบัด จะสอนเทคนิคต่าง ๆ ให้ผู้เลิกยาปรับเปลี่ยนความคิด อารมณ์และพฤติกรรม และสามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องพึ่งพายาเสพติดได้อย่างถาวร
จากการทดลองที่นักวิทยาศาสตร์ให้อาหารสุนัขพร้อมกับสั่นกระดิ่งในเวลาเดียวกัน สุนัขได้เห็นและได้กลิ่นอาหารซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นสมองส่วนอยาก (ระบบประสาทอัตโนมัติ) ให้มีการหลั่งน้ำลายและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารเพื่อเตรียมการย่อยอาหาร ทำการทดลองเช่นนี้ระยะหนึ่ง จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองสั่นกระดิ่งโดยที่ไม่มีอาหาร สุนัขยังคงมีการหลั่งน้ำลายและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารออกมาเหมือนตอนให้อาหาร จะเห็นว่าสุนัขได้เชื่อมโยงเสียงกระดิ่งซึ่งเป็นตัวกระตุ้นพร้อมกับการคาดหวังว่าจะได้รับอาหาร
สมองของผู้ติดยาเสพติดก็เช่นเดียวกัน จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นที่ถูกวางเงื่อนไขทำให้เกิดความอยากยาเสพติดจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมองโดยทำให้เกิดความสุขขณะที่เสพยา และสมองจะบันทึกสิ่งที่พบเห็นขณะนั้นไว้เมื่อเวลาผ่านไป สมองจะตอบสนองต่อสิ่งที่เคยพบเห็นราวกับว่ากำลังจะได้เสพยา เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า “ ตัวกระตุ้น “ เมื่อผู้ติดยาเผชิญกับตัวกระตุ้นก็จะทำให้เกิดความอยากยา จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์หนทางเดียวที่สุนัขจะหลีกเลี่ยงความอยากอาหาร (หลั่งน้ำลาย) คือการหนีจากเสียงกระดิ่ง ผู้ติดยาก็เช่นเดียวกัน หากไม่อยากเกิดความอยากยา จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงจากตัวกระตุ้นทุกประเภท
Ref: U.S. National Institute on Drug Abuse (NIDA)
ฤทธิ์ของยาเสพติดมีผลต่อสมองโดยตรง โดยเฉพาะยาบ้าจะออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางเมื่อเสพยาบ้าต่อเนื่องสักระยะหนึ่ง สารสื่อเคมีสมองจะเปลี่ยนแปลงและเกิดความผิดปกติของเซลล์สมอง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลทำให้ผู้เสพมีอาการผิดปกติทางอารมณ์ และพฤติกรรม รวมทั้งทำให้ความสามารถของสมองทั้งด้านความจำและความคิดแย่ลง เมื่อมีการเสพยาเพิ่มขึ้นอีก ผู้เสพยาจะเริ่มมีอาการทางจิตได้แก่ หูแว่ว หรือมีความรู้สึกว่ามีแมลงไต่ตามผิวหนัง หากผู้เสพยังไม่เลิกเสพ อาจจะก่อให้เกิดโรคจิตตามมาในที่สุด
ภาพถ่ายรังสีคอมพิวเตอร์ ( PET Scan ) ของสมองในระยะต่าง ๆ แสดงให้เห็นชัดว่า สมองมีพยาธิสภาพเกิดขึ้นในช่วงระยะต่าง ๆ ตั้งแต่ระยะเสพยาจนกระทั่งถึงระยะติดยา พยาธิสภาพดังกล่าวจะหายไปถ้าผู้ติดยาได้รับการบำบัดรักษาถูกวิธี
Ref: U.S. National Institute on Drug Abuse (NIDA)
ภาพถ่ายรังสีคอมพิวเตอร์ 3 มิติที่แสดงให้เห็นผิวสมองด้านนอก ( Cerebral Cortex ) เปรียบเทียบระหว่างสมองคนปกติ สมองผู้ติดยาระยะต้น และสมองผู้ติดยาระยะปลาย
ผิวสมองที่มีลักษณะขรุขระในผู้ติดยาระยะต้นและระยะปลาย แสดงให้เห็นถึงการทำงานน้อยลงของเซลล์สมองซึ่งเกิดเนื่องมาจากฤทธิ์ของยาเสพติดต่อเซลล์สมองโดยตรง ยิ่งระยะของการติดยานานขึ้น การทำงานของสมองยิ่งน้อยลง
การทำงานของสมองด้านนอกน้อยลง มีผลให้ความสามารถด้านความจำ ความนึกคิด การตัดสินใจ และการคำนวณลดน้อยลง โดยในระยะต้นผู้ติดยาจะไม่ค่อยตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ต้องอาศัยแบบทดสอบความสามารถของสมองจึงจะสามารถตรวจพบได้ ต่อเมื่อการติดยาดำเนินไประยะหนึ่ง ผู้ติดยาและผู้ใกล้ชิดจะสามารถรับรู้ถึงความผิดปกติด้านต่าง ๆ ของสมอง
พยาธิสภาพของสมองจะลดน้อยลงเมื่อผู้ติดยาเลิกเสพยา สมองจะพยายามซ่อมแซมโดยการเพิ่มเครือข่ายของเซลล์สมอง แต่ต้องใช้ระยะเวลาการซ่อมแซมนานพอสมควรหรือต้องผ่านการบำบัดรักษาที่มีประสิทธิภาพ
ผู้ที่ติดยามักมีความทรงจำที่ฝังแน่นเกี่ยวกับยาเสพติด ที่เป็นอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งในการเลิกยาเสพติด การทดลองนี้เป็นหลักฐานที่ดี โดยนักวิจัยได้ทำการทดลองฉายวีดีทัศน์ 2 อย่างให้แก่ผู้ที่กำลังเลิกเสพสารโคเคน และใช้ Positron Emission Tomography Scan ในการวัดการทำงานของสมอง ผลการทดลองพบว่าวีดีทัศน์ภาพตัวกระตุ้นเร้า เช่น อุปกรณ์เสพยา เป็นต้น สามารถกระตุ้นเร้าให้สมองส่วน Amygdala ทำงานมากขึ้นพร้อม ๆ กับที่ผู้ป่วยรายงานว่ามีอาการอยากยา ซึ่งโดยปกติสมองส่วนนี้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำและอารมณ์ ส่วนวีดีทัศน์ภาพธรรมชาติไม่กระตุ้นสมองส่วนนี้และไม่ทำให้เกิดอาการอยากยา เช่นเดียวกับผู้ที่เลิกยาเสพติดได้แล้ว ที่มีสมองส่วน Amygdala ในผู้ป่วยมีการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถถูกกระตุ้นเร้าได้ง่ายโดยตัวกระตุ้นเร้า ทำให้ผู้ที่กำลังเลิกเสพยาอ่อนไหวและหันกลับไปเสพยาได้ง่าย
วิธีเลิกยาเสพติด ไม่ง่ายและผู้ป่วยไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ผู้ติดยาเสพติดต้องการความช่วยเหลือจากแพทย์เพื่อที่จะสามารถข้ามผ่านไปได้ หากคุณ หรือคนในครอบครัวเป็นผู้ที่หลงผิดแล้วและอยากเลิกยาเสพติดหรือครอบครัวที่กำลังหาทางบำบัดยาเสพติด ปรึกษา DAY ONE REHABILITATION CENTER ศูนย์บำบัดยาเสพติด บรรยากาศรีสอร์ทและสถานที่โอบล้อมด้วยสายน้ำและธรรมชาติ สงบและผ่อนคลาย จังหวัดนครนายก สถานฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับผู้ที่มีปัญหาจากสารเสพติด ที่กำลังหาวิธีเลิกยาเสพติด วิธีเลิกเหล้า ไปจนถึง วิธีเลิกพนัน โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จิตแพทย์ พยาบาลจิตวิทยา นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านปัญหาสารเสพติด พร้อมให้คำแนะนำและปรึกษา
ติดต่อเรา
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00