เนื่องด้วยวันที่ 10 กันยายน ของทุกปี ทางองค์การอนามัยโลกได้มีการกำหนดให้เป็นวันสำคัญอีกวัน คือ “วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก” เพื่อรณรงค์ให้ทั่วโลกตระหนักถึงปัญหาและการป้องกันการฆ่าตัวตาย ทางกรมสุขภาพจิตได้ระบุ ว่าการฆ่าตัวตายป้องกันได้ เช็คสัญญาณเสี่ยงพร้อมแนะช่องทางช่วยเหลือ ซึ่งหลังปี64 อัตราสำเร็จสูงสุดในรอบ 17 ปี อีกด้วย
• ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ >> ด้วยช่วงโควิด คนตกงาน ประกอบธุรกิจไม่ได้ บางกิจการต้องปิดตัวลง หนี้สิน ขาดรายได้
• ปัจจัยเรื่องความสัมพันธ์ >> คนในครอบครัว คนรอบข้าง ทั้งการดุ ด่า นินทา กดดัน ทำร้ายร่างกาย การสูยเสียคนในครอบครัว ถูกบูลลี่ เป็นต้น
• ปัจจัยการเจ็บป่วย >> มีประวัติการเจ็บป่วยทางจิตเวช เช่น โรคอารมณ์สองขั้ว โรคซึมเศร้า และโรคจิตเภท เป็นต้น
• ปัจจัยด้านสารเสพติดและการดื่มแอลกอฮอล์ >> สารเสพติดและแอลกอฮอล์ มีผลต่อการฆ่าตัวตายเพิ่มสูงมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยโดยตรง ไปกดสมองส่วนการยับยั้งชั่งใจ อารมณ์เก็บกด ความโกรธ ก้าวร้าว ถูกปล่อยออกมา ทำให้อาจคิดฆ่าตัวตายและลงมือทำได้ทันที นอกจากนี้ยังเป็นปัจจัยทางอ้อมคือ การดื่มหรือการใช้สาร ไม่เว้นแต่การพนัน ทำให้เสียเงิน เสียงาน เกิดความเครียด ซึมเศร้าอีกด้วย
ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวเนื่องจากความถี่ของปัญหามีมากขึ้น รวมทั้งระดับความเครียด ความกดดันที่สูงขึ้นของผู้คนในสังคม ในขณะที่ความแข็งแรงของสุขภาพจิตลดลงเรื่อยๆ หลายคนอาจเคยมีประสบการณ์ที่คนรู้จักหรือคนใกล้ชิดเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายมาแล้ว รวมทั้งมีประสบการณ์จากการสูญเสียซึ่งมีผลต่ออารมณ์ จิตใจและครอบครัวของตัวเอง อาจส่งผลทำให้ เครียด วิตกกังวล โรคซึมเศร้า หาทางออกไม่ได้ เป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดการฆ่าตัวตายมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ความรู้เกี่ยวกับวิธีสังเกตอาการผิดปกติ และการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจและถ้าถูกนำไปปฏิบัติ จะช่วยลดความสูญเสียของผู้คนในสังคมได้
1. คำพูด เช่น บ่นไม่อยากอยู่แล้ว อยากฆ่าตัวตาย อยากหายไป อยู่ไปก็เป็นภาระผู้อื่น พูดสั่งเสียล่วงหน้า
2. พฤติกรรม แยกตัว ดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้สารเสพติดมากขึ้น หาอุปกรณ์ทำร้ายตัวเอง ซึ่งการฆ่าตัวตายโดยใช้เชือกแขวนคอเป็นแนวทางที่พบมากที่สุด นอนไม่หลับ หรือการใช้ยานอนหลับที่มากเกินขนาด
3. อารมณ์ หดหู่ เศร้า โกรธง่าย อารมณ์แปรปรวน
4. เคยพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน
5. มีประวัติคนในครอบครัวเคยฆ่าตัวตาย
สำหรับวิธีป้องกัน บุคคลรอบข้าง ครอบครัว หรือคนใกล้ชิด คอยสังเกตสัญญาณเตือน หากพบว่ามีอาการเศร้า เบื่อ เซ็ง แยกตัว คิดวนเวียน นอนไม่หลับ มองโลกในแง่ลบ หรือโพสต์ข้อความเชิงสั่งเสีย ไม่อยากมีชีวิตอยู่ หมดหวังในชีวิต ซึ่งเป็นอาการบ่งบอกของโรคซึมเศร้าและเป็นสัญญาณเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ให้รีบเข้าไปพูดคุยช่วยเหลือพร้อมรับฟัง ตามหลัก 3 ส. คือ
1. สอดส่อง มองหา ผู้ที่มีความคิดทำร้ายตัวเอง หรือผู้ที่มีการส่งสัญญาณเตือนในการฆ่าตัวตาย
2. ใส่ใจรับฟัง ด้วยความเข้าใจ ชวนพูดคุย ให้ระบายความรู้สึก ไม่ตำหนิหรือวิจารณ์ โดยการรับฟังอย่างใส่ใจนั้นเป็นวิธีการที่สำคัญมีประสิทธิภาพมาก
3. ส่งต่อเชื่อมโยง เช่น การแนะนำให้โทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง แนะนำให้ไปพบบุคลากรสาธารณสุขหรือช่วยเหลือพาส่งโรงพยาบาลใกล้บ้าน
แต่หากคุณคือคนหนึ่งหรือมีคนใกล้ชิดที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ที่มีสาเหตุมาจากจากการติดยาเสพติดหรือติดแอลกอฮอล์ การปรึกษาศูนย์บำบัดยาเสพติดเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและความคิดฆ่าตัวตาย สามารถรับความช่วยเหลือและรับการรักษาอย่างเหมาะสม โดยศูนย์บำบัดยาเสพติด Day One มีทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาและการรักษาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการบำบัดแบบต่างๆ เช่น การให้คำปรึกษา การบำบัดทางจิตเวช การใช้ยารักษาโรค เป็นต้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและความต้องการของผู้เข้ารับการรักษา
อ้างอิง: https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2267 : กรมสุขภาพจิต
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
064-645-5091 [email protected]
จันทร์ – อาทิตย์ : 9.00 -17.00