064-645-5091    จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

พฤติกรรมของผู้ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด

IMG-BLOG
06 January 2022

พฤติกรรมของผู้ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด

วิธีสังเกตอาการผู้กำลังจะติดยาเสพติด รู้เท่าทันก่อนต้องพึ่งศูนย์บำบัดยาเสพติด


“ยาเสพติดเป็นภัยต่อชีวิต เป็นพิษต่อสังคม” สโลแกนนี้คนไทยทุกคนคงจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสำคัญและพยายามต่อต้านการแพร่ระบาดของยาเสพติด ประเทศไทยเราก็เป็นประเทศหนึ่งที่เผชิญกับปัญหายาเสพติดเช่นเดียวกัน และนับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ผู้ที่ติดยาเสพติดจะมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ดังนั้นคนในครอบครัวควรรู้วิธีสังเกตอาการของผู้ที่ติดยาเสพติดเพื่อระมัดระวังและป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงขึ้น

 

สาเหตุของการติดยาเสพติดเกิดจากอะไรได้บ้าง ?
 

1. สาเหตุจากตัวบุคคล มีความอยากรู้อยากลอง มีค่านิยมและความเชื่อที่ผิด เชื่อว่าสามารถทำงานได้มากขึ้น ทำให้สนุกสนาน อาจช่วยให้สบายใจ ลืมความทุกข์ และอยากเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อน
ขาดความรู้เกี่ยวกับโทษของการใช้ยาเสพติด ขาดทักษะการใช้ชีวิตที่เหมาะสม เช่น การจัดการความเครียดของตนเองไม่ได้จึงหันมาใช้ยาเสพติดแทน

2. สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม ครอบครัวแตกแยก การสื่อสารและความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ดี หรือมีคนในครอบครัวใช้ยาเสพติด
มีเพื่อนใช้ยาเสพติด อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงมาก สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการติด เช่น ใกล้สถานบันเทิง แหล่งมั่วสุม แหล่งที่มีการจำหน่ายยาเสพติด

3. สาเหตุจากสารเสพติด ยาเสพติดจะทำให้สมองสร้างสารเคมีให้รู้สึกมีความสุข เมื่อหยุดใช้ ยาเสพติดจะหมดฤทธิ์จึงทำให้ร่างกายเกิดอารมณ์หงุดหงิด เศร้า ส่งผลให้ผู้เสพยาพยายามหายาเสพติดมาใช้ซ้ำ จนสมองอาจถูกทำลาย ทำให้ไม่สามารถหยุดการใช้ได้จนเกิดการติดขึ้น

 

เส้นทางการติดยาตั้งแต่เริ่มเสพ จนกระทั่งติด แบ่งได้ 4 ระยะ
 

1. เริ่มทดลองอยากรู้อยากเห็น เมื่อมีคนแนะนำให้ทดลอง ร่วมกับความรู้สึกอยากลองหรือใช้ สุรา บุหรี่ อยู่เดิมแล้ว ซึ่งสารเหล่านี้ทำให้เกิดการเรียนรู้ว่าสารทำให้เกิดความพึงพอใจ สบายได้มากกว่าที่เป็นอยู่ หรือเพิ่มพละกำลังในการทำงาน

2. ใช้เป็นครั้งคราว เกิดความติดใจในผลของยาเสพติด เรียนรู้ว่าหากใช้ปริมาณมากขึ้นก็จะได้รับผลความรู้สึกดีมากขึ้นเป็นอย่างมาก

3. ใช้สม่ำเสมออย่างพร่ำเพรื่อ หมกมุ่นกับการหายาเสพติดมาใช้ มีอาการเมายา การทำงาน การเรียนแย่ลง สัมพันธภาพกับคนรอบข้างไม่ดีใช้จ่ายเงินสิ้นเปลือง หรืออาจถูกจับเพราะเสพหรือค้ายาเสพติด

4. เกิดภาวะพึ่งสุรายาเสพติด ใช้สารมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนเกิดอาการทนต่อยาและภาวะถอนยา หรือมีการใช้เกินขนาดโดยไม่ได้ตั้งใจ

 

จะสามารถสังเกตอาการของผู้ติดยาเสพติดได้อย่างไร ?
 

ยาเสพติดเมื่อเกิดการเสพติดแล้ว จะมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ ซึ่งทำให้ลักษณะและพฤติกรรมของผู้เสพเปลี่ยนไปจากเดิม ที่อาจสังเกตพบได้ คือ

1. สุขภาพเสื่อมโทรม ร่างกายไม่แข็งแรง น้ำหนักลด ซูบผอม เหงื่ออกมาก กลิ่นตัวแรง

2. มีรอยกรีดด้วยของมีคม เป็นรอยแผลเป็น/รอยเข็มฉีดยา ตามร่างกาย

3. อารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย พูดจาก้าวร้าว มักทะเลาะวิวาทและทำร้ายผู้อื่น

4. พฤติกรรมเปลี่ยนไป ละเลยกิจวัตรประจำวัน ขาดความรับผิดชอบ ผลการเรียนแย่ลง แยกตัว เก็บตัว ไม่สุงสิงและไม่รับรู้ปัญหาภายในบ้าน

5. การแต่งกายเปลี่ยนไป มักใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขา เพื่อปกปิดรอยแผล สวมแว่นตาดำตลอดเวลา เพื่อปกปิดแววตา

6. การใช้เงินสิ้นเปลือง เริ่มมีหนี้สิน มีการลักขโมย เพื่อนำเงินไปซื้อยาเสพติด

7. มีอุปกรณ์การเสพยาเสพติด เช่น หลอดกาแฟ เข็มฉีดยา กระดาษ ไฟแช็ค

8. การสังเกตอาการขาดยา ได้แก่ มีอาการกระสับกระส่าย กระวนกระวาย อยากยาเสพติดจนตัวสั่น หายใจถี่ มีน้ำมูกไหลน้ำ ตาไหล หาวบ่อยคลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อนตามร่างกาย ปวดเสียวในกระดูก อาจถ่ายอุจจาระเป็นเลือดที่เรียกกันว่า “ลงแดง”


ในสถานการณ์ปัจจุบันพบเครือข่ายผู้ใช้ยาเสพติดบนอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก ทั้ง Twitter และ Facebook และยังมีการซื้อขายยาเสพติดผ่านทาง Line การติดต่อผ่านทางออนไลน์ จบการขายด้วยการโอนเงินและนัดรับ หรือส่งทางไปรษณีย์ขนส่งต่าง ๆ สิ่งที่น่ากังวลคือการซื้อขายออนไลน์มีแนวโน้มเป็นการซื้อขายรายใหญ่มากขึ้น มีการสต็อกสินค้าและจัดโปรโมชั่นลด แลก แจก แถม เพื่อดึงดูดความสนใจ เราจึงควรให้ความสำคัญกับการลักลอบซื้อขายยาเสพติดผ่านสังคมออนไลน์ เพราะปัจจุบันนี้สามารถเข้าถึงออนไลน์ได้ 24 ชั่วโมง

 

การป้องกันปัญหายาเสพติดทำได้อย่างไรบ้าง ?
 

1. ป้องกันโดยตนเอง ศึกษาหาความรู้เกี่ยวพิษภัยของสารเสพติด ไม่ทดลองใช้สารเสพติดและรู้จักปฏิเสธเมื่อถูกชวน เลือกคบเพื่อนที่ดี ชักชวนกันไปในทางที่สร้างสรรค์ และเมื่อมีปัญหาชีวิตหรือเครียด ให้หาทางออกที่ไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด หากไม่สามารถแก้ไขได้ให้ปรึกษาครอบครัวหรือผู้ใหญ่

2. ครอบครัว สร้างความรักความอบอุ่น ความสัมพันธ์ที่ดีแก่กันในครอบครัว ดูแลสมาชิกในครอบครัวไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด ให้กำลังใจกันและกันภายในครอบครัว

3. ชุมชนและสังคม ควรช่วยเหลือแนะนำให้เข้ารับการรักษาและบำบัดยาเสพติดโดยเร็วหากพบบุคคลติดยาเสพติด และหากทราบแหล่งจำหน่าย นำเข้า พักยา มั่วสุม ให้แจ้งเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทันที


ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่ไม่ว่าใครก็ไม่ควรมองข้าม เพราะจะนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ได้มากมาย ทั้งการเรียน การทำงาน การใช้ชีวิต ปัญหาด้านสุขภาพ หรือแม้แต่ก่ออาชญากรรม เห็นได้ว่าไม่ใช่เพียงแค่ตัวผู้เสพหรือครอบครัวเท่านั้น แต่รวมถึงคนในสังคมด้วย การรู้ถึงปัญหาการติดยาเสพติดให้เร็วที่สุดก็เป็นสิ่งสำคัญและมีผลต่อการดูแลรักษาและป้องกันการกลับมาใช้ยาเสพติดซ้ำเป็นอย่างมาก


ศูนย์บำบัดยาเสพติด Day one rehab center ที่เป็นสถานบำบัดยาเสพติดกินนอน ได้มองเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจึงผสมผสานการบำบัดยาเสพติดที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลเพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จสูงสุด โดยหวังให้บุคคลที่ติดยาเสพติดหายหรือเป็นปกติจนสามารถใช้ชีวิตประจำวัน และกลับเป็นบุคคลในครอบครัวอันเป็นที่รักและพลังของสังคมเพื่อพัฒนาประเทศชาติต่อไป


ติดต่อเรา
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
064-645-5091
[email protected]
จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

บทความล่าสุด

แก๊สหัวเราะกับความสนุกชั่วคราว
แก๊สหัวเราะคืออะไรและอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อร่างกายและสุขภาพจิต
05 January 2024
วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day)
ความรู้เกี่ยวกับวิธีสังเกตอาการผิดปกติเพื่อช่วยลดความสูญเสียของผู้คนจากการฆ่าตัวตาย
11 September 2023
มารู้จัก กับ “Panic Disorder”
สังเกตอาการและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแพนิค” (Panic Disorder)
15 August 2023
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ มักเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีปัญหาในการรับมือกับความเครียด หรือเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันและส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถปรับตัวหรือทำใจยอมรับได้
21 June 2023
นโยบายเกี่ยวกับกัญชาเสรี
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและยาเสพติดของแต่ละพรรคนั้นมีทิศทางอย่างไรต่อไปถ้าได้เป็นรัฐบาล
21 June 2023
แค่นิสัย หรือ บุคลิกภาพผิดปกติ?
บุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorder) คือ รูปแบบความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม เกิดความไม่ยืดหยุ่นและการปรับตัวไม่ได้ดี ซึ่งอาจฝังในในจิตใจและก่อให้เกิดปัญหา เช่น ด้านการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่น การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปไมได้
21 June 2023
ฝึกทักษะชีวิต เพื่อบำบัดยาเสพติด หรือป้องกันการติดยาเสพติด
ปรับสมดุลใหม่ในชีวิต เพื่อห่างไกลจากสารเสพติดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด Day One
21 June 2023
โรคกลัวสังคม กับการบำบัดยาเสพติด
โรคกลัวสังคมมีส่วนทำให้ติดสารเสพติดตามมาได้ โดยเฉพาะสารเสพติดในกลุ่มสารกดประสาท เช่น แอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับบางชนิด หรือ สารเสพติดกลุ่มฝิ่น เช่น เฮโรอีน เนื่องจากเมื่อผู้ที่เป็นโรคกลัวสังคมใช้สารเหล่านี้แล้ว สารจะไปกดประสาททำให้ความกลัว ความกังวลลดลง
23 January 2023
โรคเสพติดการพนัน
โรคเสพติดการพนัน เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถบังคับตนเอง จะสนใจหมกมุ่นอยู่กับการพนันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อผิดหวังกับผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้มีอาการข้างเคียง เช่น อาการซึมเศร้า ดื่มสุรา และอาจรุนแรงถึงขั้นใช้สารเสพติด หรือจะเป็นปัญหาชีวิตในด้านต่าง ๆ
13 December 2022
กัญชาทางการแพทย์กับกัญชาเพื่อเสพ ต่างกันอย่างไร
ถึงแม้กัญชาทางการแพทย์จะมีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคบางโรค แต่ก็ไม่ได้แนะนำใช้เป็นการรักษาลำดับแรก เพราะว่ามีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่ายาหลัก การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาควรใช้เพื่อเป็นส่วนเสริม หรือควบรวมกับการรักษาตามมาตรฐาน ไม่สามารถเอามาเป็นการรักษาหลักได้
21 November 2022
วิธีเลิกเหล้าและแนวทางการบำบัด
เลิกเหล้าได้สำเร็จ ด้วยวิธีเลิกเหล้าด้วยตนเองและวิธีเลิกเหล้าโดยพบแพทย์
21 June 2022
ทัศนคติผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น
แนวทางการบำบัดยาเสพติดในวัยรุ่น
21 June 2022
จะเกิดอะไรขึ้นหลัง 9 มิ.ย. 2565 กฎหมาย "ปลดล็อก" กัญชง กัญชา ออกจากยาเสพติด
ถึงแม้ทางกฎหมายกัญชาจะถูกปลดออกจากยาเสพติด แต่ความจริงคือกัญชายังคงมีฤทธิ์เป็นสารเสพติดให้โทษ มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลายชนิด โดยเฉพาะ THC ซึ่งส่งผลเสียทำให้ ระดับเชาวน์ปัญญาลดลง (IQ ต่ำลง) สมองฝ่อ เกิดอาการเสพติด เสี่ยงต่อการเกิดโรคจิต โรคไบโพลาร์ โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
10 June 2022
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างบำบัดยาเสพติด
วิธีจัดการกับอาการอยากยา เพื่อได้รับการบำบัดยาเสพติดอย่างถูกต้อง
28 April 2022
ความแตกต่างของการบำบัดรูปแบบชุมชนบำบัด (Therapeutic community) และการบำบัดเฉพาะบุคคล (Individual program)
ชุมชนบำบัด หรือ Therapeutic Community  (T.C.) เป็นการบำบัดรักษาที่จำลองรูปแบบการดำรงชีวิตในสังคม เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดได้ใช้ชีวิตโดยปราศจากสารเสพติด รับผิดชอบหน้าที่ในชีวิตประจำวัน ปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม โดยเริ่มตั้งแต่การปรับพฤติกรรม ความสามารถ แนวความคิด และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจในตัวเอง และเสริมสร้างความมั่นใจ ฝึกฝนสร้างเป็นอุปนิสัยจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้แบบปกติ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด
11 August 2022
ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดการกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำหลังเข้าบำบัดยาเสพติด
ทำความเข้าใจว่าเพราะเหตุใดทำให้หวนกลับไปใช้ยาเสพติด เพื่อลดการเสพติดซ้ำ
29 March 2022
6 แนวคิดดี ๆ เปลี่ยนมุมมองชีวิตใหม่ หลังเข้าบำบัดยาเสพติด
การปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติดแล้ว ให้สามารถลุกขึ้นมาเดินหน้าใหม่
06 March 2022
เทคนิคการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นคนใหม่หลังจากออกจากสถานบำบัดยาเสพติด
การปรับทัศนคติที่มีต่อผู้บำบัดยาเสพติด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมไทย
06 March 2022
การเทรดคริปโทเคอร์เรนซี กับความเสี่ยงในการเสพติดการพนัน
งานวิจัยไม่ได้หมายความว่าการเทรดคริปโต เป็นการพนัน แต่พฤติกรรมของเทรดเดอร์เองต่างหากเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีพฤติกรรมที่เข้าข่ายติดพนันหรือไม่
28 February 2022
ดูแลผู้ต้องการบำบัดยาเสพติดอย่างไรเมื่อมีอาการอยากยา
การเข้าสถานบำบัดยาเสพติดเพื่อรักษาอาการอยากยาได้อย่างถูกต้อง
28 February 2022
ครอบครัวและความล้มเหลวในการบำบัดยาเสพติด
หลายครั้งที่ครอบครัวกลายเป็นผู้ส่งเสริมพฤติกรรมทางอ้อมให้คงใช้สารเสพติด
07 February 2022
ความรุนแรงของสารเสพติดประเภทยาไอซ์ โคเคน
แนะนำวิธีการบำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูผู้ติดยาไอซ์และโคเคน
07 February 2022
พฤติกรรมของผู้ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด
วิธีสังเกตอาการผู้กำลังจะติดยาเสพติด รู้เท่าทันก่อนต้องพึ่งศูนย์บำบัดยาเสพติด
06 January 2022
Day One ได้รับรองมาตรฐานสถานพยาบาลประเภทสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ (สถานบำบัดยาเสพติด)
สถานบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด สถานบำบัดยาเสพติด ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
28 February 2022
ผลกระทบจากวิธีเลิกยาเสพติดด้วยตนเอง
เลิกยาเสพติดด้วยตนเอง อันตรายกว่าที่คุณคิด
23 May 2022
อาการของผู้ติดยาเสพติด ที่ต้องรับการบำบัดยาเสพติด
โปรแกรมการบำบัดยาเสพติดสำหรับบุคคล สำหรับอาการของผู้ติดเสพติดที่หลากหลาย
23 February 2022
เลิกยาเสพติดที่สถานบำบัดยาเสพติด
เข้าบำบัดยาเสพติด 28 วัน โดยทีมแพทย์ เพิ่มโอกาสสำเร็จในการเลิกยาเสพติด
23 February 2022
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้าสถานบำบัดยาเสพติด กับ DAY ONE REHABILITATION CENTER
การสังเกตเมื่อไหร่ที่ครอบครัวควรพาผู้ที่ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดยาเสพติด หากคนในครอบครัวหรือคนที่คุณรักกำลังใช้ยาเสพติดอยู่ คุณควรสังเกตอาการเหล่านั้น และปรึกษา หาทางแก้ไขเพื่อเข้าบำบัดยาเสพติดได้อย่างถูกวิธี
23 February 2022
กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภทต่างๆ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เพื่อควบคุมการใช้ยาเสพติดผิดกฎหมาย
23 February 2022
ปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 ซึ่งจะมีผลวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นการปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้ อย่างไรก็ตามหากมีการนำไปผสมยาเสพติดอื่นๆ เช่น 4x100 เป็นความผิดตามกฎหมาย
23 February 2022
ควรทำอย่างไรเมื่อมีคนในครอบครัวติดยาเสพติด
การปฏิบัติตัวของญาติหรือผู้ใกล้ชิดผู้ติดยาเสพติด เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดเข้าสู่การบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี
23 February 2022
หลัก 12 ขั้นตอน (Twelve steps) วิธีเลิกเหล้า เลิกสุรา วิธีเลิกยาเสพติด
หลักการ 12 ขั้นตอน ริเริ่มมาจาก บุคคล 2 คนที่ติดสุรามาก่อน พวกเขาร่วมมือกันเลิกสุราและก่อตั้ง กลุ่ม AA (alcoholic anonymous) ขึ้น พร้อมกับคิดค้นหลักการ 12 ขั้นตอนไปสู่การเลิกสุรา ต่อมาหลักการนี่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ติดสุราและยาเสพติด และค้นพบว่าสามารถทำให้ไปสู่การเลิกเสพได้อย่างต่อเนื่อง
23 May 2022
ยาเสพติดรอบตัวที่พบบ่อย
ยาเสพติดชนิดธรรมชาติ เป็นสารที่กลั่น หรือ สกัดได้จากพืชบางชนิดโดยตรง เช่น ฝิ่น โคเคน กัญชา รวมทั้งการนำสารจากพืชเหล่านั้นมาปรุงเป็นอย่างอื่น โดยกรรมวิธีทางเคมี เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ซึ่งทำมาจากฝิ่น เป็นต้น
23 February 2022
โรคสมองติดยา สมองติดยาได้อย่างไร
การติดยาเสพติดเป็นกระบวนการต่อเนื่องเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจากการเสพยาเป็นครั้งคราว สู่การเสพที่ถี่ขึ้นจนเสพทุกวันและวันละหลายครั้ง การเสพยาเสพติดเกี่ยวข้องกับสมอง 2 ส่วนคือ สมองส่วนคิด (Cerebral Cortex) และสมองส่วนอยาก (Limbic System)
23 February 2022