064-645-5091    จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

ครอบครัวและความล้มเหลวในการบำบัดยาเสพติด

IMG-BLOG
12 August 2024

ในครอบครัวที่มีผู้ติดสารเสพติดอยู่บ้านหรือกำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการเลิกยาเสพติด หรือกำลังหาวิธีเลิกยาเสพติด ครอบครัวมีบทบาทบาทสำคัญอย่างมากต่อการเลิกสุรายาเสพติด เนื่องจากเป็นทั้งคนที่คอยให้กำลังใจ คอยเป็นห่วงคอยเตือน คอยสอน เจตนาดี หวังดี คอยช่วยเหลือต่าง ๆ แต่บางครั้งการช่วยเหลือที่ไม่ถูกวิธีกลับกลายเป็นการส่งเสริมให้ผู้ติดสารเสพติดยังคงใช้สารเสพติดอยู่ หรือทำให้ไม่สามารถเลิกใช้ยาเสพติดได้ โดยที่คนในครอบครัวไม่รู้ตัว 

ยกตัวอย่างจากข่าวที่เราสามารถพบเจอได้โดยทั่วไป เป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2564 หญิงอายุ 65 ปี แม่ผู้ก่อเหตุ เปิดใจทั้งน้ำตาว่า เธอรู้มาตลอดว่าลูกมีพฤติกรรมเสพยาเสพติด ซึ่งเธอเคยอ้อนวอนขอให้เลิก แต่กลับถูกขู่จะทำร้ายร่างกายอยู่บ่อยครั้ง จึงจำใจแจ้งตำรวจให้จับกุมลูกชาย หวังจะดัดนิสัย จากนั้นก็ได้นำเงินสดจำนวน 20,000 บาท ยื่นขอประกันตัวลูกชายออกมา กระทั่งวันเกิดเหตุ ลูกชายเกิดคลุ้มคลั่งจากการเสพยาเสพติด อาละวาดทำลายข้าวของภายในบ้าน ซึ่งเธอพยายามตะโกนสุดเสียงบอกให้ หยุด! เพื่อหวังจะเรียกสติให้กลับคืนมา แต่ลูกชายกลับตะคอกเสียงใส่ พร้อมขู่จะเอาเงินไปซื้อยาเสพติด วินาทีนั้นเห็นท่าไม่ดี จึงรีบวิ่งหนีออกจากบ้าน ก่อนจะโทรศัพท์แจ้งตำรวจให้เข้ามาระงับเหตุ (ที่มา : https://news.ch7.com/detail/523643)

จากข่าวในกรณีข้างต้นจะเห็นได้ว่า แม่รู้มาตลอดว่าลูกติดสารเสพติด  อดทนมาตลอด เมื่อถูกขู่ หรือทำร้ายร่างกาย จึงตัดสินใจแจ้งตำรวจจับลูกไปแล้ว แต่ด้วยความรักลูก เป็นห่วง สงสารลูก ไม่อยากทำร้ายลูก กลัวลูกลำบาก หรือโกรธตัวเอง สุดท้ายต้องยอมจำใจประกันตัวลูกออกมา ซึ่งสุดท้ายลูกก็ยังคงกลับไปใช้สารเสพติดเหมือนเดิม พฤติกรรมของแม่ดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็น “พฤติกรรมส่งเสริมทางอ้อมของครอบครัวที่ทำให้ใช้สุรายาเสพติด” 



พฤติกรรมส่งเสริมทางอ้อมที่ทำให้ยังคงใช้สารเสพติด (Enabling)

หมายถึง พฤติกรรมที่บุคคลรอบข้างเอื้อให้ผู้ติดสารเสพติดหรือผู้ที่กำลังบำบัดยาเสพติด ยังคงใช้สารเสพติด กลายเป็นเงื่อนไขที่ทำผู้เสพยาเสพติดยังคงเสพยาต่อเนื่อง หรือพฤติกรรมที่ทำแล้วเป็นการให้รางวัลกับผู้ติดเสพยาเสพติดทางอ้อม เป็นการช่วยหลีกเลี่ยงผลร้ายที่เกิดจากการเสพยาเสพติด ซึ่งนอกจากตัวอย่างของแม่ที่ยอมติดสินบนตำรวจ หรือยอมประกันตัวลูกแล้ว ยังมีอีกหลายพฤติกรรมของคนในครอบครัวที่เป็นการส่งเสริมทางอ้อม โดยที่ครอบครัวไม่รู้ตัว ยกตัวอย่างเช่น

• แม่พ่อที่ให้เงินลูกไปใช้สารเสพติด เพราะทนรำคาญหรือทนอารมณ์ลูกติดยาไม่ไหว         
• พ่อแม่ที่ไปซื้อยาเสพติดให้ลูกที่ติดยา เพราะกลัวลูกจะลงแดงตายเมื่อขาดยา
• พ่อแม่ที่ไปซื้อยาเสพติดให้ลูกที่ติดยา เพราะกลัวลูกถูกตำรวจจับ
• แม่ที่ช่วยปิดบังความลับของลูกที่ไปใช้ยาเสพติด เพราะกลัวว่าจะถูกพ่อทำโทษ
• แม่ที่คอยแก้ตัวให้ลูกเรื่องพฤติกรรมที่ไม่ดีที่เกิดจากการเสพยา
• พ่อให้เงื่อนไขกับลูกว่า ถ้าเลิกยาเสพติดได้จะซื้อรถยนต์หรือซื้อของที่อยากได้ให้
• ภรรยาที่ยอมทำตามสามีที่ติดยาทุกๆอย่าง เพราะกลัวว่าสามีมราติดยาเสพติดจะทิ้ง
• พ่อแม่ที่ไม่พาลูกไปรักษา เพราะกลัวทางโรงเรียนหรือที่ทำงานจะทราบ  ฯลฯ


ผู้ที่มีพฤติกรรมส่งเสริมทางอ้อมที่ทำให้ใช้สุรายาเสพติด (Enablers)

โดยปกติแล้วคนที่เป็น Enablers นั้นไม่ได้มีเจตนาอยากให้ผู้ใช้สารเสพติด แต่ทำไปเพื่อปกป้องหรือเจตนาอื่นๆ ซึ่งในระยะยาวกลายเป็นทำลายผู้ใช้สารเสพติดโดยไม่ตั้งใจ นอกจากนี้การมีพฤติกรรมส่งเสริมทางอ้อมนี้จะทำให้เกิดความรู้สึกทางลบต่างๆกับตัวเอง และผู้ติดสารเสพติดอีกด้วย เช่น

• ความรู้สึกผิด กลัวและกังวล เพราะคิดว่าตัวเองอาจเป็นส่วนหนึ่งของปัญหานี้
• หงุดหงิดหรือโกรธ เพราะแม้แต่ป้องป้องให้ ผู้ติดสารเสพติดยังคงไม่เชื่อฟัง ยังคงใช้สารเสพติดอยู่
• สิ้นหวัง ซึมเศร้า เนื่องจากเป็นปัญหาวุ่นวายยากที่จะจัดการได้
• รู้สึกแปลกแยก เพราะเหนื่อยในการแก้ปัญหาอยู่คนเดียวในที่สุดก็จะละทิ้งเลิกยุ่งเกี่ยวกับผู้ที่ใช้สารเสพติด


ครอบครัวสามารถช่วยบำบัดยาเสพติดกับผู้ติดสารเสพติดได้อย่างไร?

คนในครอบครัวสามารถช่วยเหลือคนที่เรารักให้หยุดพฤติกรรมการเสพติดได้ โดยการรู้เท่าทันพฤติกรรมที่ส่งเสริมทางอ้อมและให้ความช่วยเหลืออย่างถูกวิธี ได้ดังนี้

 1. การสื่อสารอย่างเข้าใจ - วิธีที่ควรทำคือเปิดอกคุยกันอย่างจริงใจ เปิดอก เปิดใจ เปิดโอกาสให้รู้ถึงสาเหตุที่ทำให้เขาหันไปหายาเป็นการแสดงออกถึงความรักและความเข้าใจที่คนในครอบครัวมีต่อผู้ติดสารเสพติด ทั้งครอบครัวและผู้ติดยาต้องสามารถเปิดใจพูดคุยสื่อสารถึงความรู้สึกและความต้องการของทั้งสองฝ่ายให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน ซึ่งเป็นผลดีกว่าการตำหนิ บังคับ กดดัน หรือดุด่าเพื่อให้เลิกใช้ยา รังแต่จะเพิ่มความเครียดให้ผู้เสพและหันไปพึ่งยาเสพติดเหมือนเดิม

 2. การกำหนดขอบเขตที่ชัดเจน - คนในครอบครัวจะต้องสร้างกฎข้อบังคับที่ชัดเจน เพื่อที่จะหยุดพฤติกรรมการใช้สารเสพติด

 3. การสร้างจุดมุ่งหมายร่วมกันระหว่างผู้ติดสารเสพติดและครอบครัว - การสร้างจุดมุ่งหมายร่วมกัน จะทำให้ทั้งผู้ติดสารเสพติดและครอบครัวมองไปยังจุดมุ่งหมายเดียวกัน

 4. การไม่แก้ตัวแทน – การแก้ตัวให้ผู้ใช้สารเสพติด เป็นการช่วยสนับสนุนให้เขายังคงต้องเสพสารเสพติดอยู่

 5. การศึกษาข้อมูลที่ถูกต้องในการดูแลผู้ติดสารเสพติด - ครอบครัวผู้ติดติดยาเสพติดต้องเรียนรู้เรื่องการดูแลที่เหมาะสม เรียนรู้เรื่องอาการผู้ติดสารเสพติด หรือข้อมูลเพื่อสังเกตอาการเกี่ยวกับสถานการณ์หรือตัวกระตุ้นที่จะทำให้ผู้ติดสารเสพติดที่ได้รับการบำบัดยาเสพติดแล้วกลับไปเสพยาเสพติดอีกครั้ง และควรหลีกเลี่ยงที่จะไม่เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ติดสารเสพติดหันกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำ

 6. การดูแลตัวเองของครอบครัว - ครอบครัวติดยาเสพติดหรือผู้ที่อยู่ในขั้นตอนบำบัดยาเสพติดจะต้องให้เวลากับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตของคนในครอบครัว ต้องไม่ลืมรักษาการใช้ชีวิตของตัวเองให้สมดุล และไม่ลืมเป้าหมายของตัวเอง และไม่ลืมให้ความสำคัญในการดูแลตัวเองด้วยเช่นเดียวกัน

 7. การรีบพาผู้ติดสารเสพติดไปพบแพทย์หรือเข้าสถานบำบัดยาเสพติด – เพื่อช่วยควบคุมสถานการณ์และผู้เชี่ยวชาญสามารถแนะนำคนในครอบครัวได้ผ่านการบำบัดยาเสพติด ว่าควรจะให้กำลังใจผู้เสพติดอย่างไรและสามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนในครอบครัวด้วย 


ศูนย์บำบัดยาเสพติด day one rehabilitation center เป็นสถานบำบัดยาเสพติดกินนอน ผู้บำบัดยาเสพติดจะได้รับการดูแลจากแพทย์และทีมสหวิชาชีพ ที่ให้การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และจิตใจ ผู้ติดสารเสพติดจะได้เรียนรู้การบำบัดยาเสพติดในรูปแบบต่างๆ เช่น การทำกลุ่มบำบัด ครอบครัวบำบัด การใช้กระบวนการทางจิตวิทยาในการแก้ไขปัญหา การเสริมสร้างพลังใจให้เข้มแข็ง รู้จักหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธยาเสพติด รวมถึงการปรับตัวให้เข้ากับสังคม ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เจตคติในการเลิกเสพยาเสพติดได้ เป็นต้น โดยใช้เวลาในการบำบัดยาเสพติดอย่างน้อย 3 – 4 เดือน และติดตามดูแลช่วยเหลือหลังผ่านการบำบัดยาเสพติดประมาณ 1 ปี  เพื่อไม่ให้กลับไปเสพซ้ำอีก 


เมื่อจัดการปัญหาดังกล่าวได้แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือครอบครัวควรให้เวลากับผู้ติดสารเสพติดอย่างมีคุณภาพ เวลาเป็นสิ่งสำคัญมากที่ครอบครัวต้องมอบให้กับผู้ติดสารเสพติดในช่วงขณะที่ทำการบำบัดยาเสพติด เพื่อให้ผู้ติดสารเสพติดสัมผัสถึงความรักความอบอุ่น และกำลังใจ โดยครอบครัวจะต้องพาผู้ติดสารเสพติดมายังสถานบำบัดยาเสพติดตามเวลานัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การรักษาอาการติดยาเสพติดเป็นไปอย่างต่อเนื่องและได้ผลดีที่สุดกับผู้เข้ารับการรักษาบำบัดอาการติดยาเสพติด นอกจากนี้ยังครอบครัวควรพยายามเข้าใจและให้กำลังใจ ซึ่งเมื่อผู้ติดสารเสพติดกลับมาเป็นคนเดิม ครอบครัวควรให้เวลาอย่างสม่ำเสมอ เช่น พูดคุยกันในตอนเย็นระหว่างทานอาหารค่ำ เล่นกีฬาด้วยกัน หรือไปเที่ยวต่างจังหวัดร่วมกันในวันหยุด ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถช่วยสร้างสัมพันธภาพในครอบครัวให้กลับมาอีกครั้ง

 

ติดต่อเรา
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
064-645-5091
[email protected]
จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

บทความล่าสุด

10 สาเหตุหลักที่ทำให้เลิกสารเสพติดไม่สำเร็จ
แนะนำวิธีเลิกยาเสพติดอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อชีวิตใหม่ที่ปลอดภัยและมีความสุข
12 August 2024
อายาวัสกา สารเปิดจิต ที่เสพติดได้
อายาวัสกา เป็นสารที่มีฤทธิ์ทางจิตประสาท ส่งผลข้างเคียงทั้งทางร่างกายและจิตใจ หากพบหรือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสารนี้ ควรได้รับการตรวจประเมิน ปรึกษา หรือรับการบำบัดจากศูนย์บำบัดยาเสพติด
12 August 2024
Ketamine จากยาสลบม้า มาเป็นการ "ดมเค"
เคตามีนยาเสพติดที่ส่งผลร้ายแรงต่อร่างกายและจิตใจ ผู้เสพควรปรึกษาจิตแพทย์หรือรับการรักษาที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด เพื่อรับยาที่ช่วยลดความอยากยาเสพติด ยาปรับอารมณ์ ทำให้การเลิกเคตามีนง่ายขึ้น
12 August 2024
พลังแห่งดนตรี ดนตรีบำบัดสำหรับผู้ติดยาเสพติด
ดนตรีบำบัด เครื่องมือในการฟื้นฟูผู้ป่วยติดสารเสพติด โดย ศูนย์บำบัดยาเสพติด
12 August 2024
แก๊สหัวเราะกับความสนุกชั่วคราว
แก๊สหัวเราะคืออะไรและอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อร่างกายและสุขภาพจิต
12 August 2024
วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day)
ความรู้เกี่ยวกับวิธีสังเกตอาการผิดปกติเพื่อช่วยลดความสูญเสียของผู้คนจากการฆ่าตัวตาย
12 August 2024
มารู้จัก กับ “Panic Disorder”
สังเกตอาการและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแพนิค” (Panic Disorder)
12 August 2024
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ มักเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีปัญหาในการรับมือกับความเครียด หรือเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันและส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถปรับตัวหรือทำใจยอมรับได้
12 August 2024
นโยบายเกี่ยวกับกัญชาเสรี
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและยาเสพติดของแต่ละพรรคนั้นมีทิศทางอย่างไรต่อไปถ้าได้เป็นรัฐบาล
12 August 2024
แค่นิสัย หรือ บุคลิกภาพผิดปกติ?
บุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorder) คือ รูปแบบความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม เกิดความไม่ยืดหยุ่นและการปรับตัวไม่ได้ดี ซึ่งอาจฝังในในจิตใจและก่อให้เกิดปัญหา เช่น ด้านการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่น การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปไมได้
12 August 2024
ฝึกทักษะชีวิต เพื่อบำบัดยาเสพติด หรือป้องกันการติดยาเสพติด
ปรับสมดุลใหม่ในชีวิต เพื่อห่างไกลจากสารเสพติดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด Day One
12 August 2024
โรคกลัวสังคม กับการบำบัดยาเสพติด
โรคกลัวสังคมมีส่วนทำให้ติดสารเสพติดตามมาได้ โดยเฉพาะสารเสพติดในกลุ่มสารกดประสาท เช่น แอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับบางชนิด หรือ สารเสพติดกลุ่มฝิ่น เช่น เฮโรอีน เนื่องจากเมื่อผู้ที่เป็นโรคกลัวสังคมใช้สารเหล่านี้แล้ว สารจะไปกดประสาททำให้ความกลัว ความกังวลลดลง
12 August 2024
โรคเสพติดการพนัน
โรคเสพติดการพนัน เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถบังคับตนเอง จะสนใจหมกมุ่นอยู่กับการพนันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อผิดหวังกับผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้มีอาการข้างเคียง เช่น อาการซึมเศร้า ดื่มสุรา และอาจรุนแรงถึงขั้นใช้สารเสพติด หรือจะเป็นปัญหาชีวิตในด้านต่าง ๆ
12 August 2024
กัญชาทางการแพทย์กับกัญชาเพื่อเสพ ต่างกันอย่างไร
ถึงแม้กัญชาทางการแพทย์จะมีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคบางโรค แต่ก็ไม่ได้แนะนำใช้เป็นการรักษาลำดับแรก เพราะว่ามีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่ายาหลัก การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาควรใช้เพื่อเป็นส่วนเสริม หรือควบรวมกับการรักษาตามมาตรฐาน ไม่สามารถเอามาเป็นการรักษาหลักได้
12 August 2024
วิธีเลิกเหล้าและแนวทางการบำบัด
เลิกเหล้าได้สำเร็จ ด้วยวิธีเลิกเหล้าด้วยตนเองและวิธีเลิกเหล้าโดยพบแพทย์
12 August 2024
ทัศนคติผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น
แนวทางการบำบัดยาเสพติดในวัยรุ่น
12 August 2024
จะเกิดอะไรขึ้นหลัง 9 มิ.ย. 2565 กฎหมาย "ปลดล็อก" กัญชง กัญชา ออกจากยาเสพติด
ถึงแม้ทางกฎหมายกัญชาจะถูกปลดออกจากยาเสพติด แต่ความจริงคือกัญชายังคงมีฤทธิ์เป็นสารเสพติดให้โทษ มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลายชนิด โดยเฉพาะ THC ซึ่งส่งผลเสียทำให้ ระดับเชาวน์ปัญญาลดลง (IQ ต่ำลง) สมองฝ่อ เกิดอาการเสพติด เสี่ยงต่อการเกิดโรคจิต โรคไบโพลาร์ โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
12 August 2024
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างบำบัดยาเสพติด
วิธีจัดการกับอาการอยากยา เพื่อได้รับการบำบัดยาเสพติดอย่างถูกต้อง
12 August 2024
ความแตกต่างของการบำบัดรูปแบบชุมชนบำบัด (Therapeutic community) และการบำบัดเฉพาะบุคคล (Individual program)
ชุมชนบำบัด หรือ Therapeutic Community  (T.C.) เป็นการบำบัดรักษาที่จำลองรูปแบบการดำรงชีวิตในสังคม เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดได้ใช้ชีวิตโดยปราศจากสารเสพติด รับผิดชอบหน้าที่ในชีวิตประจำวัน ปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม โดยเริ่มตั้งแต่การปรับพฤติกรรม ความสามารถ แนวความคิด และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจในตัวเอง และเสริมสร้างความมั่นใจ ฝึกฝนสร้างเป็นอุปนิสัยจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้แบบปกติ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด
12 August 2024
ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดการกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำหลังเข้าบำบัดยาเสพติด
ทำความเข้าใจว่าเพราะเหตุใดทำให้หวนกลับไปใช้ยาเสพติด เพื่อลดการเสพติดซ้ำ
12 August 2024
6 แนวคิดดี ๆ เปลี่ยนมุมมองชีวิตใหม่ หลังเข้าบำบัดยาเสพติด
การปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติดแล้ว ให้สามารถลุกขึ้นมาเดินหน้าใหม่
12 August 2024
เทคนิคการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นคนใหม่หลังจากออกจากสถานบำบัดยาเสพติด
การปรับทัศนคติที่มีต่อผู้บำบัดยาเสพติด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมไทย
12 August 2024
การเทรดคริปโทเคอร์เรนซี กับความเสี่ยงในการเสพติดการพนัน
งานวิจัยไม่ได้หมายความว่าการเทรดคริปโต เป็นการพนัน แต่พฤติกรรมของเทรดเดอร์เองต่างหากเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีพฤติกรรมที่เข้าข่ายติดพนันหรือไม่
12 August 2024
ดูแลผู้ต้องการบำบัดยาเสพติดอย่างไรเมื่อมีอาการอยากยา
การเข้าสถานบำบัดยาเสพติดเพื่อรักษาอาการอยากยาได้อย่างถูกต้อง
12 August 2024
ครอบครัวและความล้มเหลวในการบำบัดยาเสพติด
หลายครั้งที่ครอบครัวกลายเป็นผู้ส่งเสริมพฤติกรรมทางอ้อมให้คงใช้สารเสพติด
12 August 2024
ความรุนแรงของสารเสพติดประเภทยาไอซ์ โคเคน
แนะนำวิธีการบำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูผู้ติดยาไอซ์และโคเคน
12 August 2024
พฤติกรรมของผู้ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด
วิธีสังเกตอาการผู้กำลังจะติดยาเสพติด รู้เท่าทันก่อนต้องพึ่งศูนย์บำบัดยาเสพติด
12 August 2024
Day One ได้รับรองมาตรฐานสถานพยาบาลประเภทสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ (สถานบำบัดยาเสพติด)
สถานบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด สถานบำบัดยาเสพติด ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
12 August 2024
ผลกระทบจากวิธีเลิกยาเสพติดด้วยตนเอง
เลิกยาเสพติดด้วยตนเอง อันตรายกว่าที่คุณคิด
12 August 2024
อาการของผู้ติดยาเสพติด ที่ต้องรับการบำบัดยาเสพติด
โปรแกรมการบำบัดยาเสพติดสำหรับบุคคล สำหรับอาการของผู้ติดเสพติดที่หลากหลาย
12 August 2024
เลิกยาเสพติดที่สถานบำบัดยาเสพติด
เข้าบำบัดยาเสพติด 28 วัน โดยทีมแพทย์ เพิ่มโอกาสสำเร็จในการเลิกยาเสพติด
12 August 2024
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้าสถานบำบัดยาเสพติด กับ DAY ONE REHABILITATION CENTER
การสังเกตเมื่อไหร่ที่ครอบครัวควรพาผู้ที่ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดยาเสพติด หากคนในครอบครัวหรือคนที่คุณรักกำลังใช้ยาเสพติดอยู่ คุณควรสังเกตอาการเหล่านั้น และปรึกษา หาทางแก้ไขเพื่อเข้าบำบัดยาเสพติดได้อย่างถูกวิธี
12 August 2024
กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภทต่างๆ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เพื่อควบคุมการใช้ยาเสพติดผิดกฎหมาย
12 August 2024
ปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 ซึ่งจะมีผลวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นการปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้ อย่างไรก็ตามหากมีการนำไปผสมยาเสพติดอื่นๆ เช่น 4x100 เป็นความผิดตามกฎหมาย
12 August 2024
ควรทำอย่างไรเมื่อมีคนในครอบครัวติดยาเสพติด
การปฏิบัติตัวของญาติหรือผู้ใกล้ชิดผู้ติดยาเสพติด เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดเข้าสู่การบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี
12 August 2024
หลัก 12 ขั้นตอน (Twelve steps) วิธีเลิกเหล้า เลิกสุรา วิธีเลิกยาเสพติด
หลักการ 12 ขั้นตอน ริเริ่มมาจาก บุคคล 2 คนที่ติดสุรามาก่อน พวกเขาร่วมมือกันเลิกสุราและก่อตั้ง กลุ่ม AA (alcoholic anonymous) ขึ้น พร้อมกับคิดค้นหลักการ 12 ขั้นตอนไปสู่การเลิกสุรา ต่อมาหลักการนี่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ติดสุราและยาเสพติด และค้นพบว่าสามารถทำให้ไปสู่การเลิกเสพได้อย่างต่อเนื่อง
12 August 2024
ยาเสพติดรอบตัวที่พบบ่อย
ยาเสพติดชนิดธรรมชาติ เป็นสารที่กลั่น หรือ สกัดได้จากพืชบางชนิดโดยตรง เช่น ฝิ่น โคเคน กัญชา รวมทั้งการนำสารจากพืชเหล่านั้นมาปรุงเป็นอย่างอื่น โดยกรรมวิธีทางเคมี เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ซึ่งทำมาจากฝิ่น เป็นต้น
12 August 2024
โรคสมองติดยา สมองติดยาได้อย่างไร
การติดยาเสพติดเป็นกระบวนการต่อเนื่องเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจากการเสพยาเป็นครั้งคราว สู่การเสพที่ถี่ขึ้นจนเสพทุกวันและวันละหลายครั้ง การเสพยาเสพติดเกี่ยวข้องกับสมอง 2 ส่วนคือ สมองส่วนคิด (Cerebral Cortex) และสมองส่วนอยาก (Limbic System)
12 August 2024