ในปัจจุบันเรายังพบเห็นผู้ที่ตกอยู่ในวงวนของยาเสพติด ปัญหาการเสพติดซ้ำ ส่วนหนึ่งมาจากการมีจิตใจไม่เข็มแข็งพอ ไม่พร้อมที่จะเลิก เกิดอาการถอนพิษยา อาการอยากยา ว่างงาน มีปัญหาครอบครัว รวมไปถึงการจัดการกับความเครียดที่ไม่เหมาะสม เลยตัดสินใจแก้ปัญหาโดยการใช้ยาเสพติด ซึ่งอาการอยากยาเสพติด หรืออาการไม่สุขสบายจากการหยุดยา เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ที่เสพยาเสพติดแล้วเกิดการหยุดทุกราย ทั้งในผู้ที่ไม่คิดจะเลิก มีความตั้งใจจะเลิก และในผู้ที่กำลังทำการบำบัดยาเสพติด หรือหยุดยาไปแล้วและกลับมาเสพซ้ำถึงแม้จะหยุดไปแล้วเป็นระยะเวลาแรมเดือนก็ตาม อาการเหล่านี้เป็นภาวะที่ถูกต้องกระตุ้นจากความรู้สึกภายใน สิ่งแวดล้อม โดยมีผลต่อความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ต่อตัวของผู้ใช้ยาเสพติดเป็นอย่างมาก และจะมีอาการเรื่อยๆ ต้องใช้ระยะเวลาแล้วแต่บุคคล เพราะร่างกายต้องใช้เวลาในการปรับตัวให้กลับสู่สภาวะปกติเมื่อหยุดเสพยา
1. หยุดยาช่วงแรก แบ่งเป็น 2 ระยะ
1.1 ระยะมีอาการขาดยา
ในช่วงแรกของการหยุดเสพยา อาจจะมีอาการไม่สบายซึ่งก่อให้เกิดความยากลำบากในการปรับตัวหลังเลิกเสพยา อาการไม่สุขสบายต่างๆจะมีความรุนแรงมากแค่ไหน ขึ้นอยู่กับปริมาณยา ระยะเวลาที่เสพ รวมไปถึงชนิดของยาเสพติดที่ใช้ด้วย
สำหรับผู้ที่ใช้สารเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท จะมีอาการอยากยา เช่น ซึมเศร้า ไม่มีแรง หิวบ่อย และไม่ค่อยมีสมาธิ เป็นต้น
สำหรับคนที่ดื่มสุราในปริมาณมาก อาจจะเกิดอาการต่างๆหลังจากหยุดดื่มสุราได้ เช่น อาการคลื่นไส้ ไม่มีแรง วิตกกังวล มือสั่น ตัวสั่น หงุดหงิดง่าย และมีปัญหาในเรื่องของความจำ (จำอะไรไม่ค่อยได้ หลงๆลืมๆ ) อาการเหล่านี้มักเกิดภายใน 3-5 วัน บางคนอาจจะมีอาการติดต่อกันเป็นสัปดาห์ บางรายอาจจะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเพื่อดูแลให้ปลอดภัย
สำหรับผู้ที่ใช้ฝิ่นหรือยาเสพติดประเภทกล่อมประสาท จะแสดงอาการขาดยา เช่น กระวนกระวาย นอนไม่หลับ ซึมเศร้า เป็นต้น
1.2 ระยะฮันนีมูน อยู่ในช่วง 4-5 สัปดาห์แรก
ในระยะนี้ผู้ที่สามารถหยุดใช้สารเสพติดได้จะรู้สึกดีและมีพลัง มีความกระตือรือร้น มุ่งมั่นในการเลิกยาเสพติด ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากในการที่จะเลิกยาให้ได้ประสบความสำเร็จ สำหรับในระยะนี้ร่างกายจะเริ่มปรับตัวคืนสู่สภาวะปกติ อาการไม่สุขสบายต่างๆจะเริ่มลดลงหรือไม่มีเลย ซึ่งถือเป็นเครื่องหมายของความก้าวหน้าในการเลิกยาเสพติดได้
2. หยุดยาช่วงกลาง เป็นระยะที่ยืดเยื้อหรือระยะฝ่าฟันอุปสรรค
ในระยะนี้เป็นระยะที่ต้องตระหนักถึงความมุ่งมั่น พยายามที่จะฝ่าฟันอาการไม่สุขสบายต่างๆจนร่างกายกลับเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติได้ หากไม่สามารถห้ามใจตนเองได้ ระยะนี้มีความเสี่ยงสูงมากที่จะกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำ ผู้บำบัดจะต้องมีสติ ทำกิจกรรมที่ไม่นึกถึงสารเสพติด การดูแลตนเองด้วยความระมัดระวังเพื่อให้ผ่านช่วงระยะเวลาที่ยากลำบากในกระบวนการเลิกยาให้ได้ ถ้าสามารถผ่านระยะนี้ไปได้โดยไม่กลับไปเสพซ้ำ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการนำไปสู่ความสำเร็จในการเลิกยาได้
3. หยุดยาช่วงท้าย เป็นระยะปรับตัวหรือระยะคลี่คลาย
หลังการหยุดเสพยา ประมาณ 3 เดือน ร่างกายและสมองส่วนใหญ่กลับคืนสู่ภาวะปกติ ผู้บำบัดจะมีการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ มองความสำเร็จในการดำเนินชีวิต สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนให้สามารถเลิกเสพยาได้อย่างต่อเนื่องและถาวร
1. ควบคุมจิตใจตนเองทั้งอารมณ์และพฤติกรรมที่แสดงออกมา ต้องค้นหาปัจจัยเสี่ยงตัวกระตุ้นให้เกิดการคิดถึงยาเสพติด
2. หยุดความคิดทันทีที่เริ่มคิดถึงยาเสพติด หรือเมื่อเริ่มมีอาการอยากยา อาจจะนึกถึงภาพความสุขในชีวิตของตนเองที่เคยได้รับแทนการคิดถึงยาเสพติด การฝึกการผ่อนคลาย โดยหายใจเข้าลึกๆ หรือการเตือนสติตัวเองแล้วบอกว่า “ไม่”
3. เบี่ยงเบนความสนใจของตนเองไปหาสิ่งอื่น การทำกิจกรรมนันทนาการ การผ่อนคลาย เช่น ออกกำลังกาย ฟังเพลง ดูโทรทัศน์ นั่งสมาธิ พูดคุยกับเพื่อน หางานอดิเรกทำ
4. ในบางรายจะใช้วิธีเข้าบำบัดรักษาที่สถานบำบัด ซึ่งจะได้ยารักษาตามอาการและยังลดความทุกข์ทรมานจากอาการขาดยา อาการไม่สุขสบายที่จะเกิดขึ้น และจะได้รับการฟื้นฟูสมมรถภาพอีกด้วย
ผู้ติดยาเสพติดบางคนตัดสินใจเลิกยาเสพติดอย่างกะทันหันด้วยตนเอง หากมีจิตใจเข้มแข็ง สามารถทนต่อความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นได้ ก็อาจประสบความสำเร็จในการเลิกยาเสพติดได้ แต่เพื่อความปลอดภัยในการเลิกยาเสพติด ควรเข้ารับการบำบัดยาเสพติดที่สถานบำบัดยาเสพติด เพื่อการเลิกยาเสพติดอย่างปลอดภัย มีการดูแลอย่างถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ของสถานบำบัด ที่มีความสามารถและความเชี่ยวชาญในการบำบัดยาเสพติดโดยตรง ทำให้ผู้ที่ได้รับการบำบัดสามารถเลิกยาเสพติดได้อย่างถาวร โดยไม่เกิดอันตรายและภาวะแทรกซ้อนตามมา หากต้องการเลิกยาเสพติด สามารถติดต่อ ศูนย์บำบัดยาเสพติด Day One Rehabilitation Center ซึ่งเป็นสถานบำบัดยาเสพติดด้วยวิธีที่หลากหลายและประสบผลสำเร็จสูงสุด โดยที่ผู้บำบัดยาเสพติดไม่ต้องทุกข์ทรมานจากการเลิกยา
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
064-645-5091
[email protected]
จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00