064-645-5091    จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

โรคเสพติดการพนัน

IMG-BLOG
13 December 2022

โรคเสพติดการพนัน

วิธีการป้องกันและรักษาโรคเสพติดการพนัน

การเสี่ยงโชคเป็นสิ่งที่ทุกคนรู้จักดีเนื่องจากการเสี่ยงโชคเป็นหนึ่งในหนทางลัดที่จะทำให้เราได้ในสิ่งที่เราต้องการทั้งเงินทอง หรือวัตถุต่าง ๆ เช่น การเล่นหวย แน่นอนว่าการเสี่ยงโชคบางครั้งก็มาในรูปแบบของคำว่า “การพนัน” ในรูปแบบผิดกฎหมาย เช่น หวยใต้ดิน พนันบอล และด้วยรางวัลที่ได้ทำให้หลายคนเกิดอาการติดการพนันต้องเล่นตลอดไม่สามารถหักห้ามใจตนเองได้ จนเกิดเป็น “โรคเสพติดการพนัน” นั่นเอง

โรคเสพติดการพนัน คืออะไร

เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถบังคับตนเอง หรือต่อต้านต่อปัจจัยที่ทำให้เกิดความอยากเล่นการพนัน และจะสนใจหมกมุ่นอยู่กับการพนันเสียเป็นส่วนใหญ่ และเมื่อผิดหวังกับผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้มีอาการข้างเคียงเกิดขึ้น เช่น อาการซึมเศร้า ดื่มสุรา และอาจรุนแรงถึงขั้นใช้สารเสพติด หรือจะเป็นปัญหาชีวิตในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นทั้งการงาน การเรียน หรือชีวิตครอบครัว เป็นต้น

เกณฑ์การวินิจฉัย อาการหรืออาการแสดงของการติดการพนันตามเกณฑ์การวินิจฉัยของAmericanPsychiatric Association มีดังนี้ (โดยได้จัดลำดับเป็นคำย่อ WAGER OFTEN เพื่อให้สะดวกในการจดจำได้ง่ายๆ)

1. Withdrawal – รู้สึกกระสับกระส่ายหรือหงุดหงิดง่ายเวลาพยายามหยุดหรือลดการเล่นพนัน
2. Affect significant relationship – ความสัมพันธ์กับบุคคลสำคัญ โอกาสในด้านการงาน การเรียน หรืออาชีพเสียไปเพราะการพนัน
3. Goal is to get even by chasing – หลังจากเสียเงินพนันแล้ว ได้พยายามที่จะกลับไปเล่นเพื่อเอาเงินคืนบ่อยครั้ง
4. Escape – เล่นการพนันเพื่อหาทางออกจากปัญหา หรือให้มีความรู้สึกที่ดีขึ้นจากความรู้สึกไม่สบายใจ
5. Rescue–ต้องให้บุคคลอื่นหาเงินมาช่วยให้พ้นจากการเป็นหนี้พนัน
6. Outside the laws – ทำผิดกฎหมาย เช่น ปลอมแปลงเอกสาร ขโมยของ เพื่อให้ได้เงินมาใช้หนี้พนัน
7. Failure to control – พยายามที่จะควบคุม ลด หรือ หยุดการเล่นพนันแต่ทำไม่สำเร็จบ่อยครั้ง
8. Tolerance – พนันด้วยการเพิ่มปริมาณเงินมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้คงความรู้สึกตื่นเต้นเช่นเดิมไว้
9. Evades telling the truth – โกหกครอบครัว แพทย์ผู้รักษา หรือ บุคคลอื่นเพื่อปกปิดการเล่นพนันของตนเอง
10. Needs to think about gambling – ครุ่นคิดถึงแต่การพนันอย่างมาก ทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับประสบการณ์การเล่นพนันในอดีตของตนเอง ว่าเล่นได้หรือเสียอย่างไร รวมไปถึงการวางแผนล่วงหน้าว่าจะทำอย่างไรให้ชนะในคราวต่อไป หรือ คิดวิธีหาเงินเพื่อจะนำไปใช้ในการพนันครั้งต่อไป

หากมีอาการข้างต้น 5 ข้อหรือมากกว่า แสดงว่าติดการพนัน แต่หากมี 3 หรือ 4 อาการ จัดว่าเป็นผู้มีปัญหาเกี่ยวกับการพนัน และ หากมีเพียง 1 หรือ 2 ข้อ จะจัดเป็นผู้เล่นพนันที่มีความเสี่ยง (at-risk gambler)

ประเภทของการพนันชนิดต่างๆในปัจจุบัน

การพนันหรือการเสี่ยงโชคหมายถึงการเล่นเกมทุกประเภทที่ผู้เล่นต้องวางเงินเดิมพัน ผลลัพธ์คือชนะหรือแพ้ ทำให้มีผลทั้งได้เงินและเสียเงินอย่างคาดเดาไม่ได้ ในปัจจุบันการพนันมีทั้งในรูปแบบของออนไลน์และออฟไลน์ การพนันที่คนไทยนิยมเล่น คือ บาคาร่า ไพ่ป๊อกเด้ง เกมไพ่ชนิดอื่นๆ สล็อตแมชชีน (ตู้เกม) พนันทายผลกีฬา หวยต่างๆ รวมทั้งการพนันเกมคอมพิวเตอร์ (อีสปอร์ต) ด้วย การพนันประเภททายผลการแข่งขันกีฬา เช่น ฟุตบอล นอกจากจะมีเงินหมุนเวียนสูงมากแล้วมีเด็กเยาวชนเล่นเป็นสัดส่วนค่อนข้างสูงด้วย รวมไปถึงการเล่นในสถานคาสิโน เช่น รูเล็ต โป๊กเกอร์ เครื่องเล่นเกมอัตโนมัติ การทายผลสลาก เช่น สลากกินแบ่ง การขูดบัตรเสี่ยงทาย การทายผลกีฬา การเล่นพนันอื่นๆ เช่น การจับฉลาก เกมทอยลูกเต๋า เป็นต้น ล้วนเป็นเกมการพนันทั้งสิ้น

วิธีการสังเกตพฤติกรรมเสี่ยงที่บ่งบอกว่าติดพนัน

สมาชิกในครอบครัวและคนรอบข้างต้องคอยสังเกตพฤติกรรมคนใกล้ชิดของเราว่ามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ เช่น การเรียน การงานเสียไปไหม แยกตัวออกไปจากกลุ่มหรือเปล่า หมกมุ่นอยู่กับอะไรเป็นพิเศษ และช่วยตักเตือนให้เขารู้จักเตือนตัวเองและควบคุมตัวเองในการเสพสื่อที่เหมาะสม เพราะปัจจุบันมีสิ่งต่างๆ มากมายที่จะเข้ามายั่วยุและชวนเชื่อ

สำหรับคนที่ไม่แน่ใจว่าตัวเองเข้าข่ายเสพติดการพนันหรือไม่ สามารถใช้แบบคัดกรองการติดการพนันแบบง่ายๆ ประกอบด้วยข้อคำถาม 20 ข้อ โดยหากตอบ “ใช่” ตั้งแต่ 7 ข้อขึ้นไปแสดงว่ามีแนวโน้มที่จะมีปัญหาการเล่นการพนัน ดังนี้

• เวลางานหรือเรียนเสียหายเพราะการพนัน
• การพนันเคยทำให้ชีวิตครอบครัวไม่มีความสุข
• การพนันเคยทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง
• เคยรู้สึกสำนึกผิดหลังจากเล่นการพนัน
• เคยเล่นการพนันเพื่อนำเงินมาใช้หนี้พนัน
• การพนันทำให้ความสามารถมีประสิทธิภาพน้อยลง
• หลังจากเสียพนัน ต้องรีบกลับมาเล่นอีกครั้ง
• หลังจากชนะพนัน ต้องเล่นต่อและเอาชนะให้ได้อย่างรุนแรง
• บ่อยครั้งที่เล่นพนันจนเงินหมดกระเป๋า
• เคยยืมเงินมาเป็นทุนในการเล่นพนัน
• เคยขายของมาเป็นทุนในการเล่นพนัน
• ไม่เต็มใจใช้เงินที่จะใช้เล่นพนันไปซื้อของอย่างอื่น
• การพนันทำให้ไม่ใส่ใจความเป็นอยู่ของตัวเองหรือครอบครัว
• เคยเล่นพนันนานกว่าที่วางแผนไว้
• เคยเล่นการพนันเพื่อหลีกหนีความกังวล
• เคยคิดหรือทำผิดกฎหมายเพื่อนำเงินไปเล่นพนัน
• การพนันทำให้นอนหลับยากขึ้น
• การโต้เถียง ผิดหวัง รู้สึกอึดอัด ทำให้อยากไปเล่นพนัน
• เคยอยากฉลองเรื่องต่างๆ ด้วยกันเล่นพนันสัก 2-3 ชั่วโมง
• เคยทำร้ายตนเอง พยายามฆ่าตัวตายจากการเล่นพนัน

วิธีการป้องกัน โรคเสพติดการพนัน

1. สถาบันครอบครัว ถือว่ามีความสำคัญที่สุดในการสร้างเกราะป้องกันให้เยาวชน การดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดคงไม่เพียงพอ ถ้าไม่แสดงให้บุตรหลานเห็นว่าการเล่นการพนันเป็นตัวนำพาความหายนะมาสู่ครอบครัว ดังนั้นท่าทีของพ่อแม่ผู้ปกครองถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องแสดงให้เห็นว่า เอาจริง อย่าทำแค่เพียงขู่ หรือปลงหรือเซ็ง และก็ปล่อยให้ผ่านไป เพราะนั่นจะเป็นตัวแสดงให้เห็นว่าพ่อแม่หรือผู้ปกครองจริงจังด้วย

2. การเอาจริงไม่จำเป็นต้องอาศัยความเกรี้ยวกราด ความรุนแรงก้าวร้าวก็ได้ วิธีการที่นุ่มนวลในการค่อยๆ ทำความเข้าใจ มีความอดทนในการแก้ปัญหาของบุตรหลานที่เกิดขึ้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้บุตรหลานที่มีปัญหาเหล่านั้นยังคงอยู่ในสายตาของครอบครัวได้ ดีกว่าใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาแล้วส่งผลแย่ลงกว่าเดิม

3. ร่วมกันช่วยคิดช่วยแก้ปัญหา เมื่อบุตรหลานเกิดปัญหาจากการเล่นพนัน ถ้าแก้ไม่ได้หรือคิดไม่ออกให้พยายามปรึกษาหน่วยงานภาครัฐที่สามารถให้คำปรึกษาได้ จะดีกว่า เช่น หน่วยงานทางด้านการดูแลสุขภาพจิต หน่วยงานของสถานศึกษา เป็นต้น

4. สนับสนุนให้มีการดึงผู้ติดการพนันออกไปสู่กิจกรรมที่สร้างสรรค์ เช่น การออกกำลังกาย การสร้างกิจกรรมที่ส่งเสริมสัมพันธภาพอันดีให้กับคนในครอบครัว ลดการตำหนิติเตียน แต่หันมาชื่นชม เมื่อบุตรหลานที่ติดการพนันเหล่านั้นสามรถทำสิ่งที่ดีๆและสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นได้

5. สังคมและครอบครัวต้องร่วมมือกันสร้างค่านิยมใหม่ เช่น ค่านิยมของการพอเพียง การ ไม่คิดรวยทางลัด เพราะมีโอกาสจะประสบความสำเร็จได้น้อยกว่าการมีความขยันหมั่นเพียรอย่างแท้จริง ไม่ให้ความสำคัญกับคนที่ดูเหมือนจะเป็นแบบอย่างของเยาวชนแต่ทำตัวไม่ดี

6. ผู้ที่ติดการพนันฝึกเอาชนะใจของตนเองให้ได้บ่อยครั้งและชื่นชมตัวเองทุกครั้งที่ทำสิ่งเหล่านี้ได้ เมื่อทำทุกวิถีทางไม่ได้แล้ว อีกหนทางหนึ่งที่พอจะช่วยบรรเทาได้ก็คือการมาปรึกษาบุคลากรทางด้านสุขภาพจิต ที่สถานบำบัด DAY ONE REHABILITATION CENTER มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่หลากหลาย ที่จะสามารถบำบัดและลดความรุนแรงของโรค ให้อาการดีขึ้นและกลับสู่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพ

 

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
064-645-5091
[email protected]
จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

บทความล่าสุด

แก๊สหัวเราะกับความสนุกชั่วคราว
แก๊สหัวเราะคืออะไรและอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อร่างกายและสุขภาพจิต
05 January 2024
วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day)
ความรู้เกี่ยวกับวิธีสังเกตอาการผิดปกติเพื่อช่วยลดความสูญเสียของผู้คนจากการฆ่าตัวตาย
11 September 2023
มารู้จัก กับ “Panic Disorder”
สังเกตอาการและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแพนิค” (Panic Disorder)
15 August 2023
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ มักเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีปัญหาในการรับมือกับความเครียด หรือเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันและส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถปรับตัวหรือทำใจยอมรับได้
21 June 2023
นโยบายเกี่ยวกับกัญชาเสรี
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและยาเสพติดของแต่ละพรรคนั้นมีทิศทางอย่างไรต่อไปถ้าได้เป็นรัฐบาล
21 June 2023
แค่นิสัย หรือ บุคลิกภาพผิดปกติ?
บุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorder) คือ รูปแบบความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม เกิดความไม่ยืดหยุ่นและการปรับตัวไม่ได้ดี ซึ่งอาจฝังในในจิตใจและก่อให้เกิดปัญหา เช่น ด้านการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่น การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปไมได้
21 June 2023
ฝึกทักษะชีวิต เพื่อบำบัดยาเสพติด หรือป้องกันการติดยาเสพติด
ปรับสมดุลใหม่ในชีวิต เพื่อห่างไกลจากสารเสพติดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด Day One
21 June 2023
โรคกลัวสังคม กับการบำบัดยาเสพติด
โรคกลัวสังคมมีส่วนทำให้ติดสารเสพติดตามมาได้ โดยเฉพาะสารเสพติดในกลุ่มสารกดประสาท เช่น แอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับบางชนิด หรือ สารเสพติดกลุ่มฝิ่น เช่น เฮโรอีน เนื่องจากเมื่อผู้ที่เป็นโรคกลัวสังคมใช้สารเหล่านี้แล้ว สารจะไปกดประสาททำให้ความกลัว ความกังวลลดลง
23 January 2023
โรคเสพติดการพนัน
โรคเสพติดการพนัน เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถบังคับตนเอง จะสนใจหมกมุ่นอยู่กับการพนันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อผิดหวังกับผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้มีอาการข้างเคียง เช่น อาการซึมเศร้า ดื่มสุรา และอาจรุนแรงถึงขั้นใช้สารเสพติด หรือจะเป็นปัญหาชีวิตในด้านต่าง ๆ
13 December 2022
กัญชาทางการแพทย์กับกัญชาเพื่อเสพ ต่างกันอย่างไร
ถึงแม้กัญชาทางการแพทย์จะมีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคบางโรค แต่ก็ไม่ได้แนะนำใช้เป็นการรักษาลำดับแรก เพราะว่ามีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่ายาหลัก การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาควรใช้เพื่อเป็นส่วนเสริม หรือควบรวมกับการรักษาตามมาตรฐาน ไม่สามารถเอามาเป็นการรักษาหลักได้
21 November 2022
วิธีเลิกเหล้าและแนวทางการบำบัด
เลิกเหล้าได้สำเร็จ ด้วยวิธีเลิกเหล้าด้วยตนเองและวิธีเลิกเหล้าโดยพบแพทย์
21 June 2022
ทัศนคติผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น
แนวทางการบำบัดยาเสพติดในวัยรุ่น
21 June 2022
จะเกิดอะไรขึ้นหลัง 9 มิ.ย. 2565 กฎหมาย "ปลดล็อก" กัญชง กัญชา ออกจากยาเสพติด
ถึงแม้ทางกฎหมายกัญชาจะถูกปลดออกจากยาเสพติด แต่ความจริงคือกัญชายังคงมีฤทธิ์เป็นสารเสพติดให้โทษ มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลายชนิด โดยเฉพาะ THC ซึ่งส่งผลเสียทำให้ ระดับเชาวน์ปัญญาลดลง (IQ ต่ำลง) สมองฝ่อ เกิดอาการเสพติด เสี่ยงต่อการเกิดโรคจิต โรคไบโพลาร์ โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
10 June 2022
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างบำบัดยาเสพติด
วิธีจัดการกับอาการอยากยา เพื่อได้รับการบำบัดยาเสพติดอย่างถูกต้อง
28 April 2022
ความแตกต่างของการบำบัดรูปแบบชุมชนบำบัด (Therapeutic community) และการบำบัดเฉพาะบุคคล (Individual program)
ชุมชนบำบัด หรือ Therapeutic Community  (T.C.) เป็นการบำบัดรักษาที่จำลองรูปแบบการดำรงชีวิตในสังคม เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดได้ใช้ชีวิตโดยปราศจากสารเสพติด รับผิดชอบหน้าที่ในชีวิตประจำวัน ปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม โดยเริ่มตั้งแต่การปรับพฤติกรรม ความสามารถ แนวความคิด และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจในตัวเอง และเสริมสร้างความมั่นใจ ฝึกฝนสร้างเป็นอุปนิสัยจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้แบบปกติ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด
11 August 2022
ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดการกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำหลังเข้าบำบัดยาเสพติด
ทำความเข้าใจว่าเพราะเหตุใดทำให้หวนกลับไปใช้ยาเสพติด เพื่อลดการเสพติดซ้ำ
29 March 2022
6 แนวคิดดี ๆ เปลี่ยนมุมมองชีวิตใหม่ หลังเข้าบำบัดยาเสพติด
การปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติดแล้ว ให้สามารถลุกขึ้นมาเดินหน้าใหม่
06 March 2022
เทคนิคการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นคนใหม่หลังจากออกจากสถานบำบัดยาเสพติด
การปรับทัศนคติที่มีต่อผู้บำบัดยาเสพติด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมไทย
06 March 2022
การเทรดคริปโทเคอร์เรนซี กับความเสี่ยงในการเสพติดการพนัน
งานวิจัยไม่ได้หมายความว่าการเทรดคริปโต เป็นการพนัน แต่พฤติกรรมของเทรดเดอร์เองต่างหากเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีพฤติกรรมที่เข้าข่ายติดพนันหรือไม่
28 February 2022
ดูแลผู้ต้องการบำบัดยาเสพติดอย่างไรเมื่อมีอาการอยากยา
การเข้าสถานบำบัดยาเสพติดเพื่อรักษาอาการอยากยาได้อย่างถูกต้อง
28 February 2022
ครอบครัวและความล้มเหลวในการบำบัดยาเสพติด
หลายครั้งที่ครอบครัวกลายเป็นผู้ส่งเสริมพฤติกรรมทางอ้อมให้คงใช้สารเสพติด
07 February 2022
ความรุนแรงของสารเสพติดประเภทยาไอซ์ โคเคน
แนะนำวิธีการบำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูผู้ติดยาไอซ์และโคเคน
07 February 2022
พฤติกรรมของผู้ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด
วิธีสังเกตอาการผู้กำลังจะติดยาเสพติด รู้เท่าทันก่อนต้องพึ่งศูนย์บำบัดยาเสพติด
06 January 2022
Day One ได้รับรองมาตรฐานสถานพยาบาลประเภทสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ (สถานบำบัดยาเสพติด)
สถานบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด สถานบำบัดยาเสพติด ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
28 February 2022
ผลกระทบจากวิธีเลิกยาเสพติดด้วยตนเอง
เลิกยาเสพติดด้วยตนเอง อันตรายกว่าที่คุณคิด
23 May 2022
อาการของผู้ติดยาเสพติด ที่ต้องรับการบำบัดยาเสพติด
โปรแกรมการบำบัดยาเสพติดสำหรับบุคคล สำหรับอาการของผู้ติดเสพติดที่หลากหลาย
23 February 2022
เลิกยาเสพติดที่สถานบำบัดยาเสพติด
เข้าบำบัดยาเสพติด 28 วัน โดยทีมแพทย์ เพิ่มโอกาสสำเร็จในการเลิกยาเสพติด
23 February 2022
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้าสถานบำบัดยาเสพติด กับ DAY ONE REHABILITATION CENTER
การสังเกตเมื่อไหร่ที่ครอบครัวควรพาผู้ที่ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดยาเสพติด หากคนในครอบครัวหรือคนที่คุณรักกำลังใช้ยาเสพติดอยู่ คุณควรสังเกตอาการเหล่านั้น และปรึกษา หาทางแก้ไขเพื่อเข้าบำบัดยาเสพติดได้อย่างถูกวิธี
23 February 2022
กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภทต่างๆ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เพื่อควบคุมการใช้ยาเสพติดผิดกฎหมาย
23 February 2022
ปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 ซึ่งจะมีผลวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นการปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้ อย่างไรก็ตามหากมีการนำไปผสมยาเสพติดอื่นๆ เช่น 4x100 เป็นความผิดตามกฎหมาย
23 February 2022
ควรทำอย่างไรเมื่อมีคนในครอบครัวติดยาเสพติด
การปฏิบัติตัวของญาติหรือผู้ใกล้ชิดผู้ติดยาเสพติด เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดเข้าสู่การบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี
23 February 2022
หลัก 12 ขั้นตอน (Twelve steps) วิธีเลิกเหล้า เลิกสุรา วิธีเลิกยาเสพติด
หลักการ 12 ขั้นตอน ริเริ่มมาจาก บุคคล 2 คนที่ติดสุรามาก่อน พวกเขาร่วมมือกันเลิกสุราและก่อตั้ง กลุ่ม AA (alcoholic anonymous) ขึ้น พร้อมกับคิดค้นหลักการ 12 ขั้นตอนไปสู่การเลิกสุรา ต่อมาหลักการนี่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ติดสุราและยาเสพติด และค้นพบว่าสามารถทำให้ไปสู่การเลิกเสพได้อย่างต่อเนื่อง
23 May 2022
ยาเสพติดรอบตัวที่พบบ่อย
ยาเสพติดชนิดธรรมชาติ เป็นสารที่กลั่น หรือ สกัดได้จากพืชบางชนิดโดยตรง เช่น ฝิ่น โคเคน กัญชา รวมทั้งการนำสารจากพืชเหล่านั้นมาปรุงเป็นอย่างอื่น โดยกรรมวิธีทางเคมี เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ซึ่งทำมาจากฝิ่น เป็นต้น
23 February 2022
โรคสมองติดยา สมองติดยาได้อย่างไร
การติดยาเสพติดเป็นกระบวนการต่อเนื่องเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจากการเสพยาเป็นครั้งคราว สู่การเสพที่ถี่ขึ้นจนเสพทุกวันและวันละหลายครั้ง การเสพยาเสพติดเกี่ยวข้องกับสมอง 2 ส่วนคือ สมองส่วนคิด (Cerebral Cortex) และสมองส่วนอยาก (Limbic System)
23 February 2022