064-645-5091    จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

กัญชาทางการแพทย์กับกัญชาเพื่อเสพ ต่างกันอย่างไร

IMG-BLOG
12 August 2024

กัญชาทางการแพทย์กับกัญชาเพื่อเสพ ต่างกันอย่างไร

ความรู้ความเข้าเข้าใจเกี่ยวกับกัญชา

 

กัญชาทางการแพทย์ หมายถึง สารสกัดที่ได้จากการสกัดพืชกัญชาซึ่งทราบปริมาณแน่นอนของสาร CBD และ THC เพื่อนํามาใช้ทางการแพทย์ตามข้อบ่งชี้ ไม่ได้หมายถึง กัญชาที่ยังคงมีสภาพเป็นพืช หรือส่วนประกอบอื่น เช่น ยอดดอก ใบ ลําต้น ราก ถึงแม้กัญชาทางการแพทย์จะมีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคบางโรค แต่ก็ไม่ได้แนะนำใช้เป็นการรักษาลำดับแรก (first-line therapy) เพราะว่ามีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่ายาหลัก การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาควรใช้เพื่อเป็นส่วนเสริม หรือควบรวมกับการรักษาตามมาตรฐาน ไม่สามารถเอามาเป็นการรักษาหลักได้

 

โรคและภาวะที่มีข้อบ่งชี้ให้ใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ได้ มีดังต่อไปนี้
 

  1. 1. ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบําบัด (chemotherapy induced nausea and vomiting)
  2. 2. โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา (intractable epilepsy)
  3. 3. ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity) ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis)
  4. 4. ภาวะปวดประสาท (neuropathic pain)
  5. 5. ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักตัวน้อย
  6. 6. การเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง หรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต

 

จะเห็นได้ว่าโรคที่มีข้อบ่งชี้ให้กัญชาทางการแพทย์นั้นเป็นโรคที่ค่อนข้างซับซ้อน ที่ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์และผ่านการรักษาตามมาตรฐานมาแล้ว กัญชาเป็นเพียงยาเสริมที่ช่วยลดอาการบ้างอย่างของโรคนั้นๆ ร่วมถึงการรับการรักษาด้วยกัญชาทางการแพทย์ ต้องผ่านการคำนวณปริมาณและรูปแบบที่เหมาะสมกับโรค อายุ น้ำหนักตัวของผู้ป่วย เช่น แบบกินเป็นเม็ด หรือน้ำมัน เป็นต้น

 

การเสพกัญชาหรือการใช้ในรูปแบบใดบ้างที่ไม่ถือว่าเป็นกัญชาทางการแพทย์
 

  • การสูบกัญชา ไม่ว่าจะเป็นการสูบแบบมวนบุหรี่ หรือสูบเป็นบ้องผ่านน้ำ ถือว่าเป็นการเสพกัญชา เพราะสารที่ได้มีปริมาณไม่แน่นอน
  • การใช้กัญชาโดยที่ไม่ได้มีข้อบ่งชี้ตามโรคที่กล่าวมาข้างต้น ถือว่าเป็นการเสพกัญชา
  • การซื้อมาใช้เองโดยไม่ได้รับการสั่งจ่ายยาตามโรค และคำนวณปริมาณที่เหมาะสมโดยแพทย์ ไม่เรียกว่าเป็นกัญชาทางการแพทย์
  • การใช้เพื่อให้รู้สึกเคลิบเคลิ้ม ผ่อนคลาย คลายเครียด ถือว่าเป็นการเสพกัญชา
  • กัญชาที่ผสมในอาหารหรือเครื่องดื่มไม่ได้เป็นกัญชาทางการแพทย์

 

สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับกัญชา

  • กัญชารักษามะเร็ง หรือต้านเซลล์มะเร็งได้ กัญชาไม่ได้มีคุณสมบัติในการต้านมะเร็งทุกชนิด เพียงแต่สามารถเอามาช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งและต้องให้เคมีบำบัดเท่านั้น จึงมักจะมีการเข้าใจผิดว่ารักษามะเร็งได้
     
  • กัญชาช่วยรักษาโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวลได้ การสูบกัญชาทำให้รู้สึกผ่อนคลาย จึงทำให้เข้าใจผิดว่าเอามารักษาความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวลได้ แต่ความจริงแล้ว กัญชาจะทำให้โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวลแย่ลง เพราะสมองจะเคยชินกับสารที่ทำให้มึนเมา ทำให้การรู้สึกมีความสุขจากสิ่งอื่นๆลดลง ร่วมถึงเมื่อใช้เวลาไปกับการสูบกัญชานานขึ้น ความสามารถในการคิดแก้ไขปัญหาก็จะช้าลง ทำให้ต้นตอของปัญหาที่ทำให้เกิดความเครียดไม่ได้ถูกแก้
     
  • ใช้กัญชาช่วยให้นอนหลับ ดีกว่าการกินยา กัญชาทำให้รู้สึกผ่อนคลายทำให้บางคนใช้เพื่อช่วยให้นอนหลับได้ แต่เมื่อใช้ไปนานๆจะเกิดดื้อและเสพติดขึ้นทำให้นอนหลับยากกว่าเดิม การใช้ยานอนหลับแผนปัจจุบัน แพทย์สามารถปรับในปริมาณที่เหมาะสม และเลือกใช้ยาที่ไม่เสพติดได้ การรักษาปัญหาการนอนโดยใช้ยาแผนปัจจุบันจึงเหมาะสมกว่า
     
  • ใช้กัญชารักษาโรคทางจิตเวชได้ดีกว่ากินยา ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือสนับสนุนว่ากัญชาช่วยรักษาโรคทางจิตเวชใดๆได้ ในทางตรงกันข้ามมีงานวิจัยและการเก็บสถิติมากมาย ที่บ่งบอกว่ากัญชาเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคทางจิตเวชได้บ่อย เช่น โรคจิตเภท (Schizophrenia), โรคไบโพล่า (Bipolar disorder), ความคิด ความจำ ความฉลาดลดลง (Cognitive impairment) โดยเฉพาะในผู้ที่เริ่มสูบตั้งแต่ก่อนอายุ 25 ปี กัญชาจะทำให้การพัฒนาของสมองลดลง
     
  • กัญชามาจากพืช เป็นสารออแกนิค ไม่มีโทษ สารที่มาจากพืชไม่ได้แปลว่าไม่อันตราย เปรียบเทียบ ยกตัวอย่างเช่น โคเคน (cocaine) ซึ่งเป็นยาเสพติดที่รุนแรงกว่ายาบ้า ก็ทำมาจากใบของต้นโคคา ซึ่งเป็นพืชแถบอเมริการใต้ หรือ เฮโรอีน (heroin) ก็ทำมาจากดอกฝิ่น หรือการสูบฝิ่นเองก็ทำให้เกิดการเสพติดรุนแรงเช่นกัน ดังนั้นสารที่มากจากพืชไม่ได้แปลว่าเป็นสารที่ไม่อันตราย
     
  • กัญชาจากต่างประเทศไม่มีสารเจือปน ไม่ทำให้เกิดอาการทางจิตหรือผลข้างเคียง สารที่เป็นอันตรายในกัญชาคือ THC (Tetrahydrocannabinol) ซึ่งอยู่ในตัวกัญชาเอง โดยเฉพาะมีปริมาณมากที่ช่อดอกกัญชา ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นกัญชาบริสุทธิ์จากที่ไหนไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยมากขึ้น เพราะตัวสารที่เป็นอันตรายนั้นอยู่ในตัวกัญชาเอง ไม่ได้เกิดจากการปนเปื้อนสารอื่นๆจากภายนอก
     
  • กัญชาที่ปลูกเองสูบได้ไม่อันตราย เนื่องจากไม่มีสารพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง เช่นเดียวกับข้างต้น กัญชาไม่ได้อันตรายจากสารปนเปื้อนหรือยาฆ่าแมลง แต่อันตรายเกิดจากสารที่ต้นกัญชาผลิตขึ้นมาเอง ดังนั้นต่อให้เป็นกัญชาที่ปลูกเองก็ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอยู่ดี
     
  • เคยสูบกัญชามาตั้งนานแล้วไม่เป็นอะไร แปลว่าไม่อันตราย การสูบกัญชาในช่วงแรกอาจยังไม่พบว่าเกิดอาการผิดปกติ แต่หากยิ่งสูบนานขึ้น ในปริมาณมากขึ้น หรือมีพันธุกรรมแฝงอยู่การสูบเพียงเล็กน้อยก็เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นในการเกิดโรคทางจิตเวชได้ แต่จากสถิติมีการศึกษาผู้ที่เสพกัญชามา 20 ปี พบว่าเกือบครึ่งหนึ่ง (47.4%) กลายเป็นโรคไบโพล่าและโรคจิตเภท เปรียบเทียบเหมือนกับการสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่มา 1 ปี อาจยังไม่เป็นมะเร็งปอดในทันที แต่หากสูบมากขึ้นหรือมีความเสี่ยงทางพันธุกรรมอยู่แล้วสูบเพียงเล็กน้อยก็ทำให้เป็นมะเร็งปอดได้เช่นกัน

 

การเสพกัญชาที่บ่งบอกว่าเริ่ม “เสพติด”
 

  • การใช้กัญชาแล้วเกิดอาการดื้อสาร (Tolerance) หมายถึง ต้องใช้ปริมาณมากขึ้นเพื่อให้ได้ความรู้สึกเท่าเดิม หรือใช้ปริมาณเท่าเดิมแล้วได้ความรู้สึกน้อยลง
  • การใช้กัญชาแล้วเกิดอาการถอน (Withdrawal) หมายถึง เมื่อไม่ได้ใช้แล้วมีอาการกระสับกระส่าย อยากกลับไปเสพ
  • การใช้กัญชาที่ทำให้เกิดผลกระทบตามมา เช่น ความคิดช้าลง ความจำสั้น ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างแย่ลง อารมณ์แปรปรวน ประสิทธิภาพในการทำงานและการใช้ชีวิต ความรับผิดชอบลดลง
     

หากท่านหรือบุคคลใกล้ชิดมีภาวะเสพติดกัญชาตามข้างต้นและต้องการเลิกกัญชา DAY ONE ศูนย์บำบัดยาเสพติดเอกชน มีรูปแบบการบำบัดการรักษาที่ยึดแนวการบำบัดแบบองค์รวม เป็นสถานบำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับผู้ที่มีปัญหาจาก แอลกอฮอล์ สารเสพติด และการพนัน เพื่อฟื้นฟูทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม มีการบำบัดด้วยวิธีต่าง ๆ

 

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
064-645-5091
[email protected]
จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00

บทความล่าสุด

10 สาเหตุหลักที่ทำให้เลิกสารเสพติดไม่สำเร็จ
แนะนำวิธีเลิกยาเสพติดอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อชีวิตใหม่ที่ปลอดภัยและมีความสุข
12 August 2024
อายาวัสกา สารเปิดจิต ที่เสพติดได้
อายาวัสกา เป็นสารที่มีฤทธิ์ทางจิตประสาท ส่งผลข้างเคียงทั้งทางร่างกายและจิตใจ หากพบหรือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสารนี้ ควรได้รับการตรวจประเมิน ปรึกษา หรือรับการบำบัดจากศูนย์บำบัดยาเสพติด
12 August 2024
Ketamine จากยาสลบม้า มาเป็นการ "ดมเค"
เคตามีนยาเสพติดที่ส่งผลร้ายแรงต่อร่างกายและจิตใจ ผู้เสพควรปรึกษาจิตแพทย์หรือรับการรักษาที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด เพื่อรับยาที่ช่วยลดความอยากยาเสพติด ยาปรับอารมณ์ ทำให้การเลิกเคตามีนง่ายขึ้น
12 August 2024
พลังแห่งดนตรี ดนตรีบำบัดสำหรับผู้ติดยาเสพติด
ดนตรีบำบัด เครื่องมือในการฟื้นฟูผู้ป่วยติดสารเสพติด โดย ศูนย์บำบัดยาเสพติด
12 August 2024
แก๊สหัวเราะกับความสนุกชั่วคราว
แก๊สหัวเราะคืออะไรและอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อร่างกายและสุขภาพจิต
12 August 2024
วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day)
ความรู้เกี่ยวกับวิธีสังเกตอาการผิดปกติเพื่อช่วยลดความสูญเสียของผู้คนจากการฆ่าตัวตาย
12 August 2024
มารู้จัก กับ “Panic Disorder”
สังเกตอาการและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแพนิค” (Panic Disorder)
12 August 2024
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ มักเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีปัญหาในการรับมือกับความเครียด หรือเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันและส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถปรับตัวหรือทำใจยอมรับได้
12 August 2024
นโยบายเกี่ยวกับกัญชาเสรี
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและยาเสพติดของแต่ละพรรคนั้นมีทิศทางอย่างไรต่อไปถ้าได้เป็นรัฐบาล
12 August 2024
แค่นิสัย หรือ บุคลิกภาพผิดปกติ?
บุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorder) คือ รูปแบบความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม เกิดความไม่ยืดหยุ่นและการปรับตัวไม่ได้ดี ซึ่งอาจฝังในในจิตใจและก่อให้เกิดปัญหา เช่น ด้านการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่น การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปไมได้
12 August 2024
ฝึกทักษะชีวิต เพื่อบำบัดยาเสพติด หรือป้องกันการติดยาเสพติด
ปรับสมดุลใหม่ในชีวิต เพื่อห่างไกลจากสารเสพติดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด Day One
12 August 2024
โรคกลัวสังคม กับการบำบัดยาเสพติด
โรคกลัวสังคมมีส่วนทำให้ติดสารเสพติดตามมาได้ โดยเฉพาะสารเสพติดในกลุ่มสารกดประสาท เช่น แอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับบางชนิด หรือ สารเสพติดกลุ่มฝิ่น เช่น เฮโรอีน เนื่องจากเมื่อผู้ที่เป็นโรคกลัวสังคมใช้สารเหล่านี้แล้ว สารจะไปกดประสาททำให้ความกลัว ความกังวลลดลง
12 August 2024
โรคเสพติดการพนัน
โรคเสพติดการพนัน เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถบังคับตนเอง จะสนใจหมกมุ่นอยู่กับการพนันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อผิดหวังกับผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้มีอาการข้างเคียง เช่น อาการซึมเศร้า ดื่มสุรา และอาจรุนแรงถึงขั้นใช้สารเสพติด หรือจะเป็นปัญหาชีวิตในด้านต่าง ๆ
12 August 2024
กัญชาทางการแพทย์กับกัญชาเพื่อเสพ ต่างกันอย่างไร
ถึงแม้กัญชาทางการแพทย์จะมีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคบางโรค แต่ก็ไม่ได้แนะนำใช้เป็นการรักษาลำดับแรก เพราะว่ามีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่ายาหลัก การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาควรใช้เพื่อเป็นส่วนเสริม หรือควบรวมกับการรักษาตามมาตรฐาน ไม่สามารถเอามาเป็นการรักษาหลักได้
12 August 2024
วิธีเลิกเหล้าและแนวทางการบำบัด
เลิกเหล้าได้สำเร็จ ด้วยวิธีเลิกเหล้าด้วยตนเองและวิธีเลิกเหล้าโดยพบแพทย์
12 August 2024
ทัศนคติผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น
แนวทางการบำบัดยาเสพติดในวัยรุ่น
12 August 2024
จะเกิดอะไรขึ้นหลัง 9 มิ.ย. 2565 กฎหมาย "ปลดล็อก" กัญชง กัญชา ออกจากยาเสพติด
ถึงแม้ทางกฎหมายกัญชาจะถูกปลดออกจากยาเสพติด แต่ความจริงคือกัญชายังคงมีฤทธิ์เป็นสารเสพติดให้โทษ มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลายชนิด โดยเฉพาะ THC ซึ่งส่งผลเสียทำให้ ระดับเชาวน์ปัญญาลดลง (IQ ต่ำลง) สมองฝ่อ เกิดอาการเสพติด เสี่ยงต่อการเกิดโรคจิต โรคไบโพลาร์ โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
12 August 2024
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างบำบัดยาเสพติด
วิธีจัดการกับอาการอยากยา เพื่อได้รับการบำบัดยาเสพติดอย่างถูกต้อง
12 August 2024
ความแตกต่างของการบำบัดรูปแบบชุมชนบำบัด (Therapeutic community) และการบำบัดเฉพาะบุคคล (Individual program)
ชุมชนบำบัด หรือ Therapeutic Community  (T.C.) เป็นการบำบัดรักษาที่จำลองรูปแบบการดำรงชีวิตในสังคม เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดได้ใช้ชีวิตโดยปราศจากสารเสพติด รับผิดชอบหน้าที่ในชีวิตประจำวัน ปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม โดยเริ่มตั้งแต่การปรับพฤติกรรม ความสามารถ แนวความคิด และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจในตัวเอง และเสริมสร้างความมั่นใจ ฝึกฝนสร้างเป็นอุปนิสัยจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้แบบปกติ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด
12 August 2024
ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดการกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำหลังเข้าบำบัดยาเสพติด
ทำความเข้าใจว่าเพราะเหตุใดทำให้หวนกลับไปใช้ยาเสพติด เพื่อลดการเสพติดซ้ำ
12 August 2024
6 แนวคิดดี ๆ เปลี่ยนมุมมองชีวิตใหม่ หลังเข้าบำบัดยาเสพติด
การปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติดแล้ว ให้สามารถลุกขึ้นมาเดินหน้าใหม่
12 August 2024
เทคนิคการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นคนใหม่หลังจากออกจากสถานบำบัดยาเสพติด
การปรับทัศนคติที่มีต่อผู้บำบัดยาเสพติด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมไทย
12 August 2024
การเทรดคริปโทเคอร์เรนซี กับความเสี่ยงในการเสพติดการพนัน
งานวิจัยไม่ได้หมายความว่าการเทรดคริปโต เป็นการพนัน แต่พฤติกรรมของเทรดเดอร์เองต่างหากเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีพฤติกรรมที่เข้าข่ายติดพนันหรือไม่
12 August 2024
ดูแลผู้ต้องการบำบัดยาเสพติดอย่างไรเมื่อมีอาการอยากยา
การเข้าสถานบำบัดยาเสพติดเพื่อรักษาอาการอยากยาได้อย่างถูกต้อง
12 August 2024
ครอบครัวและความล้มเหลวในการบำบัดยาเสพติด
หลายครั้งที่ครอบครัวกลายเป็นผู้ส่งเสริมพฤติกรรมทางอ้อมให้คงใช้สารเสพติด
12 August 2024
ความรุนแรงของสารเสพติดประเภทยาไอซ์ โคเคน
แนะนำวิธีการบำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูผู้ติดยาไอซ์และโคเคน
12 August 2024
พฤติกรรมของผู้ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด
วิธีสังเกตอาการผู้กำลังจะติดยาเสพติด รู้เท่าทันก่อนต้องพึ่งศูนย์บำบัดยาเสพติด
12 August 2024
Day One ได้รับรองมาตรฐานสถานพยาบาลประเภทสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ (สถานบำบัดยาเสพติด)
สถานบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด สถานบำบัดยาเสพติด ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
12 August 2024
ผลกระทบจากวิธีเลิกยาเสพติดด้วยตนเอง
เลิกยาเสพติดด้วยตนเอง อันตรายกว่าที่คุณคิด
12 August 2024
อาการของผู้ติดยาเสพติด ที่ต้องรับการบำบัดยาเสพติด
โปรแกรมการบำบัดยาเสพติดสำหรับบุคคล สำหรับอาการของผู้ติดเสพติดที่หลากหลาย
12 August 2024
เลิกยาเสพติดที่สถานบำบัดยาเสพติด
เข้าบำบัดยาเสพติด 28 วัน โดยทีมแพทย์ เพิ่มโอกาสสำเร็จในการเลิกยาเสพติด
12 August 2024
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้าสถานบำบัดยาเสพติด กับ DAY ONE REHABILITATION CENTER
การสังเกตเมื่อไหร่ที่ครอบครัวควรพาผู้ที่ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดยาเสพติด หากคนในครอบครัวหรือคนที่คุณรักกำลังใช้ยาเสพติดอยู่ คุณควรสังเกตอาการเหล่านั้น และปรึกษา หาทางแก้ไขเพื่อเข้าบำบัดยาเสพติดได้อย่างถูกวิธี
12 August 2024
กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภทต่างๆ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เพื่อควบคุมการใช้ยาเสพติดผิดกฎหมาย
12 August 2024
ปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 ซึ่งจะมีผลวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นการปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้ อย่างไรก็ตามหากมีการนำไปผสมยาเสพติดอื่นๆ เช่น 4x100 เป็นความผิดตามกฎหมาย
12 August 2024
ควรทำอย่างไรเมื่อมีคนในครอบครัวติดยาเสพติด
การปฏิบัติตัวของญาติหรือผู้ใกล้ชิดผู้ติดยาเสพติด เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้รับการบำบัดยาเสพติดเข้าสู่การบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี
12 August 2024
หลัก 12 ขั้นตอน (Twelve steps) วิธีเลิกเหล้า เลิกสุรา วิธีเลิกยาเสพติด
หลักการ 12 ขั้นตอน ริเริ่มมาจาก บุคคล 2 คนที่ติดสุรามาก่อน พวกเขาร่วมมือกันเลิกสุราและก่อตั้ง กลุ่ม AA (alcoholic anonymous) ขึ้น พร้อมกับคิดค้นหลักการ 12 ขั้นตอนไปสู่การเลิกสุรา ต่อมาหลักการนี่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ติดสุราและยาเสพติด และค้นพบว่าสามารถทำให้ไปสู่การเลิกเสพได้อย่างต่อเนื่อง
12 August 2024
ยาเสพติดรอบตัวที่พบบ่อย
ยาเสพติดชนิดธรรมชาติ เป็นสารที่กลั่น หรือ สกัดได้จากพืชบางชนิดโดยตรง เช่น ฝิ่น โคเคน กัญชา รวมทั้งการนำสารจากพืชเหล่านั้นมาปรุงเป็นอย่างอื่น โดยกรรมวิธีทางเคมี เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ซึ่งทำมาจากฝิ่น เป็นต้น
12 August 2024
โรคสมองติดยา สมองติดยาได้อย่างไร
การติดยาเสพติดเป็นกระบวนการต่อเนื่องเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจากการเสพยาเป็นครั้งคราว สู่การเสพที่ถี่ขึ้นจนเสพทุกวันและวันละหลายครั้ง การเสพยาเสพติดเกี่ยวข้องกับสมอง 2 ส่วนคือ สมองส่วนคิด (Cerebral Cortex) และสมองส่วนอยาก (Limbic System)
12 August 2024