โรคตื่นตระหนกหรือที่เรารู้จักกันว่า “โรคแพนิค” (Panic Disorder) คือ ความรู้สึกหวาดกลัวหรือวิตกกังวล ซึ่งถือเป็นโรควิตกกังวลประเภทหนึ่งที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ (Automatic Nervous System) ทำงานผิดปกติ โดยระบบประสาทนี้เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของร่างกายหลายส่วน จึงทำให้เกิดอาการทางร่างกายและอารมณ์หลายอย่างร่วมกัน เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมากเจ็บหน้าอก ท้องไส้ปั่นป่วน วิงเวียน ซึ่งอาการจะเกิดขึ้นแบบฉับพลันแม้ไม่มีสาเหตุหรือมีเรื่องให้ต้องตกใจ ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกลัว ตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก ไม่กล้าออกไปไหนหรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์ต่างๆเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำกังวลเรื่องสุขภาพ จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
อาการตื่นตระหนกที่เกิดซ้ำ ๆ (panic attack) คืออาการตื่นตระหนกอย่างฉับพลันของความกลัว อึดอัด รู้สึกไม่สบายอย่างรุนแรง ซึ่งอาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและถึงขีดสูงสุดในเวลา 10 นาที คงอยู่สักระยะหนึ่ง แล้วค่อยๆ ดีขึ้น และในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีอาการต่อไปนี้เกิดขึ้น 4 อาการ หรือมากกว่านั้น ดังนี้
1.ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
2. เหงื่อออก
3. ตัวสั่นหรือมือเท้าสั่น
4. รู้สึกหายใจถี่หรือหายใจไม่ออก
5. ความรู้สึกสำลัก
6. เจ็บหน้าอกหรือไม่สบายตัว
7. คลื่นไส้หรือปวดท้อง
8. รู้สึกเวียนศีรษะ ทรงตัวไม่อยู่ หน้ามืด หรือจะเป็นลม
9. รู้สึกหนาวๆ ร้อนๆ
10. อาการชาหรือรู้สึกเสียวซ่า (Paresthesias)
11. ประสาทสัมผัสการรับรู้ผิดปกติ
12. กลัวที่จะสูญเสียการควบคุม
13. กลัวตาย
อาจเกิดจากทั้งพันธุกรรม ชีวภาพ จิตใจ และสิ่งแวดล้อมรวมกัน นำไปสู่การเกิดโรคแพนิค ดังนี้
1. กรรมพันธุ์: การมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคตื่นตระหนกหรือโรควิตกกังวลอื่น ๆ สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้
2. สารเคมีในสมอง: สารสื่อประสาทภายในสมองไม่สมดุล อาจทำให้เกิดอาการแพนิคได้
ทั้งนี้ โรคแพนิคอาจเกิดจากการทำงานของสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการตอบสนองของร่างกาย (Fight or Flight) เนื่องจากหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นเมื่อเผชิญหน้ากับเหตุการณ์อันตราย เป็นต้น
3. ตัวสร้างความเครียดที่สำคัญในชีวิต: เช่น การเสียชีวิตของคนที่คุณรัก เหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ หรือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต สามารถนำไปสู่การเกิดโรคตื่นตระหนกได้
4. ภาวะวิตกกังวลที่มีอยู่ก่อนแล้ว: การมีโรควิตกกังวลหรือโรคกลัวอื่นๆ สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการ
5. การใช้สารเสพติด: การใช้สารเสพติดในกลุ่มที่กดประสาทหรือแอลกอฮอล์ สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคตื่นตระหนก เวลามีอาการถอน ก็ทำให้เกิดอาการวิตกกังวล และมี panic attack ได้อีกด้วย
6. ความเจ็บป่วยเรื้อรัง: สภาวะทางการแพทย์บางอย่างหรือปัญหาสุขภาพเรื้อรังอาจเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคตื่นตระหนก
7. ลักษณะบุคลิกภาพ: ลักษณะบุคลิกภาพบางอย่าง เช่น ความอ่อนไหวสูงหรือมีแนวโน้มที่จะวิตกกังวล อาจเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรค
สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่าแม้ว่าปัจจัยเหล่านี้อาจเพิ่มโอกาสในการเกิด Panic Disorder หรือโรคตื่นตระหนกที่เกิดขึ้นซ้ำๆ และอาจต้องได้รับการรักษา นอกจากนี้ โรคตื่นตระหนกสามารถรักษาได้ และมีวิธีการรักษาและยาที่หลากหลายเพื่อช่วยในการจัดการและลดอาการต่างๆ หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักกำลังประสบกับอาการของ Panic สามารถปรึกษาทางการแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อรับการประเมินและการรักษาที่เหมาะสม เพื่อจัดการกับอาการอย่างมีประสิทธิภาพ
แต่บางคนก็อาจพยายามรักษาด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการรักษาที่ไม่ถูกต้อง เช่น ไปพึ่งการใช้แอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติด เพื่อลดอาการPanic หรือใช้ยานอนหลับมากเกินไป หรือหายาต่างๆมารักษา โดยไม่ปรึกษาแพทย์ หรือเรียกกว่าพฤติกรรม การักษาอาการตัวตนเองแบบผิดวิธี Self-medication ซึ่งมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างมากด้วย
หากคุณกำลังหาทางออกกับอาการ Panic แล้วหันไปพึ่งแอลกอฮอล์หรือยาเสพติด จนมีพฤติกรรมที่รุนแรงขึ้นจนถึงขั้นติดยาเสพติดที่ไม่สามารถเลิกได้ด้วยตัวเองได้ ขอแนะนำ ให้เข้ามาปรึกษาที่ Day One ศูนย์บำบัดยาเสพติด ที่จะช่วยแนะนำให้คุณบำบัดยาเสพติดได้อย่างถูกวิธีและสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
064-645-5091 [email protected]
จันทร์ – อาทิตย์ : 9.00 -17.00