ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “เหล้า” หรือ เรียกว่า “สุรา” คือสารเสพติด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติ หรือจากการสังเคราะห์ จัดเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีเอทิลแอลกฮอล์เป็นส่วนผสม ซึ่งเอทิลแอลกฮอล์ เป็นแอลกอฮอล์ได้จากการแปรรูปจากพืชจำพวกแป้งและน้ำตาล เช่น อ้อย ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง มีฤทธิ์ในทางเสพติดคือ ออกฤทธิ์กดประสาท มีการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทั้งเบียร์และสุราเป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีคุณค่าทางอาหารต่ำ และมีแคลอรีสูง
ปัจจุบันสุราเป็นสารเสพติดอีกชนิดที่มีผู้ใช้เกือบทุกกลุ่มวัย เพราะหาซื้อง่ายและไม่ได้ตระหนักกว่ามันคือสารเสพติดที่สร้างอันตรายนั้นเอง และเป็นจุดเริ่มต้นที่อาจจะนำไปสู่การเสพสารติดอื่น ๆ ก่อให้เกิดผลเสียทั้งทางด้านร่ายกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
โดยทั่วไปคนเรามักดื่มสุราเนื่องจากสาเหตุหลักฯ คือ ต้องการความสุข อยากคลายความทุกข์ เคยชินและสมองติดสุรา จากที่ดื่มเพราะความเคยชิน ก็จะกลายเป็นภาวะของโรงสมองติดสุรา ต้องการอยากดื่มมาก หากไม่ดื่มก็มักจะมีอาการทรมานเกิดขึ้น เช่น มือสั่น ใจสั่น อาเจียน คลื่นไส้ ประสาทหลอน เพ้อคลั่ง เป็นต้น
1. การหยุดดื่มโดยทันที (หักดิบ)
การหยุดดื่มสุรา โดยทันทีเหมาะสำหรับผู้มีปัญหาการดื่มสุราที่ไม่มีอาการถอนพิษสุราในช่วงเช้าหลังตื่นนอน เช่น มือสั่น ใจสั่น อาเจียน คลื่นไส้ เป็นต้น และไม่เคยมีอาการถอนพิษสุราที่รุนแรงหลังหยุดดื่มสราในอดีต เช่นอาการชัก กระสับกระส่ายรุนแรง สับสน หูแว่วเป็นต้น
ผู้ที่หักดิบ ควรสังเกตอาการของตัวเอง โดยเฉพาะ 3 วันแรก หากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง มือสั่น ใจสั่น เหงื่อแตก หงุดหงิดกระสับกระส่ายเพิ่มมากขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อช่วยบำบัดในการ ถอนพิษสุรา โดยผู้ที่เลิกดื่มในช่วงเริ่มต้น ควรปฏิบัติตนดังนี้
• รับประทานอาหารให้เพียงพอ
• จิบน้ำหวานบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย
• หลีกเลี่ยงอาหารมัน รับประทานวิตามิน B1-6-12
• นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามทำกิจกรรมที่สร้างความสุขใจ ไม่ปล่อยให้ตนเองว่าง ผ่อนคลาย ความเครียดด้วยดนตรี เล่นกีฬาเบาๆ ทำงานศิลปะ เป็นต้น
• หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เสี่ยงหรือตัวกระตุ้นเร้าให้อยากดื่ม เช่น ร้านขาย สุรา เพื่อนที่ดื่ม เป็นต้น
• บอกกับบุคคลในครอบครัวและคนใกล้ชิดว่าตนเองกำลังเลิกสุรา ช่วยเป็น กำลังใจให้ด้วย
• ปฏิเสธเพื่อนที่มาชวนดื่มว่า เช่น ตนเองกำลังมีปัญหาโรคตับ หมอสั่งให้งดการดื่ม
• หากผู้มีปัญหาการดื่มสุราเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ด้วย ควรควบคุมปริมาณบุหรี่ที่สูบ ไม่ให้เพิ่มมากขึ้น หรือหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่เป็นทางออก
2. การลดปริมาณ
การลดปริมาณสุราลดลง จะทำให้สุขภาพดีขึ้น ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ก็ลดลงตาม และอาจเป็นอีกหนทางหนึ่งในการหยุดดื่มสุราอย่างเด็ดขาด อย่างไรก็ตามไม่มีปริมาณการดื่มใดที่ไม่เสี่ยง และผู้ที่ติดสุรามักจะไม่ประสบความสำเร็จในการลดปริมาณการดื่มลง การหยุดดื่มสุราทั้งหมดจะทำให้ประสบความสำเร็จในการเลิกระยะยาวมากกว่า
วิธีการลดปริมาณการดื่มให้สำเร็จ มีแนวทางดังต่อไปนี้
• กำหนด และจำกัดปริมาณที่จะดื่ม
• ทานอาหารก่อนดื่ม หรือดื่มพร้อมอาหาร
• หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม เพราะจะทำให้กระหายน้ำ จนต้องดื่มบ่อย
• เลือกเครื่องดื่มที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ เช่น ดื่มเบียร์ หรือไวน์ เป็นต้น
• ดื่มแบบผสมให้เจือจาง เพื่อลดความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ ดื่มน้ำเปล่าสลับบ้างระหว่างที่ดื่มสุรา
• ทำกิจกรรมที่ให้ความสุขใจอย่างอื่นทดแทน เช่น ดนตรี เล่นกีฬา งานอดิเรกต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เคยดื่มเป็นประจำ
• หลีกเลี่ยงกลุ่มเพื่อนที่เคยดื่มด้วยกัน แต่พบปะหรือเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อนที่ไม่ดื่มแทน
• หากถูกชักชวนให้ดื่ม ให้ปฏิเสธโดยตรงว่า “มีปัญหาสุขภาพ หมอสั่งไม่ให้ดื่ม”
• ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะหลังดื่มสุรา
• งดการดื่ม เมื่อมีปัญหาสุขภาพเกิดขึ้น และไม่ควรดื่มสุราเมื่อมีการทานยาทุกชนิด
• หากผู้มีปัญหาการดื่มสุราไม่ประสบความสำเร็จในการลดปริมาณการดื่ม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับความช่วยเหลือต่อไป
อ้างอิงจาก : ธวัชชัย กุศลและคณะ(2557) “รอบรู้เรื่องสุรา :1413 สายด่วนเลิกสุรา” ครั้งที่2 ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา [คู่มือ] /วนิดาการพิมพ์
เป็นการเข้าปรึกษาเรื่องการบำบัดผู้ติดสุรา ในโรงพยาบาลแผนกจิตเวช หรือแผนกอื่น ๆที่รับการบำบัด รวมทั้งศูนย์หรือสถานบำบัดสุราต่าง ๆ เช่น ศูนย์บำบัดยาเสพติด DAY ONE REHABILITATION CENTER
ขั้นตอนการบำบัดโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
1. ขั้นเตรียมการบำบัด ในขั้นนี้ แพทย์จะทำการตรวจประเมินสุขภาพให้ความรู้ สร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วยเลิกสุรา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการบำบัด
2. ขั้นตอนถอนพิษสุรา ในขั้นนี้เป็นการช่วยหยุดสุราเองต้น ช่วยบรรเทาอาการถอน โดยให้ยาชดเชย และป้องกันอาการถอนรุนแรง ใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ในบางรายแพทย์อาจจำเป็นต้องรับผู้ป่วยเข้าถอนพิษในโรงพยาบาล เพื่อติดตามอาการใกล้ชิด และให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
3. ขั้นฟื้นฟูสมรรถภาพ ในขั้นนี้เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยหยุดสุราต่อเนื่องช่วยให้ผู้ป่วยทนต่ออาการอยากสุราได้ ดำรงชีวิตโดยไม่กลับไปดื่มสุรา ปรับตัวกับครอบครัวและสิ่งแวดล้อมได้
4. ขั้นติดตามผล ในขั้นนี้เป็นการติดตามผลการบำบัดรักษาฟื้นฟู และช่วยเหลือให้ผู้ป่วยมีวิถีชีวิตปกติและหยุดสุราได้อย่างต่อเนื่อง ระยะเวลาประมาณ 1-2 ปี
การบำบัดรักษาที่ได้ผลดีขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ผู้ป่วยมีแรงจูงใจในการเลิกสุราโดยเด็ดขาด ผู้ป่วยมารับการบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่อง ครอบครัวให้การสนับสนุนและร่วมมือกับแพทย์ ไม่มีอาการทางจิตเวชรุนแรงแทรกซ้อน เป็นต้น
ศูนย์บำบัดยาเสพติดเอกชนอย่าง DAY ONE ก็มีรูปแบบการบำบัดการรักษาที่ยึดแนวการบำบัดแบบองค์รวม เป็นสถานบำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับผู้ที่มีปัญหาจาก แอลกอฮอล์ สารเสพติด และการพนัน เพื่อฟื้นฟูทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม มีการบำบัดด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การบำบัดความคิดและพฤติกรรม การบำบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจและครอบครัวบำบัด เพื่อการบำบัดรักษาอย่างครบวงจร รวมถึงการปรับตัวให้เข้ากับสังคม ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ในการเลิกสุรา สารเสพติดได้ เป็นต้น
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
064-645-5091
[email protected]
จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00